ประกวด'ผ้าลายสิริวชิราภรณ์'เฟ้นผลงานทรงคุณค่า

ผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทยและช่างทอผ้าสามารถสร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ฟันฝ่าเกณฑ์การตัดสินเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม รอบรองชนะเลิศ (Semi Final)  โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิด พร้อมด้วย น.ส.ธนนนท์ นิรามิษ ภริยา รองนายกฯ   โอกาสนี้ นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน คณะที่ปรึกษาและคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ 1 – 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันก่อน

คณะกรรมการพิจารณาตัดสินการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม รอบรองชนะเลิศ (Semi Final) ประกอบด้วย  ธีระพันธ์ วรรณรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (การออกแบบแฟชั่น) ปี 2562  นายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ทอผ้า) ปี 2564  ดร.ศรินดา จามรมาน ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยและที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก นายศิริชัย ทหรานนท์ เจ้าของแบรนด์ THEATRE ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายพลพัฒน์ อัศวะประภา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ASAVA นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ISSUE ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการและ รษก.แทนผู้อำนวยการสำนักวิชาการสร้างสรรค์ และ ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน อาจารย์ประจำหลักสูตรแฟชั่นสิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นายนุวัฒน์ พรมจันทึก ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้อมสีธรรมชาติ น.ส.เจนสุดา ปานโต นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ JANESUDA

เวทีประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม ตามโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทยและงานหัตถกรรม ประจำปี 2567 ในระหว่างวันที่ 24 สิงหาคมถึงวันที่ 21 กันยายน 2567 จัดโดยกรมการพัฒนาชุมชน โดยมีผู้ประกอบการโอทอป ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ส่งผลงานเข้าประกวด รอบตัดสิน ระดับภาค (Quarter Final) จากทั่วประเทศ  8,117 ผืน และงานหัตถกรรม 534 ชิ้นงาน คัดเลือกเหลือประเภทผ้า  334 ผืน และประเภทงานหัตถกรรม  21 ชิ้น และรอบรองชนะเลิศ ระดับประเทศ (Semi Final) คัดเลือกเหลือประเภทผ้า  175 ผืน และ ประเภทงานหัตถกรรม เหลือ 10 ชิ้น

ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบตัดสิน ระดับประเทศ (Final) ประเภทผ้า  72 ผืน และประเภทงานหัตถกรรม 6 ชิ้น ดังนี้ 1. ภาคกลาง ประเภทผ้า  9 ชิ้น ประเภทงานหัตถกรรม 4 ชิ้น 2. ภาคเหนือ ประเภทผ้า  13 ชิ้น ประเภทงานหัตถกรรม  1 ชิ้น 3. ภาคใต้ ประเภทผ้า 9 ชิ้น ประเภทงานหัตถกรรม  1 ชิ้น 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเภทผ้า  41 ชิ้น  รวมทั้งสิ้น 78 ผลงาน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า นับเป็นพระกรุณาธิคุณต่อช่างทอผ้าและงานหัตถกรรมที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงออกแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” ซึ่งมีความหมายแสดงออกอย่างชัดเจนว่า พระองค์ท่านและพสกนิกรไทยต่างมีความจงรักภักดีที่จะถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และทรงพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” ให้เป็นต้นแบบแก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ช่างทอผ้า และงานหัตถกรรม ได้พัฒนาฝีมือการทอผ้าในทุกเทคนิค ให้มีคุณภาพ มีความหลากหลาย และประยุกต์รูปแบบลวดลายสีสันที่ร่วมสมัย โดยนำสิ่งรอบตัวจากธรรมชาติมาผสมผสาน แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการใช้สีธรรมชาติ การส่งเสริมเรื่องการตลาดในการเพิ่มเรื่องเล่า Story -2- Telling การพัฒนารูปแบบ Packaging และการใช้วัสดุจากท้องถิ่น การใช้เส้นไหมเส้นฝ้ายที่มาจากธรรมชาติ ด้วยพระอัจฉริยภาพดังกล่าวเกิดเป็น Sustainable Fashion หรือ “แฟชั่นแห่งความยั่งยืน”

