‘นิกร’ ลั่น รธน.ฉบับใหม่ ถอดบทเรียนจากปี 2540 ‘อ่อนตัว-แก้ง่าย’ เพื่อปชช.

‘นิกร’ ให้คำมั่น ทำ รธน.ฉบับใหม่ให้สำเร็จ ถอดบทเรียนจากปี 2540 อ่อนตัว-แก้ง่าย ให้ปชช. มีส่วนร่วม ย้ำข้อกังวล คนออกมาใช้สิทธิไม่เกินกึ่งหนึ่ง

10 ธ.ค.2566-ที่ลานประชาชน รัฐสภา ในการเสวนา ‘รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หน้าตาเป็นอย่างไร’ เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ นายนิกร จำนง  ในฐานะประธานอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน กล่าวถึงประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 ว่า ซึ่งถือว่าน่ายินดี เพราะมีส่วนร่วมจากประชาชนค่อนข้างมาก แต่ก็ประสบปัญหาตรงที่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวไม่ได้มีการแก้ไข อีกทั้งยังแก้ยาก ส่งผลให้ฝ่ายการเมืองมีอำนาจมากเกินไป ดังนั้น จึงเห็นว่าวันนี้ควรมีรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน

นายนิกร กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จึงต้องมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) พร้อมย้ำข้อเสนอว่า สัดส่วนของวุฒิสภาที่มีสิทธิออกเสียง ก็ทำให้แก้ยากอีก จึงเสนอว่าในครั้งนี้ควรใช้เสียงเพียง 2 ใน 3 เพื่อให้มีเพียงสภาผู้แทนราษฎรจับมือกัน ก็สามารถแก้รัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากทุกวันนี้โลกหมุนเร็ว ปัญหาของปี 2540 ก็อาจไม่ใช่ปัญหาของวันนี้ และปัญหาของวันนี้ก็คงไม่ใช่ปัญหาของ 10 ปีข้างหน้า

“ถ้าเราเขียนรัฐธรรมนูญไว้ให้มันอ่อนตัว แก้ไขได้ ประชาชนสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ในอนาคต รัฐธรรมนูญที่ถูกฉีกก็จะไม่มี เพราะเหตุที่รัฐธรรมนูญถูกฉีกก็เพราะแก้ไขยาก”  

นายนิกรงกล่าวว่า ประสบการณ์การจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ซึ่งรัฐบาลต้องมีสัญญากับประชาชนก่อน ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันนี้มีแล้วในคำแถลงนโยบาย คือ รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งแตกแยกในเรื่องรัฐธรรมนูญ ปี 2560 เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความประชาธิปไตยมากขึ้น ตีความได้ว่าเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน

อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะตั้งคณะทำงานเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยมี นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งในขณะนี้ได้รับฟังความเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มและทุกภูมิภาคแล้ว เหลือเพียงแต่สมาชิกรัฐสภา ซึ่งในวันที่ 13 ธ.ค. นี้ สมาชิกรัฐสภาจะทำแบบสอบถามความเห็นต่อประชามติ และในวันที่ 18-20 ธ.ค. นี้ จะรับฟังคำตอบ เพื่อสรุปความเห็นในวันที่ 22 ธ.ค. และวันที่ 25 ธ.ค. นายภูมิธรรม จะนัดประชุมคณะกรรมการฯ ชุดใหญ่ เพื่อหาข้อสรุป

จากนั้น ช่วงเดือน เม.ย. ก็จะเริ่มทำประชามติครั้งแรก หรือหากมีพรรคการเมืองเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความก่อน และวินิจฉัยว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็อาจจะเริ่มเร็วกว่านั้นได้ แต่ข้อที่เป็นห่วงคือ ประชาชนจะออกมาใช้สิทธิถึง 26 ล้านคนหรือไม่ และมีผู้เห็นชอบรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 13.5 ล้านคนหรือไม่ ตามระบบเสียงข้างมาก 2 ชั้น ซึ่งวันพรุ่งนี้ (11 ธ.ค.) ตนเองจะเดินทางไปสอบถามแนวทางกับสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการทำประชามติบ่อยครั้งมาก

“ทั้งหมดนี้ ผมพูดในนามผู้ปฏิบัติหน้าที่ว่าเราจะทำให้จนได้ ด้วยความตั้งใจ จริงใจเต็มที่ เพื่อให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเป็นรูปธรรม”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดชื่อ 18 กมธ.วิสามัญ แก้ข้อบังคับประชุมรัฐสภา 'สว.พันธุ์ใหม่' ได้ 1 ที่

จากที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 415 เสียง ไม่เห็นด้วย 185 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรรับหลักการแห่งร่างข้อบังคับการประชุม ฉบับที่ ... พ.ศ. ... จากนั้นตั้ง กมธ.วิสามัญ จำนวน 18 คน โดยแบ่งเป็นสส.13 คน สว. 5 คน 

รัฐสภารับหลักการแก้ข้อบังคับฯ เปิดทางคนนอกร่วมแก้รธน. 'หมออ๋อง' คัมแบ็ค

ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

รัฐสภา ถกแก้ข้อบังคับ 'สว.-รทสช.' รุมค้านเปิดทาง 'คนนอก' ร่วมวงกมธ.แก้รธน.

ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่…) พ.ศ…. เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บั

'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น

'สว.พิสิษฐ์' เตรียมจัดเวทีชำแหละร่างแก้รธน. หั่นเสียงวุฒิสภา ขัดปชต.-การถ่วงดุล

นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256

'วราวุธ' ย้ำแก้รธน. ไม่แตะหมวด 1,2 ตั้ง ส.ส.ร. ต้องสะท้อนถึงสังคมปัจจุบัน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคยังยืนยันจุดเดิมคือ การได้มาซึ่ง ส.ส.ร. โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 ที่