14ส.ค.2567-”ตรีชฎา“เผยกระบวนการรับฟังความเห็น ร่างพ.ร.บ.สุขภาพจิต เห็นด้วย 98 % ขยายความหมาย อาการผิดปกติทางจิตให้ครอบคลุมสาเหตุจากสุรา ยาเสพติด ตั้งกองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ ระดมเงินบริจาคมาฟื้นฟูรักษาผู้ป่วย ใครเสนอข่าวเฟคนิวส์ทำให้ประชาชนหวั่นไหวถือเป็นความผิด เจอโทษหนัก
น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ฝ่ายการเมืองเปิดเผยว่า ผลสรุปการแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ …) พ.ศ…..ที่เปิดการรับฟังหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน แลเะประชาชนทั่วไประหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2567 ได้ปรากฎออกมาแล้ว จากผู้ตอบแบสอบถาม 1,143 คน เห็นด้วยกับการจัดตั้ง “กองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ” จำนวนมากถึง 97.99% (1,120 คน) เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.สุขภาพจิต (ฉบับที่…) พ.ศ…98.69 %(1,128 คน) ไม่เห็นด้วย 1.31 % (15 คน) จากนี้จะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการสุขภาพจิตเพื่อพิจารณาปรับปรุงร่างพ.ร.บ.นี้ให้สมบูรณ์ต่อไป ก่อนจะเสนอต่อนายสมศักดิ์ เทพสุทินรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีและเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
น.ส.ตรีชฎากล่าวว่า สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.สุขภาพจิตแห่งชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ.เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 โดยฉบับใหม่นี้ มีผู้เห็นชอบจากการรับฟังความเห็นเป็นส่วนใหญ่ มีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรก ปรับแก้นิยามศัพท์ “อาการผิดปกติทางจิต” ให้หมายรวมถึงอาการผิดปกติของจิตใจที่เกิดจากสุรา ยาเสพติดและสารอื่นที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งพ.ร.บ.ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมยาเสพติด ประการที่สอง จัดตั้ง “กองทุนสุขภาพแห่งชาติ” กำหนดที่มาของแหล่งเงินไว้ 10 ประการ เช่น เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้และเงินอุดหนุนจากรัฐบาล, เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาค มอบ หรืออุทิศให้, เงินและทรัพย์สินที่ได้จากภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ เป็นต้น
เงินที่ได้จากแหล่งต่างๆ ในร่างพ.ร.บ.ใหม่นี้ กำหนดให้นำไปใช้ประโยชน์ เช่น ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการดูแลและผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาพัฒนาการที่ไม่สามารถกลับคืนสู่สุขภาวะหรือกลับคืนสู่สังคมเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเพื่อความปลอดภัยต่อสังคม
โฆษก สธ.ฝ่ายการเมืองกล่าวว่า เนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ยังเสนอให้กองทุนสุขภาพจิตแห่งชาติ มีอำนาจควบคุมเนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่คุกคามต่อสุขภาพจิต เพื่อปกป้อง คุ้มครองสังคมจากการนำเสนอข่าวเฟคนิวส์ หรือข่าวสารลักษณะอื่นๆที่เผยแพร่ทางสื่อต่างๆโดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่เกิดผลกระทบกระเทือนจิตใจ ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกหวั่นไหว จะเป็นโรคจิต หรืออาการผิดเพี้ยนทางอารมณ์และจิตใจ โดยอาจจำเป็นต้องมีบทลงโทษ ทั้งนี้ อธิบดีกรมสุขภาพจิตจะเป็นผู้ควบคุมดูแลเนื้อหาในส่วนนี้ั
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.
'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
รัฐบาลพร้อมรับ 4 คนไทยกลับบ้าน เช็กสุขภาพ-เยียวยาจิตใจทันที
นายกฯ รับรายงานพร้อมรับ 4 คนไทยกลับบ้าน ด้าน สธ. เตรียมทีมดูแลสุขภาพกาย-จิตใจ ทันทีที่เหยียบแผ่นดินไทย
ภาพลักษณ์บอบบางของ ‘เคียรา ไนต์ลีย์’ ที่กัดกร่อนสุขภาพจิต
ในช่วงเริ่มต้นอาชีพ เคียรา ไนต์ลีย์ มักถูกวิจารณ์บ่อยครั้งเกี่ยวกับความผิดปกติเรื่องการกินอาหาร ตอนนี้เธอพูดเล่าว่าเรื่อง