‘เลขา กกต.’ ชี้ โทษการฮั้วเลือก สว. ตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต

‘เลขา กกต.’ ชี้ โทษการฮั้วเลือก สว. ตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต ยก รธน. ‘สว.หรือสภาสูง’ มาจากการเลือกกันเองของผู้ทรงคุณวุฒิ ต่างจาก ‘สส.-นักการเมือง’ มาจากการเลือกตั้งของ ปชช. จึงทำได้เพียงแนะนำตัว ห้ามหาเสียง

28 เม.ย. 2567 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการ​การเลือกตั้ง​ (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับข้อกำหนดตามรัฐธรรมนูญ ในการแนะนำตัวของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา ห้ามหาเสียง บทกำหนดโทษการทุจริตในการเลือก การให้ความรู้เชิญชวนบุคคลเข้ามาสมัครทำได้หรือไม่ กกต. จึงได้ออกระเบียบการแนะนำตัว ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

โดยหยิบยกลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญที่จะต้องแตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎรเป็น “สภาผู้ทรงคุณวุฒิ” สมาชิกจะต้องเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งแตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นสภาของนักการเมือง และ สว. มีที่มาจากการเลือกกันเองของผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วน สส. มาจากการเลือกของประชาชน

ด้วยเหตุข้างต้น กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้สมัคร สว. ทำได้แค่การแนะนำตัวซึ่งหมายความว่าห้ามหาเสียงโดยปริยาย เพราะเชื่อว่าผู้ทรงคุณวุฒิด้วยกันเองที่สมัครทุกคนมีความดี เด่น ดัง ในสาขาอาชีพของตัวเองเป็นที่ประจักษ์และทราบดี และจะมีวิจารณญาณในการเลือกที่ถูกต้องได้เป็นอย่างดีโดยไม่มีการจัดตั้งฮั๊วกันในการเลือก

การแนะนำตัว คือการบอกว่าตัวเองเป็นใครมีประสบการณ์ในกลุ่มสาขาอาชีพอย่างไรก็เพียงพอที่จะทำให้ผู้ทรงครูด้วยกันมีข้อมูลในการเลือกกันเองแล้ว ไม่ว่าจะการเลือก ในกลุ่ม หรือการเลือกไขว้ ที่มาของส.ว. มาจากการเลือกและแนะนำตัว ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งหรือการหาเสียง

นายแสวง ยังกล่าวถึงบทกำหนดโทษการแนะนำตัวและโทษในการทุจริตในการเลือก ซึ่งโทษของการแนะนำตัวคือการขอคะแนนการแลกคะแนนกัน ที่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการซื้อเสียงตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าเป็นการแนะนำตัวที่ไม่ถูกต้องพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต นั่นหมายความว่าการจัดตั้ง การฮั๊ว อยู่ในลักษณะความผิดนี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงโทษของการทุจริตในการเลือก เช่นการซื้อเสียง การจ้างให้คนลงสมัคร หรือรับจ้างสมัคร สมัครโดยเอกสารเท็จ รับรองการสมัครมีโทษความผิดเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง จำคุกและปรับ และหากแนะนำตัวไม่ถูกไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีมีความผิดถึงขั้นโดนใบดำตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิตได้

ส่วนการให้ความรู้ การเชิญชวนคนสมัคร โดยทั่วไปหยุดแค่ให้ความรู้ หรือเชิญชวน ลักษณะนี้โดยตัวมันเองสามารถทำได้แต่อาจเป็นเหตุให้เป็นความผิดอื่นได้แม้ดำเนินการต่อเนื่องจากการให้ความรู้หรือการเชิญ เช่นการตั้งกลุ่มเพื่อติดต่อกัน ไม่ว่าในช่องทางใด การตั้งกลุ่มไลน์ และมีการแลกคะแนนการขอคะแนนกันการฮั้วกันเป็นต้น หรือการสร้างกลุ่มแต่มีการแนะนำตัวเป็นวิธีแนะนำตัวตามระเบียบและกฎหมายที่ กกต. ประกาศ บนหลัก 3 ประการ

ด้วยต้องการให้ได้มาซึ่ง สว. ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพื่อให้การแข่งขันที่เป็นธรรม ให้ผู้ทรงคุณวุฒิสมัครด้วยตัวเองหากมีการจัดตั้งอยู่เบื้องหลังก็จะทำให้การได้มาซึ่ง สว. เป็นอิสระไม่เป็นกลางและเอาเปรียบคนที่ตั้งใจ ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้สมัคร และย้ำว่าหากต้องการเป็นสมาชิกวุฒิสภาจะต้องมีการแนะนำตัวให้ถูกต้องซึ่งสามารถทำได้ไม่ยากและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายอย่าคิดเอาเปรียบผู้อื่น ทั้งนี้พร้อมรับฟังทุกความเห็น บนหลักกฏหมาย หรือความเห็นที่มีแรงจูงใจทางการเมืองหรือไม่ แต่ในท้ายที่สุด กกต. ต้องทำตามกฏหมายไม่สามารถทำตามความต้องการของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาระเบียบใหม่ กกต. สกัดฮั้วเลือก 'สว.'

เตรียมนับถอยหลังปิดฉากสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดบทเฉพาะกาลที่จะหมดวาระลงในวันที่ 3 พ.ค. 2567 แต่จะยังคงรักษาการจนกว่าจะมีวุฒิสภาชุดใหม่เข้ามาดำรงตำแหน่ง หากดูตามไทม์ไลน์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

เลขาฯกกต. แจงแนวปฏิบัติเลือก สว. ผู้สมัครทำได้แค่แนะนำตัว ห้ามนักการเมืองช่วยเหลือ

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง โพสต์เฟสบุ๊คชี้แจงถึงการปฏิบัติตัวในการทำหน้าที่เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือก สว.ว่าในส่วนของประชาชนไม่มีสิทธิเลือก สว.ตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ให้

ระทึก! กกต.ชงศาลรธน.ยุบพรรคก้าวไกลแล้ว จับตา 20 มีนา.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการ​การเลือกตั้ง​ (กกต.)​ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งได้รับมอบหมายจากกก

กกต. แจงแล้ว ปมฟัน สส.ไชยามพวาน คุกคามทางเพศ

นายแสวง บุญมี เลขาธิการกกต. กล่าวกรณีนายไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ สส.กทม.พรรคก้าวไกล ระบุพร้อมให้กกต.ตรวจสอบกรณีถูกกล่าวหามีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ ตามที่นายโชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี อดีต ส.ส.กทม.เขตจอมทอง พรรคภูมิใจไทย ยื่นคำร้อง

เลขาฯกกต. ชี้ประชาชนคือคนเลือกนโยบายแจกเงินหมื่น หากทุจริตก็ว่ากันตามกฎหมาย

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะทำงานตรวจสอบนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท และมีกกต.ร่วมเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้วยว่า ในช่วงเลือกตั้งพรรคการเมืองจะเสนอนโยบายที่จะต้องใช้จ่ายเงินต้องชี้แจงข้อมูลให้ครบ