โสด+เหงา = อัดบุหรี่15มวนต่อวัน ปริศนาควันหลงวาเลนไทน์

เมื่อช่วงใกล้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ หรือวันวาเลนไทน์ 2567 ที่ผ่านมา ได้มีวลีหนึ่งโผล่มาในโลกโซเชียลว่า “อย่าปล่อยให้ตัวเองเหงา แพทย์เตือนคนโสดในวันวาเลนไทน์ ความเหงาอันตรายมาก เท่าบุหรี่ มวนต่อวัน” สร้างความฉงนฉงายให้กับสังคมอย่างมาก คิดไปต่างๆนาๆว่า ความเหงากับการสูบบุหรี่เยอะๆถึง 15 มวนต่อวันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เหตุใดจึงเปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเช่นนี้

แต่เมื่อไปค้นดูก็จะพบว่า ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลก(WHO)ประกาศว่า” ความเหงา “เป็นภัยคุกคามสาธารณสุขระดับโลก อันตรายเท่าสูบบุหรี่ 15 มวน เพิ่มขึ้นของการเกิดโรคต่าง ๆ  “ความเหงา” จึฃเป็นภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่เร่งด่วนทั่วโลก โดยศัลยแพทย์ทั่วไปของสหรัฐฯ ระบุว่าผลกระทบต่อการเสียชีวิตของความเหงาเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน

พร้อมกับระบุว่า ความเหงาก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมต้องหยุดชะงักลง องค์การอนามัยโลกได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศเกี่ยวกับปัญหา “ความเหงา” นำโดยนพ.วิเวก เมอร์ธี ศัลยแพทย์ทั่วไปของสหรัฐอเมริกา, ชิโด เอ็มเปมบา ทูตด้านเยาวชนของสหภาพแอฟริกา  รวมถึงราล์ฟ รีเกนวานู รัฐมนตรีกระทรวงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในวานูอาตู และอายูโกะ คาโตะ รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบมาตรการเพื่อความเหงาและความโดดเดี่ยวในญี่ปุ่น พร้อมด้วยนักเคลื่อนไหวและรัฐมนตรีอีก 11 คน

“ความเหงากำลังกลายเป็นข้อกังวลด้านสาธารณสุขระดับโลกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และการพัฒนาในทุกด้าน ความโดดเดี่ยวทางสังคมไม่มีอายุหรือขอบเขต” ความเสี่ยงด้านสุขภาพนั้นแย่พอๆ กับการสูบบุหรี่มากถึง 15 มวนต่อวัน และมากกว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและการไม่ออกกำลังกายอีกด้วย นพ.วิเวก เมอร์ธีกล่าว

ในผู้สูงอายุ ความเหงามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะพัฒนาภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 50% และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมอง 30% เท่านั้นไม่พอ ความเหงายังบั่นทอนชีวิตของคนหนุ่มสาวอีกด้วย

โดยงานวิจัยเมื่อปี 2022 ระบุว่า วัยรุ่น 5 – 15% มีภาวะเหงา ซึ่งตัวเลขมีแนวโน้มว่าจะถูกประเมินต่ำไป ขณะที่ในแอฟริกา มีวัยรุ่น 12.7% เผชิญกับความเหงา เทียบกับ 5.3% ในยุโรป

พญ.เต็มหทัย  นาคเทวัญ  จิตแพทย์  ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพจิต (Mental Health Center) โรงพยาบาลนวเวช ไขข้อข้องใจประโยคนี้ว่า จริงๆ เป็น งานวิจัยเรื่องนี้การศึกษาว่าความเหงา มีผลอย่างไรต่อคนเรา  โดยมองว่าความเหงา ทำลายสุขภาพจิต กับสุขภาพกายโดยรวม เหมือนคนเราถ้าสูบบุหรี่ไปวันละ 15 มวน ก็ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งจริงๆ ตามหลักการแพทย์ ความเหงาจะทำให้สมองของเราทำงานผิดปกติ เกิดความเศร้า ความกังวล  หรือความเครียด ซึ่งถ้าเราหาทางออก โดยการเยียวยา  แต่มีอีกงานวิจัย ที่น่าเชื่อถือ เป็นการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระยะยาว โดยบอกว่าสุดท้ายแล้วคนเรา ถ้าขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ก็คือคนไม่มีความสุข หรือคนที่มีความสุข คือคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว ซึ่งจะทำให้คนนั้นมีอายุไขที่ยืนยาว  

พญ.เต็มหทัย  นาคเทวัญ  จิตแพทย์  ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพจิต (Mental Health Center) โรงพยาบาลนวเวช

“งานวิจัยเรื่องความเหงา เป็นการบอกว่าสุขภาพจิตมีผลต่อสุขภาพกาย หรือคนที่เหงาจะอายุที่สั้นกว่าคนที่ไม่เหงา คนที่ไม่เหงานี้ ไม่ได้หมายถึงแค่คนไม่โสด หรือคนที่แต่งงานแล้วเท่านั้น แต่ยังหมายคนที่มีความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ดีในระยะยาวด้วย เช่น ความสัมพันธ์ ในที่ทำงานก็ได้ หากคนนั้นมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในที่ทำงานตั้งแต่ 3คนขึ้นไป ก็อาจจะทำให้การงานราบรื่นประสบความสำเร็จ  ถือว่าเป็นด้านบวก ของความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิตของคนนั้นแล้ว  “

