พัฒนาเมืองเพชร ดัน'พระนครคีรี'มรดกโลก

ครม.สัญจรแรกหลังรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ลงพื้นที่แข็งขันตรวจเยี่ยมการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม 3 แห่ง ของ จ.เพชรบุรี ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ อ.เขาย้อย อุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี (เขาวัง) อ.เมือง และชุมชนคุณธรรมบ้านถ้ำรงค์ เที่ยวชุมชน ยลวิถี อ.บ้านลาด เมื่อวันที่ 13 พ.ค.2567 ที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางนำวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มาต่อยอดไปสู่มิติใหม่ๆ ให้เกิดการสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นายประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เข้าร่วมลงพื้นที่เพชรบุรี

น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวว่า ดีใจที่ชาวเพชรบุรีต้อนรับอย่างอบอุ่น วธ.มีนโยบายสำคัญที่จะอนุรักษ์ รักษา สืบทอดวัฒนธรรมของชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญรัฐบาลได้เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรก เพื่อคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งกลุ่มไทยทรงดำ อ.เขาย้อย มีการสืบทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น มีความเข้มแข็งทางทุนวัฒนธรรม ถือเป็นจุดสำคัญในการผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ โดยวธ. จะมีการสนับสนุนและพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ อ.เขาย้อย ที่เป็นรูปธรรมต่อไป

น.ส.สุดาวรรณ กล่าวต่อว่า สำหรับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีหรือเขาวังนั้น ทางกรมศิลปากรดูแลรักษาโบราณสถานเป็นอย่างดี และได้รับรายงานว่า เขาวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของ จ.เพชรบุรี ตนอยากให้กรมศิลปากรรักษามาตรฐานในการดูแลแหล่งโบราณสถานไว้ รวมถึงมอบนโยบายให้กรมศิลปากรหาแนวทางพัฒนาศักยภาพของเขาวัง เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ โดยไม่ทำลายคุณค่าความเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศสตร์

“จากที่ดิฉันมีนโยบาย 1 ภูมิภาค 1 มรดกโลก ได้มอบนโยบายให้กรมศิลปากร ไปศึกษาความเป็นไปได้ ในการเสนอให้นูเนสโกพิจารณาขึ้นทะเบียนเขาวังเป็นมรดกโลก ซึ่งปัจจุบันแต่ละภาคมีโบราณสถานที่เตรียมเข้าสู่การพิจารณาของยูเนสโกแล้ว อาทิ วัดพระมหาธาตุจ.นครศรีธรรมราช เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ และอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จ.อุดรธานี ” น.ส.สุดาวรรณ กล่าว

ด้าน นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรมศิลปากรมีแผนศึกษาความเป็นไปได้เพื่อจะนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีหรือเขาวัง เพื่อบรรจุรายชื่อไว้ใน“บัญชีรายชื่อเบื้องต้น” หรือ“Tentative List” ของศูนย์มรดกโลก ยูเนสโก เบื้องต้น เห็นว่า เขาวังมีความโดดเด่น สามารถเป็นมรดกโลกตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโกได้ จากนี้กรมศิลปากร จะศึกษาความเป็นไปได้ และจัดทำเอกสารเบื้อต้นเพื่อเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป นายพนมบุตร กล่าวต่อว่า พระราชวังคีรี มีอายุเก่าแก่ 165 ปี ถือเป็นพระราชวังแห่วเดียวในประเทศไทยที่สร้างบนภูเขา เป็นพระราชวังแห่งที่สองในกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นพระราชวังแห่งแรกที่ ร.4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พระองค์เสด็จฯ พระนครคีรีถึง 21 ครั้ง ก่อนสวรรคต จากนั้นร.5 เสด็จฯมาประทับ ก่อนจะโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังบ้านปืน และพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ซึ่งแล้วเสร็จในร.6 เพชรบุรีจึงได้ชื่อว่า เมือง 3 วัง ดังนั้น พระนครคีรีจึงถือว่า เป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีความสำคัญที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ โดยมีองค์ประกอบตามหลักเกณฑ์มรดกโลก อาทิ มีประวัติศาสตร์ต่อเนื่องยุคผลัดเปลี่ยนตะวันตกกับตะวันออก เป็นพระราชวังเก่าแก่ เป็นพื้นที่ทางธรรมชาติ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ โดยตั้งแต่เดือนตุบาคม2566 ถึงเดือนเมษายน 2568 มีจำนวนผู้เข้าชมแล้วมากกว่า 2 แสนคน สร้างรายได้แล้วกว่า 15 ล้านบาท

