เส้นทางศึกษาธรรมชาติ 'ผาดอกเสี้ยว' สัมผัสวิถีป่าชาวปกาเกอะญอ

เดินข้ามน้ำตกผาดอกเสี้ยวจุดที่ 9

เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยวเป็นหนึ่งในเส้นทางศึกษาธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ที่มีระยะทางประมาณ 2.6 กิโลเมตร  ด้วยลักษณะที่เป็นป่าดิบเขา และป่าต้นน้ำ ที่นี่จึงอุดมสมบูรณ์หลากหลายไปด้วยพรรณไม้ เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าสงวนอย่าง  ชะนีมือขาว มีน้ำตกผาดอกเสี้ยว เป็นจุดเด่นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ กลายเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ฝนพร่ำๆ เดินป่าศึกษาธรรมชาติแบบชุ่มฉ่ำ

อีกเสน่ห์ของการเดินทางชมธรรมชาติของ เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยว คือ การได้เรียนรู้ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตในนการดูแลอนุรักษ์ป่า ของชาวปกาเกอะญอ ที่บ้านแม่กลางหลวง หมู่บ้านอ่างกาน้อย หมู่บ้านเล็กๆที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า การตั้งถิ่นฐานของบ้านแม่กลางหลวง เริ่มต้นเมื่อปี 2413 โดยนายตาโร บรรพบุรุษที่อพยพมาจากจ.แม่ฮ่องสอน จนมาถึงที่ตั้งถิ่นฐานในปัจจุบันในบริเวณดอยหัวเสือ เป้นผู้บุกเบิกสร้างชุมชนด้วยช้างตัวเมียหางด้วน ชื่อว่า “โมธุแหม่  “เพียงตัวเดียว จึงได้ตั้งชื่อว่า แคว้นมึกะคี หรือภาษาไทยแปลว่า บ้านแม่กลางหลวง หมายถึง ดินแดนแห่งความสงบ สันติ และอุดมสมบูรณ์

เหล่าไกด์ชาวปกาเกอะญอ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว

ในอดีตเส้นทางนี้ใช้ประโยชน์ในการเป็นแนวกันไฟ ขนผลผลิตทางการเกษตร และใช้ในการเดินติดต่อไปมาหาสู่กันภายในชุมชน ต่อมาในปี 2562 เส้นทางศึกษาธรรมชาติแห่งนี้ได้ดำเนินการปรับปรุงเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ทางธรรมชาติที่สำคัญและเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ แก่ประชาชน รวมถึงเป็นเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนด้วย  

เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยว ก่อนปรับปรุง

ด้วยความโดดเด่นทั้งธรรมชาติ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชน ทางบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป โดยมูลนิธิไทยรักษ์ป่า ร่วมกับอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์  จึงได้พัฒนาและปรับปรุงเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยว เส้นทางที่ 4 ในพื้นที่ดอยอินทนนท์ พร้อมส่งมอบในปี 2566 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ นิเวศวัฒนธรรม สะท้อนความความสัมพันธ์ระหว่าง คน คือ ชาวปกาเกอะญอ กับผืนป่า ที่อยู่ร่วมกันได้เพราะเมื่อป่าอยู่รอด คนก็อยู่ได้ โดยอีก 3 เส้นทางที่มีการพัฒนาและปรับปรุงไปแล้วได้แก่ 1.เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน 2.เส้นทางศึกษาธรรมชาติยอดดอย 3.เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา  

สายน้ำที่ไหลมาจากต้นน้ำ แหล่งอาศัยของเหล่าฝูงปลา

นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป และประธานกรรมการมูลนิธิไทยรักษ์ป่า กล่าวว่า  สำหรับเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยว ได้ยึดหลักการออกแบบที่มีผลกระทบกับธรรมชาติน้อยที่สุด พร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นและมีส่วนร่วมจากกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนนำภูมิปัญญาการก่อสร้างของชาวปกาเกอะญอ มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ อย่าง สะพานไม้ไผ่  ควบคู่กับการพัฒนาระบบสื่อความหมาย 14 จุด ทั้งแบบแผ่นป้ายที่ติดตั้งอยู่ในป่า และแบบออนไลน์ วีดิโอเยี่ยมชมเสมือนจริง 360 องศา เพื่อให้ผู้สนใจสามารถสัมผัสธรรมชาติในเส้นทางฯ ผาดอกเสี้ยวได้ทุกที่ ทุกเวลา จนเกิดเป็นจิตสำนึกในการปกป้องและร่วมดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน

