'สุชาติ' ชิงปิดประชุมหนี 'สภาล่ม' เลื่อนลงมติร่างกฎหมาย 'ล้างมรดกบาป คสช.'

8 ธ.ค.2564 - ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)และคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ฉบับที่.... พ.ศ.....ตามที่นายจอน อึ๊งภากรณ์ กับภาคประชาชนอีก12,609 คน เป็นผู้เสนอ เพื่อขอให้ยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.และหัวหน้า คสช.ที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรี ภาพ สิทธิพลเมือง สิทธิการเมือง และสิทธิชุมชนของประชาชน โดยให้นำมาพิจารณาไปพร้อมกับร่างพ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคสช. ตามที่นายปิยบุตร แสงกนกนุล กับคณะเป็นผู้เสนอ เพราะมีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน

โดยนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน(ไอลอว์)ชี้แจงว่า เป็นเวลากว่า 5ปี ที่อยู่ภายใต้เผด็จการทหาร มีการออกคำสั่งและกฎหมายต่างๆ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐ มนตรี และรมว.กลาโหม ที่ไม่สามารถตรวจสอบคัดค้านได้ ประกาศคำสั่งเหล่านี้ เป็นอำนาจสูงสุดใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพประชาชน สื่อมวลชน แทบไม่มีอยู่เลย ขณะนี้เมื่อมีสภาฯจากการเลือกตั้งแล้ว จึงควรรื้อถอนมรดกคสช.ที่หมดยุคให้ตกไป หากสภาฯไม่ยกเลิก คำสั่งและประกาศเหล่านี้จะบังคับใช้ต่อไปได้จนชั่วลูกหลาน

ขณะที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า สนับสนุนการยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช.และหัวหน้า คสช.ที่ขัดหลักสิทธิมนุษยชน มีประกาศและคำสั่งคสช.ที่จะถูกยกเลิก 17 ฉบับอาทิ การห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5คน การเรียกบุคคลมารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. การควบคุมสื่อออนไลน์ การสนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง การจัดหาที่ดินเพื่อใช้ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ การยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 17ฉบับยังมีผลบังคับใช้อยู่ สิ่งแรกที่สภาฯควรทำคือ ขจัดมรดกรัฐประหาร ผลจากการรัฐประหารนำไปสู่การจับกุมแค่นัดกันมากินแซนด์วิช การจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน และส่งผลให้คนบางส่วนต้องลี้ภัย แม้กระทั่งตนมีคดีติดตัวจากคสช.หลายคดี ไม่รู้จะถูกเล่นงานออกจากตำแหน่งเมื่อใด ทราบว่า จะตีตกร่างกฎหมายฉบับนี้ จะใจดำไม่ผ่านกันจริงๆใช่ไหม หวังว่า ส.ส.ทุกคนช่วยกันยกเลิกคำสั่งประกาศเหล่านี้ออกจากทางตัน ไม่กลับไปสู่วัฏจักรการรัฐประหารเหมือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้หลังจากส.ส.อภิปรายแสดงความเห็นอย่างกว้างขวางนาน กว่า 4 ชั่วโมง จนกระทั่งเวลา 20.04 น. นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ประธานในที่ประชุม ได้ขอหารือว่าจะลงมติในวันเดียวกันนี้หรือเลื่อนไปครั้งหน้า นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พปชร. วิปรัฐบาล จะขอเลื่อนการลงมติออกไป ขณะที่นายพิจารณ์ เชาววัฒนพงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เสนอให้โหวตในวันเดียวกันนี้

ทำให้นายสุชาติได้กล่าวทีเล่นทีจริงว่า “ขออย่าพูดว่า รีบชิงปิดประชุมหนีประชุมล่ม” แล้วประธานในที่ประชุมได้กดออดเรียกสมาชิก นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นหารือว่า ดูเหมือน ส.ส.ไม่ครบองค์ประชุม นายสุชาติจึงกล่าวย้ำว่า “ นี่ไม่ใช่การชิงปิดประชุมหนีองค์ประชุมไม่ครบ”

จากนั้นนายสุชาติ ประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดการประชุมในเวลา 20.08 น. และให้ไปลงมติในสัปดาห์หน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เสรี' เผยมี 27 สว. อภิปรายรัฐบาล รับอาจไม่ดุเดือดเพราะไม่มีการลงมติ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึงการเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ของ ส.ว. ในวันที่ 25 มี.ค.ว่า จะมีผู้อภิปราย 27 คน ส่วนประเด็นที่จะอภิปราย จะยึดตามกรอบญัตติที่เคยยื่นไป