แนะศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์-SEA ตอบโจทย์ แก้ไขปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำยม เขื่อนแก่งเสือเต้น

ภาพจาก เพจ :อุทยานแห่งชาติแม่ยม-แก่งเสือเต้น

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย แนะ ศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์(SEA) ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำยม เพื่อลดความขัดแย้ง หาทางออก สร้างหรือไม่ควรสร้าง เขื่อนแก่งเสือเต้น

4ก.ย.2567- ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า

ศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์(SEA) ตอบโจทย์แก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของพื้นที่ลุ่มน้ำยม...เพื่อลดความขัดแย้ง..

1.หากบอกว่าต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นกั้นลำน้ำยมเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งบริเวณจังหวัดในพื้นที่ลุ่มน้ำยม นั่นคือ การเอาคำตอบมาตั้งเป็นโจทย์ จึงมีทาง ออกแค่ 2 ทางเท่านั้นคือสร้างหรือไม่ควรสร้าง..yes or No!

2.แต่หากตั้งโจทย์ใหม่ว่า"ต้องการบริหารจัดการลุ่มน้ำยมเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งในพื้นที่จังหวัดพะเยา แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก."จะทำให้มีคำตอบเกิดขึ้นเป็นทางเลือกมากมาย หนึ่งในนั้นมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นด้วย ซึ่งในส่วนของภาครัฐจะต้องเลือกคำตอบที่ดีที่สุดที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมและสุขภาพของประชาชนน้อยที่สุด

3.ดังนั้นรัฐบาลต้องให้หน่วยงานที่มีความเป็นกลางทางวิชาการมาทำการศึกษาเพื่อประเมินสิ่งแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ในระ ดับพื้นที่หรือSEA (Strategic Environmen tal Assessment)ซึ่งผลการศึกษาจะเป็น การสนับสนุนการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนต่างๆได้รับการพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพแล้วสามารถใช้กำหนดนโยบาย แผน และแผนงานต่อไปได้

4.SEAจะช่วยบอกว่าต้องทำโครงการอะไรบ้างก่อนหรือหลังเพื่อสามารถป้องกันการเกิดน้ำท่วม น้ำแล้งในจังหวัดพื้นที่ลุ่มน้ำยม โดยจะต้องก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยา กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สังคมและสุข ภาพของประชาชนน้อยที่สุด อย่างมีเหตุมีผลและมีความยั่งยืน รวมทั้งต้องมีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้วย
...ซึ่งการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น อาจต้องสร้างหรือไม่สร้างก็ได้...

5.ทำการศึกษาไม่เกิน1ปีโดยหน่วยงานที่เป็นกลางทางวิชาการ ข้อมูลต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้..เน้นจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ(Technical hearing)ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชา ชน (Public hearing)ของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำและท้ายน้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำยม...เสนอทางเลือกของโครงการและนำความเห็นของนักวิชาการและประ ชาชนในพื้นที่มาประมวล เพื่อกำหนดเป็นนโยบายของรัฐ เดินหน้าได้ทันที..ทั้งนี้ให้ใช้วิชาการและความเห็นประชาชนส่วนใหญ่เป็นคำตอบ..
ทั้งนี้ห้ามประท้วง..เดินขบวน..

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ชี้สัญญาณเตือนโลกกำลังจะเปลี่ยนไป จากอุณหภูมิสูงขึ้น หายนะจะตามมา

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

'นักวิชาการ' ยกมาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรป กับ โศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียน

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

'เรียงหิน' อ้างโดนต้านเขื่อนทำแก้น้ำท่วมยาก ชี้ทำเขื่อนถูกกว่าใช้งบช่วยเหลือทุกปี

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยสส.พรรคเพื่อไทย อาทิ นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ สส.สุโขทัย เขต 1 นายชูศักดิ์ คีรีมาศทอง ส.ส.สุโขทัย เขต 2 นายนพพล เหลืองทองนรา