เถาวัลย์ ที่เรื้อยคดเคี้ยวเกี่ยวพันต้นไม้ ที่อยู่ของสัตว์ป่า

นายเกรียงไกร ไชยพิเศษ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้เล่าถึงเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยวว่า เมื่อก่อนเส้นทางนี้จะดูแลโดยชุมชนบ้านแม่กลางหลวง มีการใช้ไม้สร้างเป็นทางเชื่อมเดินผ่านน้ำตกหรือบางจุดที่เดินลำบาก ซึ่งการปรับปรุงพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวล่าสุด ที่ทางมูลนิธิไทยรักษ์ป่า ได้เข้ามีส่วนในการพัฒนา มาช่วยเสริมและปรับปรุงให้เส้นทางเดินทางง่ายขึ้น และมีการทำป้ายสื่อความหมายในจุดต่างๆ  แต่ไม่กระทบกับป่า  รวมถึงสร้างความมั่นคงของสะพานข้ามน้ำตกผาดอกเสี้ยวให้แข็งแรง ซึ่งได้เริ่มเปิดใช้เส้นทางที่ปรับปรุงใหม่มาได้กว่า 8 เดือน ซึ่งก็มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการประมาณ 300-400 คนต่อวัน ยิ่งในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวแถบตะวันออกกลางเดินทางมาเยือนค่อนข้างมาก หรือในหมู่ชาวต่างชาติ ส่วนนักท่องเที่ยวไทยมักจะนิยมไปเที่ยวที่ยอดดอยหรือกิ่วแม่ปานมากกว่า ทั้งนี้เพื่อป้องกันด้านความปลอดภัย จำเป็นจะต้องมีผู้นำเที่ยวซึ่งก็คือชาวชาวปกาเกอะญอ ที่บ้านแม่กลางหลวง ที่ผ่านการอบรมจากทางอุทยานฯ ทั้งการปฐมพยาบาล การสื่อความหมายหรือให้ความรู้ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว

เดินจับราวไม้ไผ่ ช่วยให้เดินไม่ลื่น

โดยการเดินทางครั้งนี้ คณะสื่อได้มีโอกาสร่วมเดินศึกษาเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยว ทันทีที่ไกด์นำทางชาวปกาเกอะญอ เริ่มพูดแนะนำเส้นทาง ฝนก็ตกลงมาทันทีทั้งๆที่ช่วงสายแดดยังร้องเปรี้ยงอยู่ สมแล้วที่หลายคนบอกว่ามาเที่ยวที่ดอยอินทนนท์จะได้สัมผัสสภาพอากาศวันเดียวทั้งแดด หนาว และสายฝน คณะรีบสวมใส่เสื้อกันฝนกันถ้วนหน้า พร้อมเริ่มทยอยเดินเข้าป่าไปตามไกด์ทันที

บันไดปูน ช่วยให้เดินทางลาดชันง่ายและปลอดภัย

ระหว่างที่ฝนก็ตกพรำ แต่ไกด์ก็ไม่ลดละความพยายามในการเล่าเรื่องราววิถีภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอในการดูแลอนุรักษ์ป่า จากเดิมที่ป่าแห่งนี้โล้นโล่งเพราะมีการทำลายเพื่อปลูกฝิ่น ต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีการส่งเสริมให้ปลูกพืชเมืองหนาวหรือกาแฟแทนฝิ่น เพื่อแก้ปัญหาป่าถูกทำลายและปากท้องของชาวชาติพันธุ์ และมีการเร่งปลูกป่าทดแทนด้วยไม้พื้นถิ่น อย่าง ต้นสนสามใบ ที่ช่วยฟื้นป่ามีไม้อื่นๆที่เติบโต กลายเป็นบ้านของสรรพชีวิต และแหล่งต้นน้ำของชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ซึ่งชาวบ้านก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลในแบบของวิถีชาวปกาเกอะญอ เช่น การบวชป่าโดยใช้จีวรพันรอบต้ยสนสามใบ ป้องกันการตัดทำลาย หรือการสร้างความเชื่อเกี่ยวกับเจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา ในการดูแลป่า ซึ่งทุกปีก็จะมีการประกอบพิธีขอขมาป่าหรือขอใช้น้ำเพื่อทำการเพาะปลูก เป็นต้น

