ไทยเสนอ 4 แนวทางส่งเสริมการพัฒนา เวทีประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 25

11 พ.ย.2565 - เวลา 14.00 น. ณ กรุงพนมเปญ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 25 โดยเป็นการประชุมแบบเต็มคณะ (plenary) โดยมีสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโชฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานการประชุม มีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ (เมียนมาไม่เข้าร่วม) นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน และเลขาธิการอาเซียน เข้าร่วมการประชุม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความร่วมมือระหว่างกัน กำหนดทิศทางความสัมพันธ์อาเซียน-จีน และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกระเทศร่วมกัน ในโอกาสนี้ นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี ดังนี้

นายกรัฐมนตรีต้อนรับท่านนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ยินดีต่อความสำเร็จในการจัดการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 และขอชื่นชมในผลงานของคณะกรรมการกลางของพรรคฯ สมัยที่ 19 นำจีนสู่การเป็น “ประเทศมหาอำนาจที่มีความรับผิดชอบ” เชื่อว่าบทบาทที่สร้างสรรค์และแข็งขันของจีนท่ามกลางความท้าทายใหม่ ๆ ได้ช่วยขับเคลื่อนความสัมพันธ์อาเซียน-จีนให้มีพลวัตและครอบคลุม โดยเฉพาะเป็นปีแรกของ “ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน” ความเป็นหุ้นส่วนของเราจะเติบโตบนพื้นฐานของหลักการเรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ความเคารพซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน

นายกรัฐมนตรีได้นำเสนอแนวทาง 4 ประการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของภูมิภาคที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ดังนี้

1.ไทยสนับสนุนการเสริมสร้างหุ้นส่วนที่เข้มแข็งในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สันติภาพความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรือง การพัฒนาที่ยั่งยืน และมิตรภาพ สอดคล้องกับข้อเสนอ 5 ประการของประธานาธิบดีจีน ยึดมั่นต่อพหุภาคีนิยม ภูมิภาคนิยม ความเป็นแกนกลางของอาเซียน และสถาปัตยกรรมภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นแกนกลาง เพื่อก้าวเดินไปสู่ “อนาคตร่วมกัน” ไทยมุ่งหวังที่จะให้การสอดประสานความร่วมมือระหว่าง AOIP กับข้อริเริ่ม BRI ของจีน นำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

2. มุ่งเน้นแนวทางการพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งลดช่องว่างด้านการพัฒนา โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ข้อริเริ่มการพัฒนาแห่งโลก หรือ Global Development Initiative GDI ของจีน ยึดหลักการของการมีส่วนร่วม การพัฒนาร่วมกัน และการเสริมสร้างหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ไทยชื่นชมความมุ่งมั่นของจีนในการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมภายใต้ GDI รวมถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาแห่งโลกและความร่วมมือใต้-ใต้

3. แสวงหาแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน ไทยมีนโยบายพลิกโฉมประเทศและปรับโครงสร้างไปสู่ “เศรษฐกิจใหม่” ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ ในฐานะที่อาเซียนและจีนเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของกันและกัน ไทยสนับสนุนการยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของ MSMEs และ start-ups ไทยส่งเสริมการลงทุนในเทคโนโลยีล้ำสมัยและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ควบคู่กับการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์บนพื้นฐานของหลักการร่วมกัน

4. เสถียรภาพและสันติภาพที่ยั่งยืน เป็นเงื่อนไขพื้นฐานสำหรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นตัวและการพัฒนาร่วมกัน ยินดีต่อวาระครบรอบ 20 ปีของ ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea : DOC) ตลอดจนยินดีที่การเจรจาจัดทำระเบียบปฏิบัติ (Code of Conduct : COC) มีความคืบหน้า และพร้อมที่จะร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้การจัดทำ COC ที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ แล้วเสร็จในโอกาสแรกที่สุด เพื่อให้ทะเลจีนใต้เป็นทะเลแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'อำนาจนอกระบบของทักษิณ'

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “อำนาจนอกระบบของทักษิณ" มีเนื้อหา ดังนี้

