9 ปีศาสตร์พระราชา'โคก หนอง นา โมเดล'

ย้อนไปเมื่อ 9ปีก่อน คำว่า “โคก หนอง นา” ได้เริ่มปรากฎขึ้นตามหลัง ศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นทฤษฎีการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่  9 ที่ทรงพระราชทานให้กับคนไทย ยึดเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพ


โดยมีดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ”อาจารย์ยักษ์” ผู้ก่อตั้งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ  ซึ่งเคยถวายงานในหลวง ร.9 มาก่อน เป็นผู้ลุกขึ้นมา ปลุกให้สังคมตื่นตัว ทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง และจัดผังการเกษตรแบบ “โคก หนอง นา ” ซึ่งจะแก้”ปัญหาน้ำ”ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยทุกปี ทั้งการเกิดน้ำท่วม และเกิดน้ำแล้ง วนเวียนไม่รู้จบ

อ.ยักษ์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร

อาจารย์ยักษ์ ได้เปิดตัว ศาสตร์พระราชา โคกหนองนา โมเดล  พื้นที่แถบเขื่อนป่าสัก จ.ลพบุรี โดยระบุว่าเป็นการใช้พลังคนสร้างสรรค์โลก ตามรอยพ่อของแผ่นดิน  และการปักหมุดที่พื้นที่เขื่อนป่าสัก ก็เพราะมองว่าเป็นหัวใจหลักของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคนกรุงเทพฯ เคยเผชิญน้ำท่วมใหญ่ ที่เรียกว่ามหาอุทกภัยเมื่อปี 2554มาแล้ว   หากมีการบริหารจัดการน้ำแถบลุ่มน้ำป่าสักให้ดี ก็จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้กับชุมชนตามเส้นทางของแม่น้ำ และคนกรุงก็จะได้ประโยชน์ไม่เผชิญกับปัญหาน้ำท่วม


การขับเคลื่อนวิถีทางเกษตร โคกหนองนาโมเดล ตามศาสตร์พระราชา ของอาจารย์ยักษ์ ได้มี บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด ก ประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนหลัก ในแต่ละปี จะมีกิจกรรมอีเว้นท์ ที่เรียกว่า “เอามื้อสามัคคี” หรือการลงแขก ซึ่งเป็นวิธีการทำเกษตรดั้งเดิมของไทย ตามพื้นที่ต่างๆในประเทศไทย เป็นการรณรงค์เพื่อให้คนรู้จักการทำเกษตรตามแบบเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้น  


โดยโครงการได้สร้างพื้นที่ตัวอย่างมากมายหลายแห่ง ซึ่งล้วนเคยประสบปัญหาทำการเกษตร ขาดน้ำ หรือน้ำท่วม จนพลิกฟื้นกลับมาเป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์สามารถปลูกข้าวหรือพืชผัก นำมาเลี้ยงชีพ และขายได้อย่างพอเพียง หรือบางพื้นที่ ก็เป็นการเปลี่ยนวิถีการเกษตร จากเคมี ให้เป็นเกษตรอินทรีย์  ซึ่งมีผลดีต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม


ในช่วง ประมาณปีที่ 6-8 ของโครงการ ถือว่าได้รับการตอบรับจากสังคมอย่างมาก แทบไม่มีคนไม่รู้จัก หรือไม่เคยได้ยินชื่อของ “โคก หนอง นา โมเดล “โดยมีผู้คนค้นหาคำนี้ในโลกโซเชียลมากมาย ขณะที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)ซึ่งเข้ามาร่วมโครงการ รับหน้าที่ออกแบบโคกหนองนา ให้กับผู้สนใจ ซึ่งแต่ละรายอาจมีขนาด และรูปทรงของพื้นที่หลากหลายแตกต่างกัน  จนมีงานล้นมือ ออกแบบแทบไม่ทัน  

ภาพรวมก็คือ สังคมตอบรับและตื่นตัวกับ โคกหนองนา โมเดลอย่างมาก ถึงกับมีธุรกิจรับขุด รับทำโคกหนองนา เกิดขึ้น แม้กระทั่งมีการหลอกลวง โดยในเพจของสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงได้ออกคำเตือนว่าถ้ามีการเรียกเก็บเงินการทำ โคกหนองนา โดยอ้างชื่อของมูลนิธิฯถือว่าเป็นการหลอกลวง