บันไดไม้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เดินชมป่าเพลินๆ

เมื่อมาถึงมาถึงจุดที่ 1 พลิกฟื้น คืนผืนป่าต้นน้ำ เป็นจุดที่มองเห็นภาพความสำเร็จของการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยการปลูกไม้พื้นถิ่น อย่างต้นสนสามใบ มาถึง จุดที่ 2 ชะนีมือขาว สัตว์ป่าคุ้มครองในผืนป่าแม่กลางหลวง หากอยากเห็นต้องมาช่วงเช้าๆนะ ชะนีมีบทบาทสำคัญในการกระจายเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ซึ่งชาวปกาเกอะญอ เรียกว่า เกอะอยูปว่า มีความเชื่อว่าชะนีเคยเป็นคนมาก่อน  หากทำร้ายจะพบแต่ความโชคร้าย ซึ่งเป็นแนวคิดป้องกันการฆ่าหรือทำร้ายชะนีมีคำเปรียบเปรยว่า นกกกตาย 1 ตัว ต้นไทรจะเงียบเหงาไป 7 ต้น เช่นเดียวกับชะนีตาย 1 ตัว ภูเขาจะเงียบเหงาไป 7ลูก  จุดที่ 3 ความเกื้อกูลภายใต้ผืนป่า ที่มีชันโรง ผึ้งจิ๋วไร้เหล็กใน ที่เป็นนักผสมพันธุ์สร้างความหลากหลายให้พรรณไม้ จุดที่ 4 เถาวัลย์ ที่อยู่ของสัตว์ป่า มีหน้าที่รักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ซึ่งชาวปกาเกอะญอเชื่อว่าหากเถาวัลย์พันวนขึ้นทางซ้าย หากเดินผ่านเข้าไปจะหลงป่า ช่วยให้คนไม่บุกรุกป่า

จุดนัดพบชะนีมือขาว ต้องมาเช้าๆถึงได้เจอ

หลังจากจุดที่ 4 เส้นทางจะค่อนข้างลื่น แต่ก็ยังมีราวไม้ไผ่ไว้ให้จับพยุงการดิน หรือบางจุดก็จะมีการทำทางเดินปูน หรือบางเส้นที่ลาดชันก็จะมีการทำสะพานไม้ให้เดินเชื่อมได้ง่ายขึ้น ช่วยให้หน้าฝนก็เดินได้ไม่ลำบากมากนัก ได้ฟิวป่าแบบฉ่ำๆ  เรามานั่งพักหลังจากเดินหนีฝนตรงน้ำตกผาดอกเสี้ยว ไกด์ได้เล่าถึงความสำคัญของแต่ละจุดที่ผ่านมาว่า สายน้ำที่มีคุณประโยชน์ต่อทั้งผืนป่าและมนุษย์ นอกจากการดูแลแล้ว ชาวปกาเกอะญอ จะมีพิธีการเลี้ยงผีน้ำ หรือขอขมาน้ำ เพื่อนำน้ำมาใช้ในการปลูกข้าว ทำเกษตรต่างๆ โดยจะมีการทำพิธีทุกปีที่ตาน้ำ ซึ่งจะมีศาลเล็กตั้งอยู่

.ต้นน้ำ ที่ไหลผ่านไปตามแนวหินบรรจบเป็นน้ำตกผาดอกเสี้ยว

อย่าง จุดที่ 5 พลังของสายน้ำ ตรงจุดนี้จะพบกับต้นน้ำของน้ำตกผาดอกเสี้ยว ที่ไหลเชียวมากๆ   ขอข้ามไปจุดที่ -7  แล้วจะย้อนพูดถึงจุดที่  6 จุดที่ 7 นี้คือน้ำคือชีวิต เป็นจุดกลางน้ำที่ไหลมาจากต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปลาหลากหลายชนิด เช่น ปลาซิวใบไผ่เล็ก ปลาค้อ เป็นต้น  จุดที่ 8 ตาน้ำ ต้นกำเนิดแหล่งน้ำในผืนป่า ที่สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของป่า และสถานที่ทำพธีขอขมาน้ำ  และจุดที่ 9 รักจัง น้ำตกผาดอกเสี้ยว ซึ่งเป็นน้ำตกชั้นที่ 7 จากทั้งหมด 10 ชั้น มีความโดดเด่นด้วยความสูงของสายน้ำกว่า 20 เมตรที่ไหลลงกระทบแอ่งน้ำด้านล่าง เกิดเป็นม่านน้ำสีขาวสวยงาม ตรงจุดมีสะพานไม้ไผ่ที่สร้างคามภูมิปัญญาชาวปกาเกอะญอ ให้เดินข้ามไปอีกฝั่ง เป็นจุดไฮไลท์ที่มีการเรียกอีกชื่อว่า รักจัง ตามชื่อภาพยนต์

