สำรวจว่างงานเดือนมิ.ย.จบป.ตรี มากสุด 1.39 แสนคน

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือน มิถุนายน 2567 พบว่าผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 59.19 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกาลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทำงาน 40.88 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีงานทำ 40.40 ล้านคน ผู้ว่างงาน 0.38 ล้านคน และผู้ที่รอฤดูกาล 0.10 ล้านคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 18.31 ล้านคน เช่น แม่บ้าน นักเรียน ยังเด็ก/ชรา ป่วย/พิการ เป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 พบว่าผู้มีงานทำเพิ่มขึ้น 1.26 ล้านคน (จาก 39.14 ล้านคนเป็น 40.40 ล้านคน

สำหรับเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 ผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 12.59 ล้านคน (เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม จำนวน 1.89 ล้านคน) และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม มีจำนวน 27.81 ล้านคน (ลดลงจากเดือนพฤษภาคม จำนวน 0.63 ล้านคน)โดยผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลง 3 ลำดับแรกในสาขาการผลิต (ลดลง 4.5 แสนคน) สาขาการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์(ลดลง 2.4 แสนคน) และสาขากิจกรรมบริการด้านอื่นๆ (ลดลง 1.7 แสนคน) ส่วน 3 ลำดับแรกที่มีผู้ทำงานเพิ่มขึ้น คือสาขาการขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า (เพิ่มขึ้น 3.4 แสนคน) สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร (เพิ่มขึ้น 1.5 แสนคน) และสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์(เพิ่มขึ้น 0.9 แสนคน)

เมื่อพิจารณาถึงชั่วโมงทำงานของผู้มีงานทำต่อสัปดาห์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 พบว่า ผู้ทำงานตั้งแต่ 35-49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีจำนวน 26.68 ล้านคน หรือร้อยละ 66.0 ของผู้มีงานทำทั้งหมด และผู้ทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์มีจำนวน 7.34 ล้านคน (ร้อยละ 18.2) ส าหรับผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงลงไปต่อสัปดาห์มีจำนวน 6.38 ล้านคน (ร้อยละ 15.8)

การทำงานต่ำกว่าระดับด้านเวลา หากพิจารณาถึงจำนวนผู้มีงานทำแต่ยังทำงานได้ไม่เต็มเวลา ซึ่งหมายถึงผู้ทำงาน 1-34 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และต้องการทำงานเพิ่มหรือเรียกว่าผู้ทำงานต่ำกว่าระดับด้านเวลา(Time-Related Underemployment workers) จากผลการสำรวจพบว่า มีผู้ทำงานต่ำกว่าระดับด้านเวลาจำนวน 1.39 แสนคน หรือร้อยละ 0.3 ของจำนวนผู้ทำงานทั้งหมด เมื่อพิจารณาตามเพศพบว่ามีเพศชายมากกว่าเพศหญิง (จำนวน 0.90 แสนคน และ 0.49 แสนคน ตามลำดับ

ในเดือนมิถุนายน 2567 พบว่า มีจำนวนผู้ว่างงาน 3.79 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ว่างงานทั่วประเทศลดลง1.03 แสนคน (จาก 4.82 แสนคน เป็น 3.79 แสนคน) เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่าเกือบทุกภาคมีจำนวน ผู้ว่างงานลดลง ยกเว้นกรุงเทพมหานครมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนเท่ากัน

จำนวนผู้ว่างงาน ในเดือนมิถุนายน 2567 มีทั้งสิ้น 3.79 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567 จำนวนผู้ว่างงานลดลง 1.03 แสนคน และอัตราการว่างงานลดลงเป็นร้อยละ 0.9อัตราการว่างงานตามเพศ พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีอัตราการว่างงานลดลงจากเดือนพฤษภาคม2567 (ร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 0.9 และร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 1.0 ตามล าดับ)อัตราการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า ในวัยเยาวชน (อายุ 15-24 ปี) และวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานลดลง (ร้อยละ 7.0 เป็นร้อยละ 5.1 และร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.5 ตามล าดับ

ระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงาน ในเดือนมิถุนายน 2567 พบว่าผู้ว่างงานสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากที่สุด 1.39 แสนคนรองลงมาเป็นร ะดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวนเท่ากันกับระดับระดับ ปวช./ปวส. 0.72แสนคน และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 0.55แสนคนเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2567พบว่าผู้ว่างงานที่สำเร็จการศึกษาเกือบทุกระดับ มี จำนวนลดลง ยกเว้ น ร ะดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ประสบการณ์การทำงานของผู้ว่างงาน พบว่า เป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 1.80 แสนคน (ร้อยละ 47.5) โดยเป็นผู้ว่างงานจากนอกภาคเกษตรมากกว่าในภาคเกษตร (จำนวน 1.73 แสนคน และ 0.07 แสนคน ตามลำดับ) ส่วนผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.99 แสนคน (ร้อยละ 52.5)

ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากที่สุด จำนวน 0.48 แสนคน(ร้อยละ 26.7 ของผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน) รองลงมาเป็นระดับปวช./ปวส. 0.47 แสนคน (ร้อยละ 26.1)และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 0.30 แสนคน (ร้อยละ 16.7) ตามลำดับ


ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามากที่สุด จำนวน 1.10 แสนคน (ร้อยละ 55.3 ของผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน) รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีจำนวนเท่ากันกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับปวช./ปวส. คือ 0.25 แสนคน (ร้อยละ 12.6) และระดับประถมศึกษา 0.12แสนคน (ร้อยละ 6.0) ตามลำ ดับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

REIC ชี้ ไทยที่อยู่อาศัยคนแก่ขาดแคลนสวนทางประชากรสูงวัยโตพรวด

“REIC” เปิดผลสำรวจที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ ปี 2567 ยังไม่เพียงพอรองรับความต้องการ หลังประชากรสูงวัยโตพรวด 4.89% กางทั้งประเทศมีโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเพียง 916 แห่ง ส่วนใหญ่ปักหมุดในนกรุงเทพ-ปริมณฑล

รัฐบาล ยกโพลสนง.สถิติแห่งชาติ ชี้ประชาชนร้อยละ 87 พอใจ 'แจกเงินหมื่น'

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ระหว่างวันที่ 4 – 22 พ.ย.67 ดังนี้ 1.การสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2568

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุน A Good Digital Citizen “ก้าวไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน”

9 ตุลาคม 2567, กรุงเทพฯ - สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เตรียมความพร้อมให้ประชาชนก้าวสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ หวังประชาชนทุกคนมีทักษะดิจิทัล และเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีร่วมกัน จับมือเครือข่ายหน่วยงานภาคี จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุน A Good Digital Citizen“ก้าวไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดเสวนาวิชาการ เชิญวิทยากรภาครัฐ-เอกชนร่วมถกประเด็นขับเคลื่อนสังคมด้วยข้อมูลสถิติในยุค AI

ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเสวนาวิชาการและนิทรรศการ ภายใต้แนวคิด “DATA is all around us: The New Era of AI-driven Society