ปี2565 เป็นปีที่9 ของโครงการรวมพลังสร้างสรรค์ ตามรอยพ่อของแผ่นดิน  โคกหนองนา โมเดล เอามื้อสามัคคี มีจุดที่ถือว่าเป็น”รอยต่อ”ของโครงการ เมื่อบริษัทเชฟรอน ฯ ผู้สนับสนุนหลัก อาจจะถอนตัวออกไป  และอาจมีผู้สนับสนุนรายอื่นเข้ามาทำหน้าที่แทน 
การเข้ามาสนับสนุนโครงการของ “เชฟรอน” คือการสะท้อนในความเชื่อมั่นและศรัทธาในศาสตร์พระราชา  ทำให้มีการสนับสนุนยาวนานถึง  9 ปี โครงการประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน อย่างไร  อาทิตย์ กริชพิพรรธ  ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด กล่าวว่า โครงการฯ พลังคนสร้างสรรค์โลกฯ ที่ดำเนินมา 9 ปี ถือว่าประสบความสำเร็จที่ทำให้การทำกสิกรรมธรรมชาติวิถี ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป มีคนสนใจและต้องการการเรียนรู้เรื่องนี้ตลอดเวลา

อาทิตย์ กริชพิธรรธ

แม้แต่ในช่วงโควิด 19  ทาวโครงการฯได้มีการจัดทบทเรียนออนไลน์ คู่มือสู่วิถี กสิกรรมธรรมชาติ ในช่วงโควิด19 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นคู่มือความรู้พื้นฐานแก่ผู้สนใจลงมือทำการเกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพราะการทำเกษตรตามศาสตร์พระราชาเป็นสิ่งที่ทำแล้วจะเห็นผลสำเร็จในอนาคต แต่ระหว่างทางก็พบเจอปัญหา   เพราะมีหลายคนที่เข้าใจผิดว่าทำแล้วรวย ทำให้เกิดเกษตรกรตาโต หรือ เกษตรกรที่ทำเพราะหวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว รายได้กลายเป็นความโลภ เช่น ลงทุนทำในพื้นที่ใหญ่เกิน ซึ่งมีความเสี่ยงสูง หากไม่เข้าใจมากพอ คือการใจร้อน ต้องเรียนรู้พร้อมกับลงมือทำ และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีการเช่าพื้นที่ทำเกษตรอยู่ ทั้งที่จริงการทำกสิกรรมวิถี คือการทำเกษตรแบบพอเพียง พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ถ้าเปรียบการทำเกษตรเหมือนการทำธุรกิจ คือ การลดค่าใช้จ่าย และสิ่งที่จะได้กลับคืนมาคือกำไร  

“ทั้งนี้ “เชฟรอน” ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังสุดความสามารถ โครงการฯสามารถเดินหน้าและเชื่อมั่นว่าแนวทาง โคก หนอง นา จะสามารถดำรงอยู่ได้จากผลของความสำเร็จที่เกษตรกรได้เกิดเครือข่าย ได้ร่วมทำตลอด 9 ปีที่ผ่านมา จะส่งผลให้เกษตรกรรายอื่นๆ ได้เกิดการตื่นตัวและปรับตัวอย่างเต็มใจในการเรียนรู้วิถีของศาสตร์พระราชาอย่างแท้จริง “อาทิตย์กล่าว

” เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถี” ด้วยศรัทธา ของคนไม่เคยทำเกษตร

เมื่อต้นเดือนมกราคม บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จัดกิจกรรมเอามื้อ ณ จังหวัดนครราชสีมา ลุ่มน้ำป่าสัก ในพื้นที่ของสุณิตา เหวนอก เจ้าของเสงี่ยมคำกสิกรรมวิถี ต.จักราช อ.จักราช จ.นครราชสีมา ภายใต้โครงการพลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน (ตามรอยพ่อฯ) เข้าสู่ปีที่ 9  

 ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ที่รั้งตำแหน่งนายกสมาคมดินโลก และผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า การทำเกษตรแบบโคก หนอง นา ตามศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น พราะในโคก หนอง นา จะมีป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง นับเป็นเครื่องมือสร้างสมดุลของระบบนิเวศในพื้นที่ นำมาสู่ความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในน้ำ ใต้ดิน บนดิน หรือในป่า ทำให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาภัยพิบัติได้อย่างยั่งยืน ยังช่วยให้มีอาหารการกินสมบูรณ์ เกิดความมั่นคงทางอาหารด้วย ทั้งนี้การทำกสิกรรมวิถีให้ประสบความสำเร็จ คือ 1.มีความเชื่อมั่นในแนวทางกสิกรรมวิถีอย่างมีปัญญาและเข้าใจ 2.สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆได้ พร้อมเปิดรับการเรียนรู้ การทำงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดผลและสามารถนำไปต่อยอดได้ 3.มีความมุ่งมั่นในการลงมือทำอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะจะทำให้ประสบความสำเร็จ และได้เห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำมาอย่างสม่ำเสมอ

เอามื้อ ด้วยขุดปรับหน้าดินเพื่อการเพาะปลูก

บุญล้อม เต้าแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนล้อมศรีรินทร์ กล่าวเสริมว่า นครราชสีมาเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคอีสาน มีพื้นที่ป่าเขาและพื้นที่เกษตรจำนวนมาก เป็นแหล่งรวมลุ่มน้ำสำคัญ 3 ลุ่ม คือ ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำชี และทางทิศตะวันตกมีพื้นที่บางส่วนที่ไหลไปลงใน ลุ่มน้ำป่าสัก  เนื่องจากเป็นจังหวัดใหญ่มีประชากรมากมีความต้องการน้ำสูง ประกอบกับมีภัยแล้งบ่อยครั้ง ซึ่งในพื้นที่ของสุณิตา เหวนอก เป็นพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในโคราช เพราะได้พิสูจน์ว่าแม้ว่าสภาพที่ดินจะเป็นดินทราย แต่ก็สามารถทำเกษตรได้ โดยมีการปรับปรุงหน้าดิน เช่นการปลูกหญ้าแฝก การขุดคลองไส้ไก่ มีคลองในการกักเก็บน้ำ เป็นต้น ดังนั้นศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตใด ทั้งภัยแล้ง อุทกภัย หรือภัยจากโรคระบาด

สุณิตา เหวนอก

เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถี บ้านหนองบัวกลาง ต.จักราช อ.จักราช จ.นครราชสีมา แบ่งพื้นที่มาทำเกษตรตามศาสตร์พระราชาขนาด 6 ไร่  สุณิตา เหวนอก หรือพี่นวล เจ้าของพื้นที่ เล่าว่า ที่ผ่านมาครอบครัวจะทำเกษตรเชิงเดี่ยวปลูกอ้อย  ตนทำงานเป็นนิติกรในอ.จักราช ที่ดินที่พ่อแม่ยกให้ก็ปล่อยให้เช่า หลังจากที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคต และได้ดูรายการสารคดีโทรทัศน์ แสงจากพ่อสู่ความยั่งยืน จึงได้เข้าร่วมทำเกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชาทั้งที่ศูนย์ภูมิรักษ์ฯ อบรมออกแบบโคก หนอง นา โมเดลที่วัดหนองสองห้อง อบรมที่ศูนย์คืนป่าสัก แล้วตัดสินใจลงมือทำบนที่ดินของตนเองในปี 2563  แม้ว่าทางครอบครัวจะไม่เห็นด้วย และไร่รอบข้างก็ยังไม่มีใคราสนใจการทำกสิกรรมวิถี แต่เราทำอย่างมีความสุขและเชื่อมั่นว่า สิ่งที่ทำจะทำให้ครอบครัวได้กินอาหารที่ปลอดภัย ครอบครัวจึงเริ่มเห็นถึงความพยายาม และเริ่มเข้ามามีส่วนในการช่วยดูแลหรือปลูกพืชผักช่วย ซึ่งถือว่าดีมาก และในอนาคตเกษตรกรระแวกอาจจะให้ความสนใจที่จะเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรได้ในอนาคต

