4 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ผลการประชุมในวันนี้มีมติ 2 เรื่องคือ การนิรโทษกรรมโดยใช้รูปแบบผสมผสานจะมีการดำเนินการนิรโทษกรรมโดยใช้กลไก 2 ส่วน คือ กลไกที่ให้ผู้ได้รับสิทธินิรโทษกรรมตามกฎหมาย และประสงค์ใช้สิทธิให้ยื่นคำร้องต่อหน่วยราชการในกระบวนการยุติธรรมที่คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาของหน่วยราชการนั้น ให้หน่วยราชการที่รับคำร้อง มีอำนาจรับคำร้องและพิจารณาหรือวินิจฉัยให้สิทธินิรโทษกรรมคดีที่เข้าองค์ประกอบที่จะได้รับการ นิรโทษกรรมตามบัญชีฐานความผิดแนบท้ายพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1.หากคดีอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ให้พนักงาน โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นเจ้าของคดีให้ยุติการสอบสวน
2.คดีอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการยุติการดำเนินคดีคดีที่อัยการส่งฟ้องแล้วและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ให้พนักงานอัยการถอนฟ้อง
3.กรณีที่จำเลยถูกฝากขังในเรือนจำ ให้ศาลพิจารณาออกหมายปล่อย
4.คดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด และผู้ต้องคดีเป็นนักโทษในเรือนจำ ให้ศาลพิจารณาออก
หมายปล่อย เพื่อให้กรมราชทัณฑ์ปล่อยตัวนักโทษ
5.คดีถึงที่สุด ผู้เคยต้องคำพิพากษาว่ากระทำผิด ประสงค์ขอให้ลบล้างประวัติให้ยื่นคำร้อง ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
6.ให้หน่วยงานตาม 5 ข้อ จัดทำรายงานเกี่ยวกับคดีที่จะให้มีการนิรโทษกรรม เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา หากคณะกรรมการไม่มีความเห็นแย้งภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือถือว่าคณะกรรมการเห็น ด้วยกับการนิรโทษกรรมตามเสนอ
กรณีผู้ได้รับสิทธินิรโทษกรรมใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อหน่วยราชการในกระบวนการยุติธรรมที่คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาแล้ว ได้รับการปฏิเสธไม่ดำเนินการ ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการนิรโทษกรรม
นายนิกร กล่าวว่า และกลไกที่ 2 ให้ผู้ได้รับสิทธินิรโทษกรรมตามกฎหมายขออุทธรณ์ กรณีที่หน่วยราชการปฏิเสธไม่ให้สิทธินิรโทษกรรม ให้คณะกรรมการนิรโทษกรรมแบบผสมผสานมีองค์ประกอบอาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ,ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ และคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1.พิจารณารายงานคดีที่จะให้มีการนิรโทษกรรมที่หน่วยงานราชการในกระบวนการยุติธรรมเสนอ หากมีความเห็นแย้งให้ตอบกลับหน่วยงานราชการในกระบวนการยุติธรรมภายในกำหนดเวลา๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานนั้น
2.พิจารณาอุทธรณ์กรณีผู้ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อหน่วยราชการในกระบวนการยุติธรรมที่
คดีอยู่ในอำนาจพิจารณา ได้รับการปฏิเสธไม่ดำเนินการ ให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการนิรโทษกรรมมีผลผููกพันหน่วยราชการดังกล่าวให้พิจารณาการให้นิรโทษกรรม
3.หยิบยกคดีที่ได้รับผลตามพระราชบัญญัตินี้แต่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องไม่ได้หยิบ
ยกขึ้นมาพิจารณาเพื่อส่งให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งกรณีที่คณะกรรมการเห็นเองหรือกรณีที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้เสียหายและผู้เกี่ยวข้องร้องขอ