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า มท. โดยกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการจัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” มุ่งส่งเสริมให้คนไทยทุกคนได้สวมใส่ผ้าไทยในหลากหลายรูปแบบ มีความทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัย ทุกโอกาส ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายผ่านการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” และงานหัตถกรรม ตลอดทั้งเพื่อเชิดชูเกียรติแก่ผู้สืบทอดภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถกรรมที่ทุ่มเทกำลังและความคิดเพื่อนำลายผ้าพระราชทานมาออกแบบควบคู่กับลวดลายดั้งเดิมและลวดลายที่เกิดจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากวิธีคิดและจินตนาการอันสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการและช่างทอผ้าจนเกิดเป็นผลงานทรงคุณค่าระดับประเทศ

ทั้งนี้ ผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจะเข้าไปชิงชัยในรอบตัดสิน ระดับประเทศ ( Final ) ในวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานในการตัดสิน ณ สุราลัย ฮอลล์ ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' ชี้ 'นายกฯอิ๊งค์' นัดดินเนอร์ แค่เตรียมข้อมูลซักฟอก ปัดกังวลเสียง ภท.

'อนุทิน' เชื่อ 'นายกฯอิ๊งค์' นัดดินเนอร์ 21 มี.ค. เตรียมข้อมูลก่อนศึกซักฟอก ไม่ใช่กังวลคะแนนเสียง ยันพรรคร่วมยึดกติกาอยู่แล้ว

‘อิ๊งค์’ ปัดไม่มีล็อบบี้ประธานสภาฯเอาชื่อพ่อออก

“อิ๊งค์” แจง คุยภท.เรื่องปกติ เล็งนัดรองนายกฯพรรคอื่นคุยเพิ่ม ยัน แดง-น้ำเงินไม่ขัดแย้ง แค่เห็นไม่ตรงกัน ปัดไม่มีล็อบบี้ประธานสภาฯ เอาชื่อพ่อออก แต่ชี้ ไม่ควรมีชื่อคนนอก

'ภูมิธรรม' ส่งสัญญาณเคาะรับ 'ฮั้วเลือก สว.' คดีพิเศษ ยันข้อมูลชัด

'ภูมิธรรม' หัวโต๊ะ กคพ. ถกเคาะรับคดีฮั้วเลือก สว. ยันมีข้อมูลขัดเจนหลายอย่าง ไม่ใช่กลั่นแกล้งการเมือง ปัดเคลียร์ใจ 'ภูมิใจไทย' ย้ำทำตามหน้าที่

'อนุทิน' สยบ 'พท.-ภท.' แตกหัก ปัดนัด 'เนวิน' เคลียร์ใจ 'ทักษิณ' มั่นใจบิ๊กเกรียงเอาอยู่

'อนุทิน' โต้ 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' แตกหัก ปัดนัด 'เนวิน' เคลียร์ใจ 'ทักษิณ-อิ๊งค์' เย็นนี้ ห้ามถามปมฮั้วเลือก สว. มั่นใจ 'บิ๊กเกรียง' เอาอยู่ เมินสมการดึง ปชน. เสียบแทน ภท.

'ประเสริฐ' ปัดเกมไล่ทุบ 'ภูมิใจไทย' แค่จังหวะพอดี ดินเนอร์มีคุยหลายเรื่อง

'ประเสริฐ' ขออย่ามองเกมการเมืองไล่ทุบ 'ภูมิใจไทย' อาจเป็นจังหวะพอดี ย้ำมั่นใจรัฐบาลอยู่ครบวาระ เชื่อดินเนอร์พรรคร่วมมีคุยหลายเรื่อง

เอ๊ะยังไง! 'ภูมิธรรม' ชี้ไม่ใช่เป็นรัฐบาลแล้วช่วยกันปกปิด ปมสอบสนามกอล์ฟ 'อนุทิน'

'ภูมิธรรม' ปัดรอยร้าวรัฐบาล หลัง 'อนุทิน' โดนตรวจสอบสนามกอล์ฟเขาใหญ่ ชี้เรื่องไหนคนสงสัยต้องเช็ก ไม่ใช่เป็นรัฐบาลแล้วช่วยกันปกปิด มีข้อมูลต้องแจงสังคมได้ ย้ำดินเนอร์พรรคร่วมไม่ถึงขั้นเคลียร์ใจ