ศาล รธน.สั่งส่งหลักฐานคดี 'ศักดิ์สยาม' เพิ่มแบบไม่กำหนดเส้นตาย!

ศาลรัฐธรรมนูญสั่งผู้เกี่ยวข้องส่งหลักฐานเพิ่มคดี 'ศักดิ์สยาม' ถือหุ้น 'บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น'

14 มิ.ย.2566 - ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีในคดีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 54 คน ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่านายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังคงไว้ซึ่งหุ้นส่วนและยังคงเป็นผู้ถือหุ้น และเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้นายศักดิ์สยามเข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วน เป็นการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 187 ประกอบพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตรา 4 (1) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายศักดิ์สยามที่สุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) หรือไม่ ประธานสภาจึงส่งคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 และศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว มีคำสั่งรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาวินิจฉัย และสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค. 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย โดยศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้บุคคลที่เกี่ยวข้องจัดส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมต่อศาลรัฐธรรมนูญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก.ก.ดักทางศาลรธน.หากไม่ขยายเวลาส่งคำชี้แจงคดียุบพรรค ถือว่าไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้

'ชัยธวัช' หวัง ศาลรธน.ขยายเวลาส่งคำชี้แจง 'คดียุบพรรค' พ้อ หากไม่ให้ ถือว่า 'ก้าวไกล' ไม่ได้รับโอกาสในการต่อสู้ในคดีโทษแรง พร้อม จี้ รัฐบาล ทบทวน คำถามประชามติ ให้ชัดเจน-เข้าใจง่าย บอก น่าเสียดาย หากตกไปตั้งแต่ทำรอบแรก

ไม่ใช่ศาล! เตือนนายกฯปรึกษากฤษฎีกาเรื่องคุณสมบัติ 'ทนายถุงขนม' อาจหลุดพร้อมกัน

กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการร้องเรียนให้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของ นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน

ศาลรธน. ไม่รับคำร้องขอวินิจฉัยอำนาจสภาฯแก้รัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับคำร้องของประธานรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256