สัมผัสป่าที่อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ต้องช่วยดูแล

ทีนี้เป็นจุดที่ 6 คุณค่า ป่าดิบเข้า ซึ่งเป็นป่าไม้ผลัดใบ ตรงจุดนี้เราจะเห็นต้นไม้สูงกว่า 1,28 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ และเขียวขจีตลอดทั้งปี จากจุดนี้ พอฝนเริ่มซ่าลงเราเดินต่อไปยังจุดที่  10 รากไทร กลไกธรรมชาติยึดโยงผืนป่า เดินตามไหล่เขามาเรื่อยๆมาถึงจุดที่ 11 ดอกเดสี้ยว พันธุ์ไม้ท้องถิ่น ซึ่งจะผลิดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ช่วงเดือนนี้จึงไม่มีดอกให้ชม มาถึงจุดที่ 12 วัฎจักรวัฒนธรรม บนผืนนา ในที่สุดฝนก็หยุดตก ทำให้แสงยามได้ทอประกายให้พวกเราได้ยลโฉมนาขันบันได ที่รวงข้าวสีทองอร่ามตัดกับสีเขียวของทิวเขาอย่างสวยงาม เดินลัดเลาะมาตามเส้นท้องนา ข้ามลำธารสายเล็กมาถึงจุดที่ 13 กาแฟ รักษ์ป่า ที่เริ่มต้นจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ส่งเสริมให้มีการปลูกกาแฟ อีกทั้งยังเกื้อกูลต่อธรรมชาติ มาถึงจุดที่ 14 ปลายทางคุณค่าและความหมาย คนอยู่กับป่า ออกจากป่าเข้าสู่ชุมชนบ้านแม่กลางหลวง สัมผัสกับวิถีและบรรยากาศโดยรอบอย่างอบอุ่น

วิถีชาวปกาเกอะญอ การทอผ้าด้วยกี่เอว

การเดินทางมาที่เส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยว หากไม่ได้นำรถยนต์ส่วนตัวขับมาเอง ก็สามารถใช้บริการรถสองแถวสีเหลืองที่มีจุดให้บริการอยู่ในอ.จอมทอง ได้เลย โดยตรงจุดทางเข้านักท่องเที่ยวสามารถแจ้งรับบริการไกด์นำชมได้เลย และมีโฮมสเตย์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักที่บ้านแม่กลางหลวงด้วยนะ

รวงข้าวทองอร่าม วิถีทำนาแบบขั้นบันได

ตลอดการเดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาดอกเสี้ยว นอกจากจะสัมผัสได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้แล้ว สิ่งสำคัญคือ ความใส่ใจต่อผืนป่า และความน่ารักต่อนักท่องเที่ยวของไกด์ชาวปกาเกอะญอ ที่ทำให้เราเขาใจว่าทำไมที่นี่ถึงเป็นแห่งเรียนรู้ “นิเวศวัฒนธรรม” ที่ควรค่าแก่การเดินทางมาเที่ยว

บ้านแม่กลางหลวง อบอุ่นด้วยมิตรภาพของชาวปกาเกอะญอ


เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สดร.เผยภาพดาวหาง ฝีมือคนไทยบันทึกจากยอดดอยอินทนนท์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ที่เป็นฝีมือคนไทยบันทึกได้ช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม 2567 จากยอดดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่

ภาคเหนือยังยะเยือก ยอดดอยอินทนนท์มีน้ำค้างแข็งส่งท้ายฤดูหนาว อุณหภูมิ 3 องศา

สภาพอากาศที่เชียงใหม่ช่วงเช้าวันนี้ยังหนาวเย็นอุณหภูมิพื้นราบ 14-16 องศาฯ ต่ำสุดที่ยอดดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 3 องศาฯ ยอดหญ้าต่ำกว่า 0 องศาฯ ที่จุดชมวิวกิ่วแม่ปานต่ำสุดของฤดูหนาวปีนี้ที่ยังคงมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปสัมผัสอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง

อุณหภูมิต่ำสุด 6 องศาฯ ‘ดอนอินทนนท์’ เกิดน้ำค้างแข็งส่งท้ายฤดูหนาว

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยังยะเยือกยังมีน้ำค้างแข็งส่งท้ายฤดูอีกรอบ พร้อมเชิญร่วมกิจกรรมอินทนนท์อินเลิฟ 2567 ส่งภาพความประทับใจ ลุ้นรับพาสปอร์ตอุทยานฯ

ดอยอินทนนท์ ยะเยือกต่อเนื่อง เหมยขาบ 3 วันติด เก็บรายได้วันละกว่าครึ่งล้าน

นักท่องเที่ยวจำนวนมากยังได้สัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็นต่อเนื่องในระยะนี้ โดยเฉพาะที่ยอดดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวั

ดอยอินทนนท์สุดฮอตอุณหภูมิยังเลขตัวเดียว ตะลึงยังมีเหมยขาบให้เห็น

นักท่องเที่ยวยังสุดฟินกับอากาศหนาวยะเยือกบนยอดดอยอินทนนท์สุดฮอตอุณหภูมิยังเลขตัวเดียวพร้อมเหมยขาบ สุดสวย

นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นดอยอินทนนท์ เฉียด 1.9 หมื่นคน เผยเกิด เหมยขาบ ส่งท้ายปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันหยุดยาว ในช่วงเทศกาลปีใหม่ นักท่องเที่ยวขึ้นมาสัมผัสอากาศหนาวบน ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ทำลายสถิติ ทุกวัน