10 หนังทรงคุณค่า ขึ้นมรดกภาพยนตร์ชาติปี66

4 ต.ค.2566 – นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2566 โดยภาพยนตร์ส่วนหนึ่งมาจากมาจากประชาชนกว่า 1,000 คน ที่ร่วมเสนอรายชื่อ โดยพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์คุณค่า ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ อิทธิพลต่อสังคม วัฒนธรรม และศิลปะ ภาพยนตร์ 10 เรื่องที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ ครอบคลุมหลากหลายมิติทางสังคม ประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงรากฐานวัฒนธรรมภาพเคลื่อนไหวอันแข้งแรงของผู้สร้างไทย รายชื่อภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี 2566 ได้แก่ 1. ปักธงไชย (2500)

2. Thailand (2501) 3. กตัญญูปกาสิต (2501) 4. โกนจุก [2510]5. วันมหาวิปโยค (2516) 6. เทวดาเดินดิน (2519)7. [สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] [2528] 8. เพลงสุดท้าย (2528)9. 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544) และ 10. หัวใจทรนง The Adventure of Iron Pussy (2546)

นายเสริมศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปี 2566 เป็นปีครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  มีภาพยนตร์สามเรื่องที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นี้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ วันมหาวิปโยค (2516) เป็นบันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคมที่ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ นักข่าวภาพยนตร์อิสระได้ถ่ายเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไว้ ส่วนหนัง [สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] [2528] เป็นฟุตเทจหายากที่ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ได้สัมภาษณ์อดีตนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวที่ออกจากป่าหลังจากไปเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ไทย เช่น จิระนันท์ พิตรปรีชา, เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, จรัล ดิษฐาอภิชัย, เหวง โตจิราการ, เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, เกรียงกมล เลาหไพโรจน์, คณะวงดนตรีคาราวาน และชาวบ้านคนอื่น ๆ ไกรศักดิ์ตั้งใจจะตัดต่อฟุตเทจเป็นสารคดีน แต่ทำไม่เสร็จสิ้น คงเหลือไว้แต่ฟุตเทจที่มีความกว่า 11 ชั่วโมง  เรื่องสุดท้ายได้แก่ 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544) ภาพยนตร์ชีวประวัติ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล  บุคคลสำคัญทางการเมืองในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทย เป็นงานกำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล

ส่วนภาพยนตร์เทวดาเดินดิน (2519) โดย ม.จ. ชาตรีเฉลิมยุคล เป็นหนังที่จับภาพวัยรุ่นไทยในช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างเข้มข้น เป็นทั้งหนังสะท้อนสังคมและหนังแอคชั่นผจญภัยไปพร้อม ๆ กัน  นอกจากนี้ ภาพยนตร์คลาสสิกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนที่สำคัญยังมีปักธงไชย (2500) สร้างโดยบริษัท ละโว้ภาพยนตร์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ถือเป็นผลงานที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของพระองค์ ผู้ทรงเป็นนักทำหนังที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ไทย และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกและหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่เล่าถึงสงครามปราบฮ่อ สมัยรัชกาลที่ 5 กตัญญูปกาสิต (2501) หนังร่วมทุนไทยฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จทั้งที่ไทยและต่างแดนด้วยความสามารถของยอดฝีมือแห่งวงการหนังไทยยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทั้ง ครูเนรมิต ผู้กำกับ ส. อาสนจินดา ผู้เขียนบท และบรรดานักแสดงชั้นครู

ขณะที่ภาพยนตร์ LGBTQ สองรสชาติอันแตกต่าง และแสดงให้เห็นการเดินทางของหนังแห่งความหลากหลายทางเพศของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ ได้แก่ เพลงสุดท้าย (2528) หมุดหมายสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในภาพยนตร์ไทย ที่ส่งอิทธิพลต่อเนื่องอย่างกว้างขวางยาวนานมาจนถึงปัจจุบันกำกับโดย พิศาล อัครเศรณี และอีกเรื่องได้แก่ หัวใจทรนง (2546) งานกำกับร่วมของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และ ไมเคิล เชาวนาศัย กับเรื่องราวของสายลับไออ้อน พุซซี่ งานที่คารวะสุนทรีศาสตร์ของหนังไทยุค 16 มม. พร้อมไปกับการสร้างอารมณ์ขันสำหรับผู้ชมร่วมสมัย

นอกจากนี้ ภาพยนตร์สารคดีเก่าอีกสองเรื่องที่ได้รับการขึ้นทะเบียนได้แก่ โกนจุก [2510]  เป็นภาพบันทึกพิธีโกนจุก ซึ่งเป็นพิธีกรรมในวิถีชีวิตของสังคมไทยสมัยก่อน ได้อย่างละเอียดครบถ้วนตามประเพณีทั้งคติพราหมณ์และพุทธสุดท้ายคือ Thailand (2501) ภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ที่รัฐบาลไทยจัดทำเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ผู้ชมในโลตะวันตก 

​หอภาพยนตร์ ได้จัดกิจกรรมประกาศรายชื่อภาพยนตร์ขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติมาเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2554 หลังประกาศรายชื่อภาพยนตร์ในปีนี้ 10 เรื่อง ทำให้ภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ มีจำนวนทั้งหมด 243 เรื่อง ซึ่งหอภาพยนตร์เตรียมนำภาพยนตร์เหล่านี้ออกฉายตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในโรงภาพยนตร์ Facebook YouTube Tiktok ของหอภาพยนตร์ รวมถึงการจัดงานเสวนาถึงภาพยนตร์ และการให้บริการในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี ของหอภาพยนตร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.fapot.or.th หรือที่เฟซบุ๊กช่อง หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชุมชนวัดพระธาตุผาเงา สัมผัสอัตลักษณ์บ้านสบคำ

อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถือเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทั้งลาว ไทลื้อ ไทใหญ่ ไทยวน พม่า  เมี่ยน ม้ง ลั้วะ อาข่า ลาหู่ โดยเฉพาะในชุมชนวัดพระธาตุผาเงา (บ้านสบคำ) ต.เวียง อ.เชียงแสน  เป็นชุมชนตั้งอยู่ในเขตประวัติศาสตร์เมืองเชียงแสนน้อย

ดนตรีภาษาสากล ถักทอมิตรภาพไทย-รัสเซีย

คณะนักร้องประสานเสียงเพลงพื้นบ้าน Pyatnitsky ซึ่งรวบรวมนักแสดงมากฝีมือ ทั้งนักร้อง นักเต้นรำ และนักดนตรีชั้นยอดจากภูมิภาคต่างๆ ของรัสเซีย  จัดการแสดงเพลงรัสเซียในรูปแบบศิลปะดั้งเดิมสุดไพเราะ งดงามตระการตา ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห

เที่ยวงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี ชิล ชิม ช้อป ครบครัน

24 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 20 หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เที่ยวมิวเซียม ยลวัง ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์242ปี

เปิดงาน”ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” อย่างยิ่งใหญ่และอลังการ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบ 242 ปีของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  งานนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)