ตั้งธงไว้แล้ว! 'จุลพันธ์' ไม่ประหลาดใจ ส.ว.เตะโด่งญัตติประชามติ ยกร่างรธน.ใหม่

แฟ้มภาพ

“จุลพันธ์” ไม่ประหลาดใจ รายงานส.ว. ตีตกญัตติประชามติ ยกร่าง รธน.ใหม่ โดยส.ส.ร. ชี้ ตั้งธงไว้ตั้งแต่ต้น เตรียมเดินหน้าเลือกตั้ง ขอเสียงปชช.ตัดสินอนาคตแก้รธน.

19 ก.พ.2566 – นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ฐานะผู้เสนอญัตติต่อสภาฯ ให้ส่งเรื่องไปยังครม. เพื่อออกเสียงประชามติต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน กล่าาวถึงกรณีที่วุฒิสภาเตรียมนัดประชุมเพื่อลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับญัตติฯ ดังกล่าวหรือไม่  ในวันที่  21 กุมภาพันธ์  ว่า ตนเองเพิ่งรับทราบว่าจะมีการลงมติในวันดังกล่าว อย่างไรก็ดีจากกรณีที่มีรายงานของกมธ. ที่มีนายสมชาย แสวงการ ส.ว. เป็นประธานซึ่งศึกษาประเด็น ให้ความเห็นคัดค้านการเห็นชอบนั้น เป็นประเด็นที่ถูกตั้งธงไว้อยู่แล้ว ตนเองไม่รู้สึกประหลาดใจ

เมื่อถามถึงบรรยากาศที่เข้าชี้แจงในกมธ.ดังกล่าวของ ส.ว.ในช่วงการศึกษาก่อนทำรายงานเป็นอย่างไร นายจุลพันธ์  กล่าวว่าตอนที่ไปชี้แจง มีความชัดเจนในความรู้สึกส่วนตัว คือ มีการเผชิญหน้าระหว่าง ส.ว. และ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งตนเองมองว่าประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำให้เกิดการประจันหน้ากัน และกระทบกระทั่งกัน และยิ่งใกล้เลือกตั้งทำให้เห็นภาพการกระทบกันที่รุนแรง แต่การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มองว่าเป็นช่องทางที่จะลดสถานการณ์ตึงเครียดในสังคมได้ เพื่อให้ประชาชนมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ

“การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ผ่านมามีเพียงฉบับเดียวที่ผ่านความเห็นชอบ คือ เรื่องของจำนวน ส.ส. เพราะผู้มีอำนาจอนุมัติ อีกทั้งเป็นสิ่งที่พรรคร่วมรัฐบาลเรียกร้อง แต่การออกแบบที่่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่การแก้ไขเพื่อประชาชน หรือทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย” นายจุลพันธ์ กล่าว

เมื่อถามว่าถ้าส.ว.โหวตตกญัตติดังกล่าวจะเดินหน้าอย่างไรต่อ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า หากส.ว.โหวตค้านถือว่ากลไกจบแล้ว เพราะตามกฎหมายประชามติระบุว่าต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หากให้สภาฯ เป็นผู้เสนอญัตติต้นเรื่อง เมื่อได้รับความเห็นชอบ อย่างเป็นเอกฉันท์ แต่ต้องส่งให้ส.ว.ลงมติด้วย หากส.ว.ไม่เห็นชอบญัตติต้องตกไป อย่างไรก็ดีจากนี้เราต้องเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง ใช้เสียงประชาชนเป็นตัวตัดสินอนาคต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รทสช.' ลั่นเห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทุกประการ!

'รวมไทยสร้างชาติ' ย้ำจุดยืนเดิมที่มั่นคงแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 ยันการทำประชามติ 3 ครั้งใช้งบมาก แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลและรัฐธรรมนูญ

ประธานสภาเตือนสติอย่าดันทุรังชงแก้ รธน.รอผลประชามติก่อน

'วันนอร์' ยันร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังนำเข้าพิจารณาไม่ได้ เหตุต้องมีการทำประชามติก่อน เตือนหากดันทุรังแล้วถูกยื่นตีความเสียเวลาเปล่าๆ

พรรคร่วมรัฐบาลเคาะ 'ทำประชามติ' 3 รอบ เข้า ครม. อังคารนี้

'ภูมิธรรม' คอนเฟิร์มทำประชามติ 3 ครั้ง เพื่อความปลอดภัย ชง ครม. อังคารนี้ คาดทำรอบแรกเดือน ส.ค. ซัดกลุ่มจ้องเคลื่อนไหวห้ามปชช.ใช้สิทธิ์ ปัดหารือหัวหน้าพรรคร่วมเรื่องนิรโทษกรรม

'โรม' เขย่ารัฐบาล ทำประชามติ 2 ครั้ง ไม่เปลืองงบฯ ปชช.แบกรับความสูญเสีย

“รังสิมันต์’ มอง ทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว เหตุทำ 3 ครั้ง เปลืองงบ-เสียเวลา เตือน หากทุกฝ่ายกลัวการตีความกฎหมาย คนแบกรับความสูญเสียคือ ปชช.  เรียกร้อง ‘วันนอร์’ รีบบรรจุวาระแก้รธน. เข้าสภาฯ

เดินหน้า ดิจิทัลวอลเล็ต เดิมพันสำคัญ รัฐบาลเพื่อไทย

หลังรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน อยู่ในสภาพชะงักงัน ไม่สามารถเดินหน้า”ดิจิทัลวอลเล็ต”ให้เป็นไปตามไทม์ไลน์เดิมที่เคยวางไว้คือ จะแจกเงินประชาชนคนละหนึ่งหมื่นบาท ได้ภายในวันที่ 1 พ.ค. 2567