การแพร่ระบาดอย่างหนักของปลาหมอคางดำตามลุ่มน้ำประเทศไทย ซึ่งมีการสำรวจแล้วพบว่ากินพื้นที่ 17จังหวัด และหลายฝ่ายเกิดความวิตกกังวลว่า อาจจะแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย เนื่องจาก วงจรชีวิตปลาหมอคางดำมีการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ในทุกๆ 22 วัน ตลอดจนมันมีนิสัยดุร้าย กินแหลก เมื่อมีการผ่าท้องปลาหมอคางดำพบว่า ลำไส้ยาวกว่าตัวถึง 9 เท่า ทำให้มีความต้องการอาหารตลอดเวลา แถมยังสวมบทเป็นนักล่าเวลากลางคืน ซึ่งแตกต่างจากปลาหรือสัตว์น้ำในระบบนิเวศน์ของไทย ด้วยเหตุนี้ การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ จึงมีความเสี่ยงที่จะส่งผลให้ปลาชนิดอื่นในพื้นถิ่นของธรรมชาติดั้งเดิมสูญพันธุ์ได้
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการระบาดใน 17 จังหวัด และล่าสุดมีผู้จับปลาหมอคางดำได้ในภาคใต้ จังหวัดภูเก็ต ส่วนในแถบภาคอีสาน ก็เป็นที่หวั่นๆใจว่า หมอคางดำอาจจะแพร่ระบาดไป
ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำ ได้ถูกยกให้เป็น "ปัญหาระดับชาติ" ซึ่งไม่เกินเลยความเป็นจริงนัก เพราะหากปล่อยโดยไม่ทำอะไรเลย สัตว์น้ำชนิดอื่นในประเทศก็อาจจะสูญพันธุ์ได้ ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระด้านความหลากหลายของสัตว์น้ำ ประเมินว่า หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที การระบาดจะข้ามไปมาเลเซียอ้อมไปสิงค์โปร์ จ.ภูเก็ต อย่างรวดเร็ว ภายใน 10 ปี ตลอดจน คนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามจนถึงบังคลาเทศจะเดือดร้อนได้รับผลกระทบ ที่สำคัญไทยจะสูญเสียความมั่นคงทางอาหาร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งของสามสมุทร และอ่าวไทยตอนบน เพชรบุรี ชลบุรี ซึ่งได้ผลผลิตสัตว์น้ำหลายหมื่นตันต่อปี ไม่ได้เลี้ยงคนกรุงเทพ แต่หล่อเลี้ยงคนเชียงใหม่ ลาว ส่งออกกุ้ง หอยแครง หอยแมลงภู่ ความเสียหายมูลค่านับหมื่นล้านบาท
ในการแก้ปัญหามีทั้งมาตรการจากภาครัฐ พรรคการเมือง และเอกชน อย่างบริษัทเอกชนที่นำเข้าปลาหมอคางดำเข้ามาที่ประเทศไทยเมื่อ 14ปี ได้ประกาศรับซื้อปลาหมอคางดำ ในราคากิโลละ 15บาท พร้อมกับคำปฎิเสธว่าไม่ได้เป็นต้นตอการแพร่กระจายของ หมอคาดดำ ส่วนประชาชนก็มีความร่วมมือร่วมใจ ช่วยกันออกไล่ล่า ปลาหมอคางดำ กันจ้าละหวั่น แต่นั่นก็ไม่ใช่หลักประกันว่าจะสามารถสะกัดกั้นปลาหมอคางดำให้ลดปริมาณลงได้ ที่สำคัญคือสามารถทำให้มันสูญหายออกไปจากระบบนิเวศของไทยได้ในที่สุด
มีคำถามเกิดขึ้นว่า เหตุใดปลาหมอคางดำถึงไม่รุกรานระบบนิเวศของทวีปแอฟริกา ที่เป็นถิ่นกำเนิดของมัน แต่กลับเป็นปัญหากับระบบนิเวศประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศไทย
คำตอบอย่างแรกก็คือ เป็นเพราะความแตกต่างระหว่างสภาพทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศของไทยกับทวีปแอฟริกา ที่ไม่เหมือนกัน โดยปลาหมอคางดำ วิวัฒนาการมาพร้อมกับระบบนิเวศน์ของอัฟริกา โดยมันเป็นส่วนหนึ่งของ Food web ของทวีปแห่งนี้ที่มีทั้ง ผู้ล่า, คู่แข่งในการล่า ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เป็นการจัดการตามธรรมชาติ และมีผลทำให้ควบคุมประชากรของปลาหมอคางดำไม่ให้มีมากเกินไป จนส่งผลเสียต่อระบบนิเวศโดยรวม
