เขื่อนแตกในเคนยา มีผู้เสียชีวิตหลายสิบราย

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ราย จากเหตุเขื่อนแตกใกล้เมืองหนึ่งในหุบเขาริฟต์ของเคนยาในช่วงเช้าตรู่ของวันจันทร์ ในขณะที่ทั้งประเทศต้องเผชิญฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน

ผู้หญิงคนหนึ่งอุ้มลูกไว้ด้านหลังและมองดูบ้านของเธอในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโคลนซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในเมืองไมมาฮิอู ในเขตนาคูรู ประเทศเคนยา เมื่อวันที่ 29 เมษายน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ราย หลังจากเขื่อนแตกใกล้เมืองดังกล่าว (Photo by LUIS TATO / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567 กล่าวว่า ประเทศเคนยากำลังเผชิญภาวะน้ำท่วมหนักจากเหตุเขื่อน 'Old Kijabe' แตกใกล้เมืองไมมาฮิอู ในเขตนาคูรู ที่ส่งผลให้มวลน้ำพุ่งลงมาตามเนินเขาและกลืนทุกสิ่งที่ขวางหน้า ทั้งน้ำท่วมถนน, ต้นไม้หักโค่น, บ้านเรือนพังพินาศ และยานพาหนะถูกพัดไปกับกระแสน้ำ

ภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดในช่วงฤดูฝนเดือนมีนาคม-พฤษภาคมในเคนยาพุ่งสูงกว่า 120 ราย

เจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักงานตำรวจเขตนาคูรูบอกกับเอเอฟพีทางโทรศัพท์ว่า จนถึงขณะนี้สามารถเก็บกู้ศพได้แล้ว 45 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 110 คนที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

เจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งขุดค้นใต้ซากความเสียหายของบ้านเรือนเพื่อค้นหาผู้ที่อาจรอดชีวิต ขณะที่หน่วยงานสภากาชาดได้ใช้พื้นที่โรงเรียนในท้องถิ่นในการประสานงานช่วยเหลือครอบครัวที่ตามหาญาติผู้สูญหาย

คิธูเร คินดิกี รัฐมนตรีมหาดไทยเคนยากล่าวว่า รัฐบาลได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงและข่าวกรองตรวจสอบเขื่อนและอ่างเก็บน้ำของรัฐและเอกชนทั้งหมดในเขตอำนาจศาลของตนภายใน 24 ชั่วโมง และพิจารณาแนวทางการอพยพภาคบังคับ รวมไปถึงการตั้งถิ่นฐานใหม่ชั่วคราว

รายงานของรัฐบาลระบุว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม มีผู้เสียชีวิตในเคนยาแล้ว 76 ราย และมีผู้พลัดถิ่นมากกว่า 130,000 คน

ลมมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักอย่างมากในภูมิภาคนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เคนยาประเทศเดียว แต่ยังส่งผลให้น้ำท่วมและดินถล่มในแทนซาเนีย ซึ่งมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 155 ราย

เช่นเดียวกับน้ำท่วมหนักในเอธิโอเปียซึ่งมีรายงานผู้เสียชีวิต 4 ราย รวมทั้ง 2 รายในยูกันดา และ 2 รายในรวันดา

บุรุนดี หนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ก็ประสบปัญหาหนักจนประชาชนประมาณ 96,000 คนต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่

ปลายปีที่แล้ว มีผู้เสียชีวิตจากฝนตกหนักและน้ำท่วมมากกว่า 300 รายในเคนยา, โซมาเลีย และเอธิโอเปีย ซึ่งย้อนแย้งกับการที่ภูมิภาคนี้ที่เพิ่งประสบภัยแล้งครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปีที่ทำให้ผู้คนหลายล้านคนอดอยาก

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกของสหประชาชาติระบุเมื่อเดือนมีนาคมว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้มาจากอิทธิพลของเอลนีโญที่ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตรียมใจยังร้อนกันอีกยาว 'เอลนีโญ'ส่อหวนกลับมาเร็ว

จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศการติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 โดยมี 4 ปรากฏการณ์ ประกอบด้วย ปรากฏการณ์เอนโซ El Nino Southern Oscillation (ENSO) ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) ปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO) และลมมรสุม (Monsoon) นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรว

ทะเลเดือดของจริง! 'ดร.ธรณ์' เผยอ่าวไทยร้อนเกิน 32 องศา อุณหภูมิน้ำสูงจนน่าสะพรึง

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ทะเลเดือดของจริงมาถึงแล้วแม่เจ้าเอ๊ย เตือนเพื่อนธรณ์มาตั้งแต่ปีก่อน เอลนีโญบวกโลกร้อนจะทำให้ทะเลเดือด เ

ยุคโลกเดือด! 'ดร.ธรณ์' เตือนรับมือ 'เอลนีโญ' ปีนี้เมืองไทยร้อนเป็นประวัติการณ์

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า โมเดลล่าสุดทำนายว่า ปีนี้เอลนีโญอาจทำให้เมืองไทยร้อนเป็นประวัติการณ์