มุมมองใหม่ๆ ที่เปิดเผยความงดงามของประเพณีไทยและบอกเล่าวิถีชีวิตผ่านเลนส์กว่า 200 ภาพ ในนิทรรศการภาพถ่าย“ประเพณี 12 เดือน ร้อยมุมมองวิถีไทย” ไม่เพียงสะท้อนถึงความเป็นไทยที่น่าภาคภูมิใจเท่านั้น แต่ยังพัฒนาวงการถ่ายภาพของประเทศไทย เห็นได้จากที่มีภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดมากกว่า 3,600 ภาพ ทั้งจากช่างภาพมืออาชีพ ช่างภาพคลื่นลูกใหม่ที่สนใจถ่ายภาพจากการจัดประกวด 4 ซีซั่น
นิทรรศการครั้งใหญ่จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเสนอผลงานภาพถ่ายของผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ 4 คน นายอัครายช์ เพ็ชร์อำไพ ภาพประเพณีสงกรานต์ ก่อพระเจดีย์ทราย ชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี นายรุสลี แยนา ภาพประเพณีแข่งเรือ เทศกาลแข่งเรือบ้านฉัน จ.ปัตตานี นายสมชาย อิ่มชู ภาพประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ รวมใจเป็นหนึ่ง วัดสระเกศ กรุงเทพฯ และนายพิชญวัฒน์ ปรุงศักดิ์ ภาพประเพณีแห่ผ้าพระบฏพระราชทานถวายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช และผลงานรางวัลดีเด่นที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการร่วมแสดงให้ได้ชมบริเวณผนังโถง ชั้น 4-5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทั้งหมดเป็นภาพถ่ายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นภาพที่ทันสมัยของประเพณีและเทศกาลของไทย โดยมีพิธีมอบรางวัลและเปิดนิทรรศการเมื่อวันก่อน
นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดี สวธ กล่าวว่า การประกวดภาพถ่ายครั้งนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมถ่ายทอดมุมมองความงามของประเพณีและวิถีชีวิตไทยผ่านเลนส์กล้อง สะท้อนให้เห็นถึงพลังของวัฒนธรรมที่ยังงดงามและน่าภาคภูมิใจ ซึ่งโครงการประกวดใช้เวลาถึงหนึ่งปีเต็มในการเก็บบันทึกภาพประเพณีและเทศกาลต่างๆ รวม 59 รายการจากทั่วประเทศ โดยมีรายการที่ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในสาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาล (ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2565) 35 รายการ อาทิ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีออกพรรษา ประเพณีปอยส่างลอง ประเพณีแข่งเรือ งานวิวาห์บาบ๋า และผีตาโขน เป็นต้น ผลงานที่เข้าประกวดไม่เพียงแต่สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ชม แต่ยังเป็นสื่อที่ทรงพลังส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในยุคโซเชียลมีเดียเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ภาพถ่ายเหล่านี้ก็เผยแพร่สู่สายตาชาวโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากนานาประเทศให้มาเยือนไทย
“ ช่างภาพแต่ละคนมุ่งมั่นเดินทางไปค้นหามุมมองใหม่ๆ ถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าประทับใจเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมไทย ทั้งความเชื่อ ความศรัทธา และพลังของชุมชนออกมาได้อย่างน่าสนใจ” นางสาวลิปิการ์ กล่าว
นายพิชญวัฒน์ ปรุงศักดิ์ ช่างภาพมืออาชีพ เดินทางไปเหนือจรดใต้เพื่อเก็บบันทึกภาพประเพณี เจ้าของผลงานชนะเลิศ “ภาพประเพณีแห่ผ้าพระนฎพระราชทานถวายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ วัพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช“ ในซีซั่น 4 เล่าถึงที่มาว่า เริ่มจากตนส่งภาพงานวิวาห์บาบ๋าร่วมประกวดซีซั่น 1 ได้รางวัลดีเด่น จึงตั้งใจส่งภาพประกวดซีซั่นต่อไป ซึ่งก็ได้รางวัลดีเด่น กระทั่งมาถึงซีซั่นล่าสุดยอมรับว่ากดดันมาก เวทีนี้ช่างภาพล้วนมีฝีมือมาก ต้องทำการบ้านเยอะ ซึ่งประเพณีแห่ผ้าพระบฎถวายพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งในรายการประเพณืที่กำหนด ก็ศึกษาเกี่ยวกับประเพณีเพื่อให้เกิดความเข้าใจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น ผ้าพระราชทานสำหรับห่มพระธาตุฯ จะมาถึงในช่วงเย็น รวมถึงผ้าของชาวบ้าน ช่วงตลอดทั้งวันที่รอเวลา เดินหามุมที่น่าสนใจ กระทั่งเห็นครอบครัวหนึ่งกำลังแห่ผ้าเดินเวียนรอบพระบรมธาตุ ภาพที่เห็นเป็นเงาของเด็กชายถือดอกบัวปรากฎบนผ้าที่พ่อแม่ถือ ฉากหลังเป็นพระธาตุ ประทับใจในแสง เงา องค์ประกอบ ทั้งยังสื่อถึงความศรัทธา ตนเองรีบวิ่งตามไปบันทึกจนได้ภาพที่ชนะเลิศครั้งนี้
“ การประกวดภาพถ่ายไม่เพียงเป็นกำลังใจให้คนรักการถ่ายภาพมีแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ยังช่วยให้ผู้คนหันมาสนใจเรื่องราวความงดงามของวิถีวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นตามภูมิภาคต่างๆ ของไทยมากขึ้น ทั้งยังรวบรวมภาพถ่ายสื่อให้เห็นประเพณีของไทยมีตั้งแต่เหนือยันใต้ให้เรียนรู้มากที่สุด ช่างภาพหรือคนที่ชอบท่องเที่ยวชมนิทรรศการนี้ไม่ผิดหวังแน่ บางประเพณีหลายคนอาจยังไม่รู้จัก เป็นอะไรที่อเมซิ่ง “ นายพิชญวัฒน์ กล่าว