ผู้ล่าหลักๆ ในถิ่นเดิมของอัฟริกา ก็คือ ปลาในอัฟริกานั่นเอง เช่น ปลาดุกแอฟริกา, ปลากระพงขาวแอฟริกา, ปลาแอฟริกันไพด์ , ปลาเสือแอฟริกัน ปลาหมอสี 5 แถบ สัตว์นักล่าเจ้าถิ่นเหล่านี้ จัดว่าเป็นเป็น Predatorหรือเป็นปลานักล่าที่โหด และมีขนาดใหญ่กว่าปลาหมอคางดำหลายเท่ามาก เช่น ปลากระพงแม่น้ำไนล์ ที่ตัวใหญ่หนักเป็น 100 กิโลกรัม ไหญ่กว่ากระพงขาวไทยหลายเท่า อีกทั้งยังมีความดุร้ายและกินจุกว่ากระพงไทยมาก ขนาดที่มันสามารถอ้าปากแต่ละครั้งก็กลืนปลาหมอคางดำได้หมดทั้งฝูง แถมยังมีปลาไทเกอร์โกไลแอต ปลาตะเพียนกินเนื้อที่มีทั้งความเร็วขนาดที่ไหญ่มหึมาและฟันที่คมกริบ คอยล่าปลาหมอคางดำ
แม้ปลาหมอคางดำจะเป็นนักล่าด้วยเช่นกัน แต่ม้นก็ไม่สามารถลงทะเลได้เพราะภูมิประเทศของอัฟริกาเป็นน้ำลึก ชัน ไม่เหมาะกับการเเพร่พันธุ์ และหากลงทะเลยังต้องเจอกับนักล่าทะเลลึกที่โหดขึ้นไปอีกระดับ ด้วยเหตุนี้ปลาหมอคางดำเมื่ออยู่ในอัฟริกา จึงมีสภาพเป็นเหยื่อ หรือหากมันจะว่ายมาริมฝั่งทะเล ก็จะต้องเจอพวกแรคคูน และอาจปะหน้า พวกนกตระกูล Heron, Kingfisher ที่เป็นนักล่า อีกทั้ง บางแหล่งยังเป็นดงจระเข้
ด้วยเหตุนี้ พอมาอยู่ไทยปลาหมอคางดำจึงกลายเป็นนักล่า เพราะที่ไทยไม่มีนักล่าเจ้าถิ่นที่โหดกว่ามัน อีกทั้งสภาพแวดล้อมยังเหมาะกับการแพร่พันธุ์ แตกต่างจากสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ของอัฟริกา ที่ปากแม่น้ำเป็นทั้งน้ำลึกมีความเค็มในระดับที่ปลาหมอคางดำไม่สามารถปรับตัวขยายพันธุ์ได้
เมื่อปลาหมอคางดำถูกนำเข้าสู่ระบบนิเวศใหม่ อย่างประเทศไทยและประเทศอื่น ๆซึ่งปลาหมอคางดำจะปรับตัวได้ดีมากกับระบบน้ำกร่อย อีกทั้งระบบนิเวศใหม่ ไม่มีปัจจัยควบคุมตามธรรมชาติที่เพียงพอหรือไม่มีเลย ตลอดจนความดุร้ายทำให้มันสามารถแย่งชิงทรัพยากรจากสัตว์น้ำท้องถิ่น ทั้งแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยได้สำเร็จ จึงทำให้สัตว์น้ำท้องถิ่นมีปัญหาในการอยู่รอด อีกทั้ง ปลาหมอคางดำมีความสามารถในการปรับตัวสูงและสามารถอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ตามที่พบปลาหมอคางดำในน้ำเน่าแถบบึงมักระสัน ทำให้มันสามารถแพร่พันธุ์ได้ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย มันจึงกลายเป็นชนิดพันธุ์Alien Species รุกรานที่ก่อให้เกิดปัญหา กับระบบนิเวศใหม่อย่างประเทศไทยที่ขาดทั้งผู้ล่าและโรคภัยในธรรมชาติ ที่จะมาควบคุมประชากรของพวกมัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลงัดเทคโนโลยีทำหมันปลา จัดการ 'หมอคางดำ'
เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้าน กก. หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม “ชุดโครโมโซม 4N” ทำหมันปลา
'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง
“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด
ประมงนครฯ และสุราษฎร์ฯ ยันปลาหมอคางดำเบาบางลง หลังมาตรการได้ผล เดินหน้าต่อ จับมือ CPF ปล่อยปลาผู้ล่าลดปริมาณปลาในระยาว
ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โชว์มาตรการปราบปลาหมอคางดำได้ผลดีทั้งสองจังหวัด หลังสำรวจพบปลาหมอคางดำเบาบางลง พร้อมเดินหน้ามาตรการต่อเนื่องทันที ด้านบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนอีก 3