4.พิจารณาชี้ขาดกรณีที่มีปัญหามาสู่คณะกรรมาการว่าคดีใดได้รับสิทธิตาม
พระราชบัญญัตินี้หรือไม่ จากการเสนอของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้เสียหายและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงกรณีที่คณะกรรมาการพบเห็นเอง
5.จัดทำรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อรัฐสภา
เพื่อทราบ และเผยแพร่ต่อสาธารณชน
6.สื่อสารสร้างความเข้าใจสาธารณะเพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดอง
และ7.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
นายนิกร กล่าวว่า มีเรื่องหลักๆคือการไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ การคืนสิทธิ์บางอย่างให้ นอกจากนี้ ยังจะมีการพิจารณาเรื่องฐานความผิดอะไรบ้าง มีกี่อย่างที่จะนิรโทษกรรมให้
เมื่อถามถึง วาระการพิจารณาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นายนิกร กล่าวว่า คดีนี้จะมีการพิจารณาทีหลัง เพราะเดิมจากที่ศึกษามาใน 17 ฐานความผิดนั้นไม่มี แต่จากที่ทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเสนอมา เราก็นำมารวมอยู่ด้วยและจะต้องมีการตัดสินใจอีกครั้งว่าจะรวมหรือไม่รวมแต่ขณะนี้ข้อมูลครบหมดแล้ว เข้าใจว่าสัปดาห์หน้าก็จะมีการพิจารณาเรื่องนี้ แต่หากไม่ได้พิจารณาในสัปดาห์หน้าก็จะเป็นอีกสัปดาห์หนึ่ง
เมื่อถามว่า น่าจะเคาะได้เลยใช่หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า น่าจะเคาะได้ ตอนนี้ตนเริ่มทำรายงานในส่วนของอนุกรรมาธิการและสั่งพิมพ์แล้ว เหลือเพียงแค่ชุดใหญ่ ตั้งใจไว้ว่าสิ้นเดือน ก.ค.จะสามารถเสนอเข้าสู่ที่ประชุมของสภาฯ ได้ แต่หากไม่ทันก็อาจจะขยับไปไม่เกิน 2 สัปดาห์
เมื่อถามย้ำว่า จะเคาะเรื่องความผิดมาตรา 112 เลยใช่หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า คณะกรรมาธิการพูดว่าจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ เพราะตอนนี้โครงสร้างเสร็จหมดแล้วและการร่างพ.ร.บ.นี้ต้องมีบัญชีแนบท้ายที่ว่าการจะนิรโทษกรรมจะรวมฐานความผิดอะไรบ้างเพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ ส่วนที่ประชุมสภาฯ จะเอาอย่างไรก็แล้วแต่ ย้ำว่ากมธ.ชุดนี้มีหน้าที่แค่ชี้แนวทางในการทำร่างกฎหมาย ไม่ได้มีหน้าที่ยกร่าง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วิสุทธิ์' ป้องยิ่งลักษณ์ หยุดตีปลาหน้าไซนิรโทษกรรม
'วิสุทธิ์' ขอ อย่าโยง 'เพื่อไทย' ดัน 'กม.นิรโทษกรรม' เพื่อ 'ยิ่งลักษณ์' บอก มีกฎหมายเพื่อ ประชาชนกว่า 20 ฉบับในสมัยประชุมนี้
'เพื่อไทย' เดินหน้าเต็มสูบ 'นิรโทษกรรม' งัดข้อประชามติชั้นเดียว
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' จ่อเข็น 'กม.นิรโทษฯ' ถกพร้อมร่างอื่น พ่วงเดินหน้า 'กม.ประชามติ' แนะ 'ประธานสภาฯ-วิป' เร่งหารือแนวทาง 'แก้ รธน.' เหตุ อาจเสียเวลาเปล่า
กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ
'นิกร' ชี้เหตุปัจจัยยังไม่พอ 'สนธิ' ปลุกระดมปีหน้า บอกนักการเมืองโฟกัสเลือกตั้งนายก อบจ.
นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาประกาศ ว่า ในปีหน้า 2568 จะมีการจัดเวทีทุกเดือนและอาจมีการลงถนน ว่า เป็นเรื่องในอนาคตต้องรอดู จะว่าไม่กังวลก็กังวล
'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69
นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน
'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยืนยันว่าการจะแปลงร่างกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงินไม่สามารถทำได้