ไม่ใช่น้ำท่วมโดยธรรมชาติ 'ปลอดประสพ' เฉลยแล้วน้ำท่วมวันนี้ใครทำ?

11 ก.ย.2565 - ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี แกนนำพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเกี่ยวกับน้ำท่วม โดยมีรายละเอียดดังนี้

น้ำท่วมวันนี้ใครทำ

ก่อนอื่นก็ต้องแสดงความเห็นใจชาวจังหวัดปทุมธานีฝั่งตะวันออกหรือฝั่งรังสิตที่เกิดน้ำท่วมแบบที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาได้ ผมได้หารือผู้เชี่ยวชาญหลายท่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ อนุกูลอำไพ ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาเรื่องน้ำของผม และก็เคยเป็นที่ปรึกษาในรัฐบาลก่อนๆมาแล้ว

เพื่อให้ง่าย ผมขอยกความเห็น ดร.อภิชาติ ดังนี้ “ระยะนี้รัฐบาลและหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องน้ำกำลังวิตกจริตกลัวซ้ำรอยปี 54 ที่ไปอ้างคำสั่งทางการเมืองของรัฐบาลเดิมที่ให้เก็บน้ำไว้ในเขื่อนจนมากเกินไป ก่อนช่วงฝนตกหนักน้ำในเขื่อนใหญ่มีน้ำอยู่ถึง 80% ดังนั้นพอฝนตกหนักในเดือนกันยายนปี 54 รัฐบาลใหม่ซึ่งเพิ่งทำหน้าที่จึงต้องยอมให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตปล่อยน้ำส่วนเกินออกจากเขื่อน แต่ในปัจจุบันน้ำในเขื่อนมีเพียง 50% เลยไม่เข้าใจว่า ทำไมรัฐบาลและคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติจึงต้องเร่งระบายน้ำลงมาโดยเฉพาะจากเขื่อนป่าสักจนท่วมทุ่งรังสิตและบ้านเรือนแถวดอนเมือง ทั้งๆที่บริบทของปริมาณนำ้ต่างกับปี 54 อย่างสิ้นเชิง ช่วงนี้มีแต่ฝนเท่านั้น ไม่ได้มีน้ำมากมายไหลลงมาจากทางเหนือ แต่รัฐบาลกลับนำน้ำมาท่วมเสียเอง” ผมจึงมีคำถามในเรื่องนี้ว่า ใครเป็นคนสั่งให้ระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักและน้ำจากแม่น้ำนครนายกมาลงทุ่งรังสิต มีจุดหมายทางการเมืองอะไรหรือไม่ และการย้ายเครื่องสูบน้ำจากเขื่อนที่คลองรังสิตถึง 10 เครื่องเพื่อจะเอาไปใช้ที่ใด มีความจูงใจทางการเมืองหรือเปล่า

เรื่องต่อไปที่ทำให้การระบายน้ำจากทิศเหนือและทิศตะวันออกของกทม. มีอุปสรรคมากขึ้นก็เพราะรัฐบาลนี้ต้องการแก้ปัญหาทางสังคมในเรื่องการบุกรุกคูคลองแบบมักง่าย คือการถมตลิ่งทำเขื่อนและก่อสร้างอาคารริมคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากรให้กับผู้บุกรุก ซึ่งพวกท่านชื่นชมและเรียกว่า mission impossible ผลที่ตามมาก็คือ คลองเล็กลง สิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำ การระบายน้ำทำได้ช้า สุดท้ายน้ำก็ท่วมโซนทางเหนือของกรุงเทพฯอย่างที่เป็นอยู่ วันนี้ยังไม่สายเกินไป รัฐบาล(รักษาการ)ต้องทบทวนเรื่องนี้โดยด่วน และหากเลิกส่วนไหนได้ก็ต้องเลิก อย่าทิ้งให้เป็นปัญหาของรัฐบาลต่อๆไป

ในภาพกว้าง ผมก็ขอย้ำอีกครั้งต่อหน่วยราชการทั้งหลายว่า อย่าต่างคนต่างทำ เช่น กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทก็ยกถนนให้สูงพ้นน้ำ ขณะที่กรมโยธาธิการก็ทำเขื่อนกั้นน้ำ ฝ่ายทหารก็ขุดลำน้ำแล้วก็เอาดินไปกองไว้ข้างๆซึ่งสุดท้ายก็ไหลกลับลงมาอีก (สมัยหนุ่มๆ ผมเป็นหัวหน้าแผนกช่าง และหัวหน้าแผนกบูรณะแหล่งน้ำ ผมสั่งไม่ให้ทำแบบนี้เด็ดขาด) ขอให้จำไว้ “น้ำต้องมีที่อยู่ ที่ไป” คำๆนี้ใช้ปฎิบัติเป็นบทบัญญัติ (Doctrin) มานานนับ 1000 ปีแล้ว ภาษาโรมันเขียนว่า “ Room for the River” ซึ่งผมจำได้ว่า พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเน้นเรื่องนี้เสมอ

ขณะนี้ผมเห็นว่า การบริหารจัดการการระบายน้ำเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมของภาคกลางตอนล่างรวมถึงกทม. ล้มเหลว เรายังต้องเผชิญกับน้ำฝนต่อไปอีก 1-2 เดือน ดังนั้น จึงขอให้ผู้บริหารของประเทศได้ทบทวนนโยบายและมาตรการต่างๆโดยด่วน วันนี้การบริหารจัดการน้ำทำให้น้ำท่วม ไม่ใช่น้ำท่วมโดยธรรมชาติแต่อย่างใด (ผู้ว่าหมูป่า จังหวัดปทุมธานีก็ประกาศยอมรับแล้ว)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

น้ำท่วมเบตง ฝนตกหนักน้ำป่าทะลักเขตเทศบาล เฝ้าระวังดินโคลนถล่มในช่วง 1-2 วันนี้

ฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ทำให้บ้านเรือนชาวบ้านถูกน้ำท่วมขังในพื้นที่ราบลุ่ม เตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ให้ประชาชนติดตามสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิดในช่วง 1-2 วันนี้

ทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด 'พายุฤดูร้อน' ถล่ม 26-29 มี.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

โพลเผยคนไทยหนุนศึกษาวิจัยรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ!

คนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะมีการวิจัยเรื่องภัยพิบัติเพื่อให้เตรียมความพร้อมรับมือให้ดี มองเรื่องอากาศเป็นเรื่องด่วนที่สุด ส่วนเรื่องสึนามิรั้งบ๊วย!

กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เตือนระวังพายุฤดูร้อน 26-27 มี.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุว่า ในช่วงวันที่ 21-25 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉี

ขบ. เปิดยอดชำระภาษีรถเดือน ก.พ. ในพื้นที่กรุงเทพฯ พุ่งกว่า 5.9 แสนคัน

ขนส่งฯ เปิดตัวเลขยอดผู้ชำระภาษีรถประจำปีกรุงเทพฯ เดือน ก.พ.66 กว่า 5.9 แสนคัน 836 ล้านบาท แนะรถยนต์อายุใช้งานเกิน 7 ปี รถ จยย. ใช้งานเกิน 5 ปี นำรถเข้าตรวจสภาพก่อนชำระภาษีล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax