บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำของโลก จัดงาน Roche Innovation Day ครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ในการให้ความรู้ ความเข้าใจ และพูดคุยเกี่ยวกับนวัตกรรมยาใหม่และการใช้เทคโนโลยีเพื่อผลักดันการวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายในงานมีทีมแพทย์ พยาบาล นักวิจัย และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกว่า 130 คน ร่วมเสวนนา เพื่อเพื่อเพิ่มศักยภาพและความพร้อมด้านการทดลองทางคลินิก (Clinical Trials) ให้แก่ประเทศไทยต่อไป
ในช่วง 5ปีที่ผ่านมา บริษัทโรช ไทยแลนด์ ได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านบาท ซึ่งรวมถึงการค้นคว้าด้านมะเร็ง ภูมิคุ้มกัน โรคไตเรื้อรัง โรคติดเชื้อ โรคหายาก และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อนำเสนอแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และบริษัทให้การสนับสนุนโครงการวิจัยทางคลินิกอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีผู้ป่วยใหม่ชาวไทยได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นกว่า 422 คน จากการเข้าร่วม 48 โครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
นายฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว กล่าวเปิดงานว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ป่วยกว่า 2.9 ล้านคนทั่วประเทศ ได้รับการรักษาด้วยนวัตกรรมยาของโรช ที่ผ่านการทดลองทางคลินิกและได้รับการอนุมัติการนำเข้าเป็นยานวัตกรรม อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังตามหลังด้านการทดลองทางคลินิกอยู่หลายประเทศในเอเชีย เช่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย สำหรับการทดลองทางคลินิคที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยด้านการทดลองทางคลินิคเพียง 0.38%* ดังนั้น โรช จึงมุ่งมั่นสนับสนุนการทดลองและวิจัยทางคลินิก เพื่อช่วยลดระยะเวลา ลดกระบวนการขอขึ้นทะเบียนและอนุมัติการนำเข้ายานวัตกรรม และทำให้ผู้ป่วยในประเทศไทยสามารถเข้าถึงยานวัตกรรมได้ในวงกว้าง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของโรช
ดร. สเตฟาน ฟริงส์ ผู้นำฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (PDMA) บริษัท โรช กล่าวว่า เราได้เห็นนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ในด้านการวินิจฉัย การรักษา และยานวัตกรรม ซึ่งประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความพร้อมสูงสำหรับการทดลองทางคลินิก เพราะไทยมีนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานระดับชาติที่ทำให้การอนุมัติยานวัตกรรมแก่ผู้ป่วยเป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงผู้ป่วยในไทยยังพร้อมและเต็มใจที่จะเข้าร่วมการทดลองทางคลินิกอีกด้วย โดย อีกหนึ่งในภารกิจของเราหลังจากที่ยานวัตกรรมได้รับการอนุมัติแล้ว คือการผลักดันให้ยาเหล่านั้นจะสามารถเข้าถึงแนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนทั่วไปได้มากที่สุด ผ่านการจัดตั้งโครงการเบิกจ่ายระดับชาติ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน
ทั้งนี้ รายงานจาก Deloitte ปี 2016 พบว่า ทุก ๆ 1 บาทที่มีการใช้จ่ายในการทดลองทางคลินิคในประเทศไทย จะหมุนเวียนกลับเข้าประเทศประมาณ 3 เท่า คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10.5 พันล้านบาท ซึ่งถ้าเราสามารถเพิ่มการทดลองทางคลินิกประมาณ 20% จะทำให้เกิดผลประโยชน์สุทธิราว 3.9 พันล้านบาททุกปี และคาดการณ์ว่าส่งผลให้เกิดการสร้างงานกว่า 15,509 ตำแหน่ง ซึ่งแบ่งเป็นการสร้างงานโดยตรงจากงานวิจัย 8,905 ตำแหน่ง และการสร้างงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยอีก 6,604 ตำแหน่ง
ด้าน ศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมการวิจัยในคนในประเทศไทย และประธานโครงการยกระดับศักยภาพและความพร้อมของศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติ กล่าวว่า การสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยและครอบคลุมต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการทดลองทางคลินิกให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยงาน Roche Innovation Day เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่ช่วยผลักดันกระบวนการค้นพบ การพัฒนายา และการวินิจฉัยที่สร้างแนวทางใหม่ ๆ สำหรับการรักษาโรค และเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยในประเทศไทยเข้าถึงยานวัตกรรม รวมถึงได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น ให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ 79 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น