ในโอกาส รมว.วธ. ลงพื้นที่ อ.เขาย้อย แหล่งวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำ มีวัฒนธรรมประเพณั ภูมิปํญญาท้องถิ่น และอัตลักษณ์หลากหลายจากการอยู่ร่วมกันของหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทย ไทยทรงดำ ไทยเวียง และไทยยวน

นายบุญเลิศ ยอดแก้ว ประธานชมรมไทยทรงดำจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า ชมรมไทยทรงดำ จ.เพชรบุรี ได้ประสานงานความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำทั่วประเทศไทย และเห็นว่า ชาวไทยทรงดำของอำเภอเขาย้อยนั้นมีศักยภาพในการที่จะพัฒนาให้เป็นเสาหลักด้านอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน เผยแพร่ และการต่อยอดเพิ่มมูลค่าของวัฒนธรรมไทยทรงดำได้ จึงขอเสนอความต้องการเพื่อขอรับการสนับสนุนจาก รมว.วธ. ในการส่งเสริมให้ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเป็นศูนย์การเรียนรู้ไทยทรงดำ ระดับประเทศ ดังนี้ การพัฒนา ปรับปรุง นิทรรศการองค์ความรู้แบบถาวรของชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ภายในศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อยให้เป็นนิทรรศการมีชีวิต , การจัดกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ใน จ.เพชรบุรี และภูมิภาคใกล้เคียง ปีละ 1 ครั้ง เป็นประจำทุกปี เพื่อยกระดับงานประเพณีไทยทรงดำให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ,จัดตั้งเป็นศูนย์ส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ประกอบด้วย กลุ่มทอผ้า ตัดเย็บเครื่องแต่งกาย ด้วยผ้าทอไทยทรงดำ กลุ่มจัดทำของที่ระลึก ของฝาก ไทยทรงดำ กลุ่มส่งเสริมศิลปะการแสดงไทยทรงดำ กลุ่มส่งเสริมอาหารชาติพันธุ์ และการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน เพื่อต่อยอดเป็นนักเล่าเรื่องภายในชุมชนชาติพันธุ์ไทยทรงดำ และการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญภายในชุมชน อำเภอเขาย้อย และหวังจะได้รับการสนับสนุนจาก วธ. เพื่อดำรงวัฒนธรรมชาติพันธุ์ไทยทรงดำให้คงอยู่สืบต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ภูพระบาท'คุณค่าโดดเด่น ไทยลุ้นมรดกโลก

เวลานี้คนไทยร่วมส่งแรงใจสนับสนุนการขึ้นบัญชีอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ล่าสุดของประเทศไทยต่อจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ วาระการพิจารณาภูพระบาทคาดว่าจะเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่  46

ศน.จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ 3 ภาษา ถวายพระราชกุศล

26 ก.ค.2567 - เวลา 10.00 น. ที่มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย จ.นครปฐม พระธรรมวชิราจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร

วธ.มอบรางวัลยกย่องผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ชื่นชมศิลปินเพชรในเพลง รณรงค์เห็นคุณค่าภาษาไทย

วันที่ 25 ก.ค.2567 ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานพิธีมอบรางวัลเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2567 โดย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

ลุ้น'ภูพระบาท'เป็นมรดกโลกแห่งใหม่

24 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ได้มอบกรมศิลปากร ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ซึ่ง

Soft Power ไทยสู่สากลผ่านคอสเพลย์

ถือเป็นสนามทดสอบไอเดียสร้างสรรค์ของเหล่าเลเยอร์ ผู้เล่นคอสเพลย์ (cosplay)  ที่หลงไหลตัวละครที่ชื่นชอบจากเกม ภาพยนตร์  อนิเมะ  การ์ตูนมังงะ  และใช้เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งตัว แต่งหน้า ทำผมเลียนแบบ  ไม่ใช่แค่เหมือน ดูดี แต่ต้องผสมผสานวัฒนธรรมไทยได้อย่างลงตัวผ่านการประกวดคอสเพลย์

รมว. ปุ๋ง ชวนเที่ยวงาน‘อาหารไทยถิ่น กินด้วยภูมิปัญญา’ ครั้งแรกเปิดตัวโลโก้-เพลง Thailand Best Local Food

2 ก.ค.2567 - นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)