พลิกโฉมขีดความสามารถแข่งขันประเทศไทย โดยใช้วิทย์ฯ-นวัตกรรมเป็นตัวนำได้อย่างไร(1)

".....นักการเมือง มองภาพไม่ค่อยออกว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จะส่งผลกระทบได้ยังไง ส.ส.ในสภา ก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง การลงทุนแรกๆสมัยนั้น จึงมุ่งไปที่เรื่องโอท็อป แต่ถ้ามองวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เราต้องมองความสามารถแข่งขันของประเทศ ซึ่งเราต้องสร้างนวัตกรรมที่ส่งไปขายทั่วโลกได้"

เมื่อพูดถึงสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ (สอวช.)หนึ่งในหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และก่อตั้งมาพร้อมๆกับ อว.หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่จริงๆแล้ว สอวช.ถือว่าเป็น"ซูเปอร์บอร์ด" หรือเป็นมันสมอง ในการนำวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มาช่วยขั้บเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นบทบาทที่เขียนไว้อย่างเป็นทางการ ในพ.ร.บ.การก่อตั้งองค์ร

หลังจากดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สอวช.มาจวนเจียนจะครบวาระการดำรงตำแหน่งรอบ 2ในอีก 2-3 เดือน ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผอ.สอวช. ได้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจว่า ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยแทบไม่มีเรื่องวิทยาศาสตร์หรือนวัตกรรมมาเป็นทิศทางของประเทศ โดยเฉพาะการนำมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  กลุ่มผู้บริหารต่อมาสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)  ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงตั้งหน่วยวิจัยนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นหน่วยงานเล็กๆที่เป็นหน่วยงานแฝงใน สวทช. จนปี2552  เกิดการมองต้องทำจริงจัง เพราะทุกประเทศเวลานั้นใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งนั้น   ช่วงรัฐบาลสมัยนั้น ที่เป็นรัฐบาลปฎิวัติ จึงตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เพื่อทำนโยบายนี้โดยเฉพาะ ตั้งเป้าหมายแรกคือ ยกระดับทุนวิจัยและพัฒนาประเทศ จาก 0.25 %  ของจีดีพี  ให้ได้ 1 % ก่อนปี 2565

"ช่วงแรกๆนั้นเราพยายาม สื่อให้นักการเมือง รวมทั้ง สำนักงบประมาณ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและส้งคมแห่งชาติ หรือและหน่วยงานต่างๆ เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำเศรษฐกิจ  แต่โดยรวมก็ยังไม่ตระหนักถึงขั้นที่จะยอมลงทุน และมองไม่เห็นประโยชน์การทำเรื่องนี้ ซึ่งจะยังไม่เห็นผลทันทีทันใด เพราะทั่วไปคนมักจะคุ้นชินกับการลงทุนที่เห็นผลทันที และคิดว่านักการเมือง มองภาพไม่ค่อยออกว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี จะส่งผลกระทบได้ยังไง ส.ส.ในสภา ก็ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง การลงทุนแรกๆสมัยนั้น จึงมุ่งไปที่เรื่องโอท็อป แต่ถ้ามองวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม เราต้องมองความสามารถแข่งขันของประเทศ ซึ่งเราต้องสร้างนวัตกรรมที่ส่งไปขายทั่วโลกได้  "

หลังจากนั้น จึงมีความพยายามทำเรื่องนี้ไปสู่คณะกรรมกาารระดับชาติมากยิ่งขึ้น  พร้อมสร้างความตระหนัก ผอ.สอวช. กล่าวว่า ส่วนที่ยากที่สุดคือ การทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจนึกภาพออก และเข้าใจว่าการลงทุนวิทยาศาสตร์ จะต้องใช้เวลาระดับหนึ่ง เพื่อสร้างความรู้และนวัตกรรมขึ้น  โดยการสร้าง นวัตกรรม การลงทุนสมัยก่อน หรือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เป็นการลงทุนโปรเจ็กเล็กๆ  บางโครงการทำในมหาวิทยาลัยใช้เงินแค่ระดับแสนสูงสุดหรือเงินหมื่น และเกิดการตั้งเป้าว่าต้องได้งบฯลงทุนวิจัยเพิ่มเป็น 1% ของจีดีพี จึงทำให้เกิดการลงทุนสูงสุดอยู่ที่ สวทช. ค่าเฉลี่ยประมาณ 5  ล้านบาท และสกว.อันดับสอง เฉลี่ยโครงการละล้าน  แต่การลงทุนระดับ  5  ล้านที่สูงสุดตอนนั้น ก็ยังไม่สามารถให้ผลงานพัฒนานวัตกรรม ที่เป็นระดับ Deep tech หรือนำไปสู่การใช้งานจริงได้  