ด้าน นายสมชาย อิ่มชู ช่างภาพอิสระ กล่าวว่า ชอบบันทึกภาพเพื่อเก็บเป็นสตอรี่ส่วนตัว เลือกประเพณีห่มผ้าแดงภุเขาทอง เพราะหนึ่งปีมีครั้งเดียว เห็นถึงความสนใจของคนกรุงเทพฯ ร่วมประเพณี ซึ่งพบไม่บ่อยนัก ผลงานดูเรียบง่าย ได้แสงเงา พลังศรัทธาคนจำนวนมากเดินขึ้นภูเขาทองและความสวยงามของสถาปัตยกรรม ตั้งใจให้ภาพเป็นธรรมชาติที่สุด ส่งภาพเดียวเข้าประกวดในซีซั่นนี้ ไม่คาดคิดจะชนะเลิศ ปกติภาพประกวดจะเป็นประเพณีในต่างจังหวัด จากภาพนี้เชื่อว่า จะเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างภาพไปค้นหามุมนี้หรือมุมมองใหม่ๆ ของงานห่มผ้าแดงวัดสระเกศฯ ปีหน้าตนมีมุมในใจที่อยากจะบันทึกที่นี่เช่นกัน การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่ง วาดภาพผ่านเลนส์กล้อง ยุคสมัยนี้การถ่ายภาพง่าย มีการผสมเอไอ ถ้ามีใจรักแนะนำให้มุ่งมั่นตั้งใจ
มาไกลจากปัตตานี นายรุสลี แยนา ลั่นชัตเตอร์ภาพเทศกาลแข่งเรือบ้านฉัน จ.ปัตตานี คว้าขนะเลิศ กล่าวว่า ทำอาชีพค้าขาย แต่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก และส่งผลงานประกวด ตั้งใจเก็บบันทึกภาพประเพณีแข่งเรือที่ปัตตานีบ้านเกิด ซึ่งจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ในภาพมีการตีกลองเชียร์คนแข่งเรือให้มีความฮึกเหิม ถือเป็นอีกไฮไลต์นอกจากแข่งพายเรือ ใช้เวลานานนับชั่วโมงเฝ้าคอยจังหวะและระยะเรือพายสองลำให้อยู่ในตำแหน่งที่พอดี ชอบถ่ายภาพวิถีวัฒนธรรมที่แสดงพลังวัฒนธรรมภาคใต้ที่สวยงาม เล่าเรื่องในจังหวัดให้คนอยากมาสัมผัส นิทรรศการนี้สร้างการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างพื้นที่ อาจไม่ใข่ประเพณีเทศกาลที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย
ตามมาดูนิทรรศการภาพถ่าย “ประเพณี 12 เดือน ร้อยมุมมองวิถีไทย” จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 17 – 22 ก.ย. 2567 บริเวณผนังโถง ชั้น 4-5 หอศิลป์กรุงเทพ หรือชมความงดงามผ่านทาง e-book ภาพถ่ายประเพณี 12 เดือน ร้อยมุมมองวิถีไทย ที่ลิ้งค์ http://book.culture.go.th/12Traditions/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บอร์ด ICH ขึ้นบัญชี 10 มรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม ‘งานนมัสการพระธาตุพนม-เสื่อกกจันทบูร-ผ้าหม้อห้อม-ตำนานสุบินกุมาร‘
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมครั้งที่ 3/2567 พิจารณาเห็นชอบให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
อาลัย ‘สันติ ลุนเผ่’ ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลังอมตะ ผู้ขับร้องเพลงปลุกใจรักชาติ
10 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พ.ศ.2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
สิ้น'สันติ ลุนเผ่' ศิลปินแห่งชาติ นักร้องเสียงทรงพลัง
นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยกองกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการประสานงานจากผู้ดูแลของเรือตรี สันติ ลุนเผ่ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2558 ว่า เรือตรี สันติ ลุนเผ่ ถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567
ฉลอง'ต้มยำกุ้ง' กระหึ่มโลก ชวนลองเมนูมรดกวัฒนธรรม
โด่งดังก้องโลกกับเมนูต้มยำกุ้งของดีเมืองไทย กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดงานฉลองต้มยำกุ้งและเคบายา มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ในโอกาสที่ ยูเนสโก ได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ต้มยำกุ้ง” (Tomyum Kung) และ “เคบายา” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List
ลุ้น'ต้มยำกุ้ง'ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม
3 ธ.ค.2567 - นายประสพ เรียงเงิน อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก จะประชุมพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนอาหาร “ต้มยำกุ้ง” ของประเทศไทย และชุด “เคบายา” เสนอโดยสิงคโปร์ ร่วมกับไทย มาเลเซีย อินโ
'หมูเด้ง' ซุปตาร์ดันวัฒนธรรมไทยสู่ระดับโลก
“หมูเด้ง”ซุปเปอร์สตาร์ฮิปโปแคระที่โด่งดังเป็นไวรัลทั่วโลกจากความน่ารักขี้เล่น สื่อต่างประเทศนำไปลงข่าว นิตยสาร TIME พาดหัวข่าวเป็นไอคอนไลฟ์สไตล์ที่กิน นอน และแอคชั่นดราม่า สร้างปรากฎการณ์หมูเด้ง ช่วยให้ยอดนักท่องเที่ยวเข้าชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี เพิ่มทวีคูณ