ความรัก ความสัมพันธ์ที่ดี ใครก็ต้องการ พญ.เต็มหทัย กล่าวว่า คนเราต้องมี  Social Needs เป็นหลักอยู่แล้ว  ตามทฤษฎีมาสโลว์ ซึ่งเป็นทฤษฎีจิตวิทยา ได้ลำดับขั้นความต้องการ ของมนุษย์(Maslow’s Hierarchy of Needs) ว่าคนเรา ต้องการความต้องการพื้นฐาน 5ขั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ความต้องการความรักและสังคม (Belonging and Love Needs) โดยคนเราจะต้องการความรัก ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม ดังนั้น ความรักและความสัมพันธ์จึงมีความสำคัญต่อคนเรา

ในฐานะจิตแพทย์ มีคนมาปรึกษาปรึกษาเรื่องความรัก ความสัมพันธ์เยอะหรือไม่ พญ.เต็มหทัย บอกว่ามีคนไข้มาปรึกษาเรื่องความรักและความสัมพันธ์เยอะมาก หรือเป็นปัญหาอันดับแรกๆ เลยก็ว่าได้ แม้ว่าจะมาด้วยปัญหาอื่นเป็นตัวนำก็ตาม แต่สุดท้ายต้องมีเรื่องนี้พ่วงเข้ามาด้วย แม้ไม่ใช่เรื่องความสัมพันธ์เชิงคู่รัก แต่อาจเป็นความสัมพันธ์ในที่ทำงาน หรือความสัมพันธ์กับเจ้านาย  

และนอกจากปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่นแล้ว ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนมักจะมีปัญหากับตัวเอง แม้ว่าทุกคนจะรักตัวเอง  แต่ก็จะมีปัญหาทำอย่างไรให้เป็นความรักตัวเองที่สมดุล คือ ไม่ทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำให้คนอื่นเดือดร้อน เรื่องนี้เป็นโจทย์ที่ทำให้คนต้องมาหาหมอ  

“คนเครียด กับความสัมพันธ์รอบข้าง แต่พอเราไม่สามารถจัดการให้สมดุล ก็ทำให้เราไม่สามารถจัดการความสัมพันธ์กับคนอื่นๆได้ มันจึงทำให้เกิดความเครียด เพราะความสัมพันธ์ก็เหมือนเสาหลักของบ้าน พอเสาหลักสั่นสะเทือนปุ๊ป ก็ทำให้เสาอื่นๆ มันก็จะล้มง่ายขึ้น ทุกเคสที่มาหาหมอจึงต้องเข้าใจตัวเองก่อน แล้วค่อยไปพัฒนาความสัมพันธ์กับคนอื่น “พญ.เต็มหทัยกล่าว

โลกโซเชียล มีผลต่อความคิดความรู้สึกของผู้คนสมัยนี้ มากน้อยแค่ไหน พญ.เต็มหทัย บอกว่า มีผลแน่นอน  เพราะโซเชียล เป็นทั้งโลกที่เป็นจริง เป็นโลกจินตนาการ และเป็นโลกเสมือน  ซึ่งอาจทำให้หลายคนไปเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น พอมีการเปรียบเทียบก็จะเกิดความคาดหวัง แม้เราอาจจะมีดีอยู่แล้ว แต่โซเชียลซึ่งเป็นอะไรที่ไร้ขีดจำกัด ก็ทำให้คนเสพต้องไปเจอกับอะไรที่ดีกว่า  อันนี้จะทำให้คนเกิดความคาดหวังตนเองที่สูงขึ้นไปอีก เรียกว่าเป็น Self- Expectations ซึ่งพอเกิดความรู้สึกนี้ ก็จะทำให้เกิดช่องว่าง ระหว่างIdeal Selfกับ  Reality Self และถ้า Gap ระหว่างทั้งสองสิ่งกว้างเท่าไหร่ คนก็จะมีความสุขน้อยลงเท่านั้น

 
“เรื่องพวกนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่หมอต้องคุยกับคนไข้ ถ้าเขาเข้าใจตัวเอง ว่าถ้าเขาค่อยไปสู่ Ideal Self อย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็จะไปลดความคาดหวัง แต่คนเรามักจะอยู่ในสิ่งที่เรียกว่าความจริง ไม่สุขเท่าจินตนาการ ก็จะทำให้เกิดปัญหา”จิตแพทย์รายนี้กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

นักไวรัสวิทยาแนะทำตัวเหมือนป้องกันโควิดสกัดไข้หวัดใหญ่ที่พุ่งช่วงนี้ได้

นักไวรัสวิทยาแจงรายละเอียดข้อมูลไข้หวัดใหญ่ไทยกับ WHO เตือนช่วงนี้ตัวเลขไทยพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แนะใช้ช่องป้องกันตัวเหมือนโควิด

'องค์การอนามัยโลก' แนะจับตาระบาด 'โควิด' จากน้ำเสีย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ชาติสมาชิกเฝ้าระวังการระบาดโควิด-19 จากน้ำเสีย

WHO ผวา! ไวรัสพันธุ์ใหม่ ระบาดแทนที่ 'โควิด'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ไวรัสแลงยา" หนึ่งในสมาชิกกลุ่มไวรัสเฮนิปา (Langya henipavirus) ที่อาจมาแทนที่โควิด-19