บี้ 'อิ๊งค์' ปกป้อง 'เอกนัฏ' ล่าไอ้โม่งลงขันเปลี่ยนตัว รมว.อุตสาหกรรม

24 ม.ค. 2568 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ปกป้อง เอกนัฏ" โดยระบุว่า ติดตามข่าวการตอบกระทู้ถามสด ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการปิดโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี จ.อุดรธานี ถึงการเลือกปฏิบัติในการรับซื้ออ้อยเผาของ นายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย รู้สึกตกใจกับคำตอบของนายเอกนัฏ ตอนหนึ่งในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่ามีการลงขันจำนวนเงิน 200- 300 ล้านบาท เพื่อย้ายนายเอกนัฎ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับการเมืองไทย ที่มีกลุ่มทุนอิทธิพลเหนือการเมือง ใช้เงินลงขันด้วยเงินหลักร้อยล้านบาท เพื่อเปลี่ยนตัวผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าหากเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ขอให้กำลังใจนายเอกนัฎ ในการต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง และควรจะเปิดเผยชื่อตัวการลงทุนย้ายนายเอกนัฎออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี หากไม่สามารถเปิดเผยชื่อต่อสังคมได้ ก็ควรนำเรื่องนี้ไปเรียนให้กับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจในการปรับคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ทราบว่ามีกลุ่มบุคคลหนึ่ง ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพลเหนือการเมือง สามารถใช้เงินทุนโยกย้ายเปลี่ยนแปลงผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ หากนางสาวแพทองธาร ยังเอาไม่อยู่ เพราะไม่มีอำนาจที่แท้จริง ก็ต้องนำเรื่องนี้ให้ถึงมือของนายทักษิณ ชินวัตร ผู้มีอำนาจทางการเมืองสูงสุด เป็นเจ้าของรัฐบาลตัวจริง และสามารถสั่งการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีได้แต่เพียงผู้เดียว ถ้าหากเรื่องนี้เป็นความจริง นางสาวแพทองธาร จะต้องปกป้องนายเอกนัฎ เพราะการดำเนินนโยบายห้ามไม่ให้โรงงานน้ำตาลรับซื้ออ้อยเผา เป็นมาตรการป้องกันมลพิษ PM 2.5 ตามนโยบายของนางสาวแพทองธาร แต่ถ้าเมื่อนายเอกนัฎได้ปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของนางสาวแพทองธารแล้ว แต่ไปสะดุดต่อ นางสาวแพทองธารในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จะต้องรับผิดชอบ และสืบหาตัวไอ้โม่งผู้อยู่เบื้องหลังการลงขัน เพื่อเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีอุตสาหกรรมให้ได้ ขอให้สังคมเรียกร้อง กดดันให้รัฐบาล เปิดโปงขบวนการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีออกมาให้สังคมรับรู้ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่ได้อยู่ภายใต้อิทธิพลกลุ่มทุนใดๆ ทั้งสิ้น.

'นายกฯอิ๊งค์' ขอบคุณผู้นำอาร์เมเนีย หนุนเริ่มต้นเจรจา FTA ไทย-ยูเรเชีย

'นายกฯอิ๊งค์' ขอบคุณผู้นำอาร์เมเนีย สนับสนุนเริ่มต้นเจรจา FTA ไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย พร้อมเพิ่มพูนการค้า ดึงศักยภาพ ศก. ร่วมกัน

'เท้ง' ลั่น 'อุ๊งอิ๊ง' ไปหาโอกาสใหม่ใน ตปท.ได้แต่ควรแก้ปัญหาในบ้านก่อน

'เท้ง' ชี้ 'นายกฯ' ไปหาโอกาสใหม่ต่างประเทศทำได้ แต่ควรแก้ปัญหาฝุ่นในไทยก่อน เชื่อ ปชช.เรียกร้อง-รอคอยอยู่ เผย 'ปชน.' เตรียมเสนอ มาตรการที่เป็นรูปธรรม หวังรัฐบาลรับไปดำเนินการ

นายกฯ ยินดีคู่รัก LGBTQIA+ สมรสถูกต้องตามกฎหมาย

นายกฯ แสดงความยินดีคู่รัก LGBTQIA+ สมรสถูกต้องตามกฎหมาย จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ สร้างความเท่าเทียมให้ทุกเพศ เคารพในความแตกต่างทั้งเพศสภาพ เพศวิถี เชื้อชาติ ศาสนา