'กุนซือนายกฯ' เขย่า 'แบงก์ชาติ' หัดร่วมมือรัฐบาลแก้เศรษฐกิจ

‘พิชัย’ ลั่นเตือนแล้วเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกย่ำแย่ ชี้นโยบายการเงินไม่สนับสนุน ขณะที่งบประมาณยังใช้ไม่ได้ จี้ ‘แบงก์ชาติ’ หนุนแก้เศรษฐกิจเหมือนธนาคารกลางประเทศอื่น

27 พ.ค. 2567 – นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกขยายตัวได้เพียง 1.5% แม้จะดีกว่าที่คาดการณ์กันว่าจะขยายไม่ถึง 1% แต่ก็ยังถือว่าแย่มาก และเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในอาเซียนโดย เวียดนามขยายได้ 5.7% ฟิลิปปินส์ขยายได้ 5.7% อินโดนิเซียขยายได้ 5.1% มาเลเซียขยายได้ 4.2% แม้กระทั่งสิงคโปร์ยังขยายได้ 2.7% แสดงถึงเศรษฐกิจของอาเซียนยังดี แต่เศรษฐกิจไทยกลับแย่

ทั้งนี้หากจำกันได้ ตนได้เตือนไว้ก่อนแล้วว่าเศรษฐกิจไตรมาสแรกจะแย่ เพราะรัฐบาลเพิ่งเข้ามาบริหารได้ไม่นาน และการดำเนินนโยบายทางการคลังผ่านทางงบประมาณยังทำไม่ได้ เนื่องจากงบประมาณเพิ่งจะผ่านสภาในเดือนเมษายนนี้เอง โดยเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เร่งออกนโยบายทางการเงินเพื่อสนับสนุนและประคองเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรก แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับ

นายพิชัย กล่าวว่า หากย้อนดูธนาคารกลางของประเทศสหรัฐที่เป็นอิสระ แต่เมื่อเศรษฐกิจประเทศสหรัฐย่ำแย่ ธนาคารกลางสหรัฐยังต้องสนับสนุนการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ โดยออก QE จำนวนมหาศาลเป็นเวลานาน จนกระทั่งเศรษฐกิจสหรัฐฟื้น แต่ ธปท. กลับไม่ทำอะไร นอกจากนี้หากพิจารณาประเทศในอาเซียนที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากในไตรมาสแรก จะพบว่าประเทศเหล่านี้มีค่าเงินที่อ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ และยังลดลงมากเมื่อเทียบกับสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งด้วย

โดยค่าเงินดองเวียดนาม ลดลงเหลือ 25,400/ดอลล่าร์ จาก 14,000 ดอง ในปี 2000 เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ ลดลงเหลือ 58 เปโซ/ดอลล่าร์ จาก 39.95 เปโซ ในปี 2000 เงินรูเปีย อินโดนิเซีย ลดลงเหลือ 16,000 รูเปีย/ ดอลล่าร์ จาก 7,000 รูเปีย ในปี 2000 เงินริงกิต มาเลเซีย ลดลงเหลือ 4.7 ริงกิต/ดอลล่าร์ จาก 3.8 ริงกิต ในปี 2000 แต่ค่าเงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นเป็น 36.7 บาท/ดอลล่าร์ จาก 44.20 บาท ในปี 2000 นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าประเทศคู่แข่งใช่หรือไม่

นอกจากนี้ ช่วงห่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทย ยังสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ในประเทศคู่แข่งมาก โดยช่วงห่างดอกเบี้ยของไทยอยู่ที่ 6-7% ในขณะที่ช่วงห่างดอกเบี้ยของประเทศคู่แข่งอยู่ที่ 2-3% เท่านั้น ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจต้องแบกต้นทุนและค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่า ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้มีการเรียกร้องหลายครั้งแล้ว ทั้งที่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยนโยบาย และ ธปท. สามารถทำได้ทันที แต่ ธปท. กลับไม่ทำอะไร ขนาดนายกรัฐมนตรียังต้องลงมาเจรจากับธนาคารพาณิชย์เอง ทั้งที่เป็นหน้าที่ของ ธปท. โดยเฉพาะคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ทำให้คนจำนวนมากสงสัยกันว่า ธปท. เอาใจธนาคารพาณิชย์เกินไปหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีอคติกับ ธปท. เพียงอยากเห็น ธปท. ทำหน้าที่ที่ควรปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำมาเป็นเวลาเป็น 10 ปีแล้ว อีกทั้งนโยบายการเงินของ ธปท. มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่านโยบายการคลังของรัฐบาลเสียอีก โดยประเทศต่างๆ ในโลกต้องอาศัยความร่วมมือของธนาคารกลางเพื่อฟื้นเศรษฐกิจ ถ้าหาก ธปท. ไม่ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และวิธีการทำงาน เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวสูงได้ยาก ดังนั้นจึงอยากให้มีจุดประสงค์และแนวทางที่ตรงกันกับรัฐบาล สมัยอาจารย์โกร่ง ดร. วีรพงษ์ รามางกูร อดีตประธานคณะกรรมการ ธปท. ก็มีความกังวลปัญหาของ ธปท. ในเรื่องนี้เหมือนกัน

