'ก้าวไกล' ชูร่างพรบ.นิรโทษกรรม ถ้าไม่หลับตาข้างเดียวก็จะเห็นปัญหาคดี ม.112

29 ม.ค.2567 - ที่ห้องประชุม 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา ๓๕ และเครือข่ายภาคประชาชน จัดกิจกรรมเวทีสาธารณะสภาที่ 3 เรื่อง ‘ข้อเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม กับการปรองดองสมานฉันท์ที่แท้จริง’ โดยมี คุณอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 กล่าวเปิดงาน

ผู้ร่วมอภิปรายโต๊ะกลม ได้แก่ ศ.วิชา มหาคุณ อดีตกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายจตุพร พรหมพันธุ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คณะหลอมรวมประชาชน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์)

พร้อมด้วยผู้แทนพรรคการเมือง อาทิ นพ.ระวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ พรรคก้าวไกล ซึ่งมี นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดยน.ส.ศศินันท์ กล่าวว่า ช่วงที่มีการจัดตั้งรัฐบาลนำโดย พรรคเพื่อไทย มักจะมีการอ้างว่า รัฐบาลดังกล่าวเป็นรัฐบาลสลายขั้วทางการเมือง แต่กลับยังมีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองจำนวนมาก โดยเฉพาะในเดือนมกราคมนี้ ยังมีประชาชนที่อยู่ระหว่างฟังคำพิพากษา

ในส่วนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ฉบับพรรคก้าวไกล ซึ่งมีแนวคิดนิรโทษกรรมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม ไปจนถึงก่อนการรัฐประหาร 2549 เนื่องจากมองว่า ประชาชนทุกกลุ่มในทุกช่วงเวลาล้วนแล้วแต่มีความหวังดีกับบ้านเมือง และเชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทิศทางที่ดีได้ เพราะฉะนั้น ประชาชนที่ถูกดำเนินคดีในห้วงเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน

“ในสถานการณ์ที่สุกงอมที่สุด จุดสำคัญคือ ต้องนิรโทษกรรมประชาชนให้กลับออกมาใช้ชีวิตอย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ถ้ารัฐไม่เคารพความเห็นต่าง ก็จะมีประชาชนถูกดำเนินคดีอยู่เรื่อยไป แต่ทั้งนี้ ก็ย่อมเข้าใจรัฐบาลที่นำโดย ‘เพื่อไทย‘ เพราะคำว่า ’นิรโทษกรรม’ อาจเป็นคำแสลงหูที่นำไปสู่ชนวนของการรัฐประหาร แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นิรโทษกรรมเป็นการหาจุดร่วมของประชาชนที่ได้รับความสมานฉันท์จริงๆ” น.ส.ศศินันท์ กล่าว

น.ส.ศศินันท์ กล่าวต่อว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของพรรคก้าวไกล มีใจความสำคัญคือ การดูมูลเหตุจูงใจทางการเมืองเป็นหลัก ก่อนจะนำมาสู่คณะกรรมการวินิจฉัยเพื่อชี้ขาดว่า สมควรได้รับการนิรโทษกรรมหรือไม่

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้น 3 ประการ ได้แก่ 1.การยกเว้นการกระทำเจ้าหน้าที่รัฐที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ

2.ไม่นิรโทษกรรมคดีที่มีความผิดต่อชีวิตเว้นแต่กระทำโดยความประมาท

3.ไม่นิรโทษกรรมในคดีที่มีฐานความผิดตาม ม.113 หรือฐานก่อกบฏ หรือล้มล้างการปกครอง

น.ส.ศศินันท์ ยอมรับว่า พรรคก้าวไกลมีการเดินสายพูดคุยกับคนหลายกลุ่มอย่างที่ปรากฎเป็นข่าว และพยายามมีวงย่อยหลายวง เพื่อแสวงหาโอกาสรับเสียงสนับสนุน ในการเสนอญัตติในสภาผู้แทนราษฎร

“แม้ว่า ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกลจะถูกสั่งให้ถอยในเรื่อง กฎหมายอาญามาตรา 112 แม้ว่า ในร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับพรรคก้าวไกล จะไม่ได้มีการระบุเป็นมาตรา แต่ไม่ได้มีการตัดสิทธิ เพื่อเข้าสู่กระบวนการวินิจฉัย ดังนั้น ถ้าเราไม่หลับตาข้างหนึ่งก็จะเห็นปัญหาตรงกัน และไม่มีปัญหากับมาตรานี้” น.ส.ศศินันท์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘พิธา’ ชี้ 5 ปี สิ่งที่ไม่เปลี่ยน คือพยายามทำลายทางเลือก ปชช. มั่นใจพลังประชาธิปไตยไม่ถูกยุบตามพรรค

พิธา ระบุ5 ปีผ่านไป สิ่งที่เปลี่ยนคือบริบท สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือความพยายามทำลายทางเลือกของประชาชน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อมั่นเสมอ—พลังของประชาธิปไตยไม่ได้ถูกยุบไปพร้อมกับพรรค

ขีดเส้น 15 วัน! ป.ป.ช. เรียก 44 สส. ชี้แจงข้อกล่าวหาคดีฝ่าฝืนจริยธรรม ปมแก้ ม.112

ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหว กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งหนังสือถึง 44 สส.ก้าวไกล แจ้งข้อกล่าวหา และเชิญผู้ถูกกล่าวหามารับชี้แจง คดีฝ่าฝืนจริยธรรม จากการร่วมลงชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

'คารม' ไม่ซ้ำเติมอดีตเพื่อนร่วมพรรค โดนข้อกล่าวหาร้ายแรง บอกตัดสินใจอะไรต้องรอบคอบ

'คารม พลพรกลาง' อดีต สส. พรรคก้าวไกล ปัจจุบันพรรคภูมิใจไทย เห็นใจอดีตเพื่อนร่วมพรรค 44 สส. ถูก ป.ป.ช. เรียกเข้ารับทราบข้อกล่าวหาผิดจริยธรรมร้ายแรง กรณีแก้ไขมาตรา 112 ย้ำไม่ขอซ้ำเติม

ป.ป.ช. ยันมีพยานหลักฐานเพียงพอ 'เจี๊ยบ อมรัตน์' ผิดจริยธรรมร้ายแรง!

ป.ป.ช. ร่อนข้อกล่าวหาผิดจริยธรรมร้ายแรง มีพยานหลักฐานเพียงพอว่ามีมูลความผิด ถึงมือ ‘เจี๊ยบ อมรัตน์’ เจ้าตัวเดือดจัดฟาดกลับเห็นคำขวัญของ ป.ป.ช. แล้วอยากจะอาเจียน

ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง ปมกล่าวหา 'กกต.' ชงยุบก้าวไกล

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องกรณีที่ กรณี นายธรณิศ มั่นศรี (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2