"ผมตอนนั้น มีคณะกรรมการที่เรารวมตัวกันเอง เสนอว่า ขั้นต่ำๆ ต้องจัดเงินก้อนหนึ่งเต็มๆ เช่นประเทศลงทุน 100 จัดมาเลย 30 โปรเจ็กขั้นต่ำต้องมี 1 ล้านเหรียญ พอที่จะขับเคลื่อนโครงการให้เห็นผล ตอนนั้น ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังนึกภาพไม่ออก และบอกว่าทำไม่ได้ เพราะกฎระเบียบเป็นอุปสรรค ผมบอกว่าเราเป็นผู้ออกกฎระเบียบเอง ทำไมไม่เอาจุดประสงค์เป็นตัวตั้ง มาทำกระบวนการให้เป็นไปได้ จึงเป็นที่มาของ Spearhead Program ซึ่งเป็นการลงทุนนวัตกรรมระหว่างรัฐกับเอกชน  ถ้าบริษัทใหญ่ ก็จะลงทุนคนละครึ่ง หรือโครงการเล็ก ก็จะลงทุนน้อยลงมาหน่อย เพื่อทำนวัตกรรมที่สามารถขายได้ จึงมีการคุยกับพลเอกประจิน จั่นตอง เป็นรองนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น สำนักงบฯ ซึ่งสำนักงบฯยอมโอนงบมาเกือบพันล้าน  "

หลังจากนั้น ในการขับเคลื่อน Spearhead พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งประธานแต่ละโครงการที่มีทั้งหมด 7-8 โครงกาาร โดยเลือกคนที่มีวิสัยทัศน์และความน่าเชื่อถือ มาเป็นประธาน บางโครงการเป็นการลงทุน  50ล้าน หรือ100 ล้าน  บางนวัตกรรมที่เกิดขึ้นช่วงนั้น เช่น นวัตกรรม Automate warehouse ที่ยังใช้ได้จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี 2562 มีการก่อตั้งกระทรวงอว. โดยรวมอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน มีจุดประสงค์ เพื่อการปฎิรูปวิทยาศาสตร์และปฎิรูปประเทศ มีการก่อตั้ง สอวช.ขึ้นแทนที่ สวทน.ดร.กิตติพงศ์ กล่าวสอวช.ได้ตั้งเป้าหมาย 5ประการ ในการนำวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมมานำเศรษฐกิจ คือ

1.การวางเป้าหมายเพิ่มทุนวิจัยของประเทศให้ได้  2% ของจีดีพี  2. วางเป้าหมายปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศ จากแผนเดิมที่ สวทน.ก่อนเป็นสอวช. ร่วมกับบีโอไอ ทำกองทุนเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน จึงวางเป้าหมายการแข่งขันของประเทศว่าควรมีอะไรบ้าง เรื่องความสามารถการแข่งขัน โดยใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 3. ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยยกสถานะทางสังคมของประชากรกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก ที่เรียกว่าเป็น Social mobility ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ โดยใช้มหาวิทยาลัยในภูมิภาคที่ใกล้ชิดประชาชน เป็นตังขับเคลื่อน นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับ กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) 4. ความยั่งยืน โดยครม.สมัยนั้น ตั้งให้ สอวช. เป็นหน่วยงานกลางถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างประเทศ ที่เชื่อมโยงกับ National  definication  Entity ทางด้านการส่งต่อเทคโนโลยี