ที่ปรึกษานายกฯ กล่าวว่า ปัญหาเร่งด่วนที่ ธปท. และรัฐบาลจะต้องร่วมมือกันเร่งแก้ไข คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 91 % ของจีดีพี หรือ 16.3 ล้านล้านบาท และยังคงเพิ่มสูงขึ้นไปอีก และปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นสูงมาก ทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนบ้าน หนี้ผ่อนรถยนต์ ซึ่งปัญหาหนี้เสียนี้ได้เตือนมาตลอดว่าจะเป็นระเบิดเวลาของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วแล้ว

ทั้งนี้ปัญหาหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นกำลังจะตามมาเพราะหนี้สาธารณะปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 63.37% ของจีดีพีแล้ว อีกทั้งรัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาสินค้าจากประเทศจีนราคาถูกที่ทะลักเข้ามาขายในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้ SMEs ไทยได้รับผลกระทบอย่างมากเพราะราคาสินค้าแข่งขันไม่ได้ อีกทั้งเงินไหลออกไปประเทศจีนจำนวนมาก เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำมาก โดยรัฐบาลได้กลับมาเก็บภาษีสินค้าจีนที่ต่ำกว่า 1,500 บาทแล้ว แต่ก็อาจจะต้องออกมาตรการที่เข้มงวดกว่านี้เพื่อป้องกันปัญหานี้

“จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจไทยยังมีปัญหาอย่างมากในหลายด้านจากปัญหาที่สะสมมาในอดีต ซึ่ง ธปท. จะต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา โดยรัฐบาลเองจะต้องเร่งแก้ปัญหาและออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยต้องออกหลายนโยบายพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะการเพิ่มรายได้เพื่อแก้ปัญหาหนี้ของประชาชนและภาคธุรกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นกลับมาได้ โดยทุกภาคส่วนจะต้องให้ความร่วมมือ ก่อนที่เศรษฐกิจไทยจะทรุดลงไปกว่านี้ โดยไม่อยากให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำเตี้ยแบบนี้ต่อไปอีกแล้ว” นายพิชัย ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Aviation Hub

นายกฯ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Aviation Hub ขอบคุณการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อมั่นหลังขยายสิทธิการบินไทย-อินเดีย เพิ่มที่นั่งบนเครื่องบินระหว่างกัน 7,000 ที่นั่ง/สัปดาห์ จะส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ

ลับมีด! 34 สส.ไล่ชำแหละ ล็อกเป้า ดิจิทัลวอลเล็ต-งบกองทัพ

ฝ่ายค้าน เตรียมไล่อัดรัฐบาล ศึกอภิปรายงบ 68 หลังได้เวลา 20 ชม. “ก้าวไกล”จัดทัพใหญ่ 34 ส.ส.รอชำแหละ ล็อกเป้ากระชวก ดิจิทัลวอลเล็ต-งบกองทัพ

‘สรรเพชญ’ ซัดรัฐบาลกู้เงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หวั่นก่อหนี้ก้อนใหญ่ในอนาคต

รัฐบาลชุดนี้มีอำนาจในการจัดสรรงบประมาณแทบจะ 100% สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการจัดสรรงบประมาณในปี 2568 ที่มีการตั้งวงเงินกว่า 3.7 ล้านล้านบาท คือเรื่องของการกู้ขาดดุล

ศึกงบ68 ส่อเดือด! ‘ก้าวไกล’ ปล่อยแคมเปญโหมโรง ‘เจ๊งไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้’

พรรคก้าวไกล พรรคแกนนำฝ่ายค้าน ได้เปิดแคมเปญการเมือง สำหรับการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ในช่วง 19-21 มิ.ย.นี้แล้ว

รัฐบาลเตือน 15 - 19 มิ.ย. ระวังฝนตกหนัก ท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

รัฐบาลเตือนประชาชน ช่วง 15 - 19 มิ.ย. ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก อาจเกิดท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณฝนฟ้าคะนอง