ในพื้นที่ 6 ไร่ แบ่งเป็นหนองน้ำ 2ไร่ ลึกประมาณ 6 เมตร, ทำนา 1.5 ไร่, คลองไส้ไก่ยาวประมาณ 2.38 เมตร กว้าง 1.2 เมตร และโคก 1 ไร่ ซึ่งรวมแล้วสามารถเก็บน้ำได้กว่า 20,000 ลบ.ม. หรือประมาณ 200% ของปริมาณน้ำฝนต่อปี นอกจากนี้ในสวนยังมีการเลี้ยงเป็ดไข่เป็ดเนื้อ เผาถ่านใช้เองจากกิ่งไม้ในสวน ควันสามารถไล่มดแมลง ขี้เถ้าเอาไปทำน้ำด่าง เศษถ่ายโรยใสต้นไม้ มีการทำเครื่องกรองน้ำแบบโบราณ จากการใช้หิน ถ่าน ทราย จนน้ำสะอาด ผักผลไม้ ที่เติบโตในสวนเราก็ให้ครอบครัวหรือเเพื่อนบ้านได้ทาน และยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นสบู่ ยาสระผมทำมาจากฟักข้าว ไข่เค็ม ชาตระไคร้ เป็นต้น ถึงตอนนี้จะยังไม่มีรายได้เข้ามา แต่ทุกอย่างที่ลงมือทำคือความสุขแบบพอเพียง


ด้านอาทิตย์ กริชพิพรรธ  ผู้บริหารจากเชฟรอน กล่าวว่า หลังจากจากที่ได้ชะลอการจัดกิจกรรมออนกราวด์ถึงกว่า 1 ปีเต็ม ปีนี้เมื่อสามารถจัดกิจกรรมได้จึงได้เลือกลงพื้นที่ทำกิจกรรมเอามื้อ ที่จ.นครราชสีมา ลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการตามรอยพ่อฯ เมื่อ 9 ปีที่แล้วอีกครั้ง ในพื้นที่เสงี่ยมคำกสิกรรมวิถีของสุณิตา เหวนอก หนึ่งในคนต้นแบบ คนหัวไวใจสู้ ผู้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่ของตนเองตามแนวทางศาสตร์พระราชาเพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรในพื้นที่และคนรุ่นลูกหลานในอนาคต

ผลผลิตธรรมชาติจากไร่เสงี่ยมคำฯ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เริ่มแล้ว! 'งานสังคมสุขใจ' ครั้งที่ 9 งานเดียวเที่ยวได้ทั้งครอบครัว สายออร์แกนิกห้ามพลาด

หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานพิธีเปิดงานสังคมสุขใจ กล่าวว่า จากที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ “Carbon Neutrality” ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

มูลนิธิสังคมสุขใจ ชวนเที่ยวงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9 ที่สวนสามพราน 26-28 ม.ค.นี้

มูลนิธิสังคมสุขใจ เปิดเวทีเสวนา หัวข้อ “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์” ชวนภาคีภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมผลักดันประเทศไทยพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ทั้งด้านสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม

เตรียมพร้อม! งานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9 สวนสามพรานรวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ 26-28 ม.ค.นี้

มูลนิธิสังคมสุขใจ ผนึกกำลังภาคี เตรียมจัดงานสังคมสุขใจ ครั้งที่ 9 ชูคอนเซ็ปต์ “รวมพลังขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์” ตอบโจทย์เทรนด์โลกสายกรีน 26 – 28 ม.ค.นี้ ณ สวนสามพราน จ.นครปฐม เข้างานฟรี!!

ชาวบ้านง้างปาก 'ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด' ปกป้องผืนดินข้าวหอมมะลิโลก หรือประเคนที่นายทุนอ้อย

เครือข่ายคนฮักทุุ่งกุลา โยนโจทย์ใหญ่ ผู้ว่าฯร้อยเอ็ด ปกป้องผืนดินข้าวหอมมะลิโลก หรือปล่อยผืนดินทุ่งกุลาเปลี่ยนเป็นไร่อ้อยเกือบ 3 แสนไร่

ถึงเวลาพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืนให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ

จากเคมีสู่เกษตรอินทรีย์ WALHI องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซีย เผยกรณีศึกษาโรงเรียนสอนปลูกกาแฟภาคสนาม (Coffee Field School) กับการทำเกษตรอินทรีย์ที่ช่วยพลิกฟื้นวิถีชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ

'ด้อมส้มวัยดึก' ดิ้นพล่าน! แขวะโคกหนองนาขึ้นเวทียูเอ็น อ้างข้อมูลสุดมั่วหวังด้อยค่า

นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวทางการเมือง อดีตผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Somyot Pruksakasemsuk ว่า เศรษฐา ทวีสิน ไปประชุมระหว่าง 18-26 กย.ที่นิวยอร์ค โดยจะเสนอเรื่องโคกหนองนาเป็นความภูมิใจในเรื่องลดโลกร้อนแต่โคกหนองนา