แต่ประเด็นที่กล่าวว่าทั้งหมด  4ข้อแรกจะไม่สามารถทำได้  โดยเฉพาะการพลิกโฉมอุตสาหกรรมของประเทศ ดร.กิติพงค์ กล่าวว่า หากไม่มีการพัฒนาคน ไม่มีความพร้อมเรื่องคน เช่น หากจะพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน  ล่าสุด มีการพูดถึงเรื่องการพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ และรถไฟฟ้า หรืออีวี  โดยเฉพาะอีวี พูดกันมาก  จากประสบการณ์ สอวช.ซึ่งก่อนหน้านี้เคยนำผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงวิทย์ฯไต้หวันมาคุย โดยให้เขาประเมินว่าประเทศไทยต้องการเป็น HUB  รถอีวี ได้หรือไม่  ผลปรากฎว่าผู้เชี่ยวชาญจากไต้หวันบอกว่าถ้าเราอยากเป็นHUB EV ในความหมายของเขา  ก็คือสามารถผลิตรถยนต์ แบตเตอร์รี่ คอนโทรลยูนิต เช่น มอเตอร์ได้เองทั้งหมด หรือเราเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ซึ่งดูแล้วเราไม่สามารถทำไม่ เพราะเราขาดคนในด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และเป็นนักเทคนิคด้านต่างๆ  ทั้งหมดนี้ จึงนำมาสู่การวางเป้าหมายที 5 คือ การพัฒนาคน  

"เรามีปัญหาผลิตคน เพื่อรองรับการลงทุนในอนาคต หลังจากนั้น จึงได้คุยกับกรมสรรพากร บีโอไอ ว่าประเทศไทย จะต้องเตรียมจำนวนคนให้เพียงพอ เป็นที่มาทำให้ครม.มอบให้กรมสรรพากร สร้างแรงจูงใจ โดยใช้ภาษี หากมีการลงทุนพัฒนาคน ไม่ว่าจะอัพสกิล หรือรีสกิล  รวมทั้ง การจ้างงานคนด้านนี้จากต่างประเทศ "

ในเรื่องของการอับสกิล รีสกิล  บีโอไอ ได้มอบให้สอวช.เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรร่วมกับ อีอีซี และดีป้า ทำให้ในปีที่แล้วมีผู้ที่ผ่านการอบรมไปแล้ว 50,000 ราย  แต่การอบรมระยะสั้น เพื่อเพิ่มศักยภาพของคน ยังไม่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายที่จะเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นตัวนำได้ ที่สำคัญคือ จะต้องสร้างกำลังคนด้านวิทย์ฯ ขึ้นมาโดยเฉพาะ

"การพัฒนาเทคโนโลยีเรื่องเซมิคอนดักเตอร์ ที่เราคิดว่าต้องพัฒนาให้ดีขึ้น จะเข้าทำนองเดียวกับรถอีวี พัฒนาไม่ได้เพราะไม่มีคน  เพราะถ้าเราต้องการเป็นฮับทั้งรถอีวี และเซมิคอนดักเตอร์ เราจะต้องมีนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญที่เก่งมากๆ ของเราเอง เพราะตอนนี้แม้เราจะผลิตวิศวกรที่เก่งๆ ผลิตมาได้ปุ๊ป ก็จะหายวับทันที  มีบริษัทข้ามชาติ หรือบริษัทต่างประเทศใหญ่ๆ ดึงตัวไปทันที โดยเสนอเงินเดือนแพงๆ หรือถูกอุตสาหกรรมที่มีอยู่แย่งไปหมด "ดร.กิติพงค์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตาลเดี่ยว-หญ้าเนเปียร์' พลังงานสะอาด ปฐมบทเดินหน้า'สระบุรีแซนด์บ็อกซ์'

ทุกปีกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ในไทยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักประมาณ 4-5 ล้านตัน แต่ละปีปลดปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2  ) ไม่ต่ำกว่า  9-12 ล้านตัน CO2  การเปลี่ยนผ่านพลังงานฟอสซิลสู่การใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นทดแทนถ่านหิน

สสว. - สอวช. เผยแพร่ผลการศึกษาและเกณฑ์การประเมินผู้ประกอบการ BCG สำหรับกลุ่ม MSME

สสว. ร่วมกับ สอวช. จัดงานเผยแพร่ผลการศึกษาและเกณฑ์การประเมิน BCG สำหรับ MSME ภายใต้โครงการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME