17 ต.ค.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม รับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)นิรโทษกรรม ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นประธานกมธ. พิจารณาเสร็จแล้ว
นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงว่า สำหรับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 110 และมาตรา 112 ไม่ได้เป็นคดีหลักและคดีรอง แต่เป็นคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง โดยในรายงานก็ยืนยันไว้เช่นกัน
นอกจากนี้ กรรมาธิการไม่ได้มีข้อสรุปว่า จะนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมสำหรับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 เพียงแค่ศึกษาว่า มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เนื่องจากยังมีความเห็นต่างอย่างมีนัยยะสำคัญเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112
ดังนั้น กรรมาธิการจึงไม่พึงประสงค์ที่จะมีการลงมติว่ากรรมาธิการส่วนใหญ่มีความเห็นอย่างไร เพราะจะถือว่าไม่สามารถสะท้อนความคิดเห็นและความเชื่อของกรรมาธิการได้ แต่ได้เปิดโอกาสให้กรรมาธิการแต่ละคนแสดงความคิดเห็นไว้
นายนิกร กล่าวต่อว่า แนวทางที่เสนอมา จึงแบ่งเป็น 3 แนวทาง คือ 1.เห็นด้วยว่าควรรวมการนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112, 2.ไม่เห็นด้วยว่าควรรวมการนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 และ 3.เห็นด้วยว่าควรรวมการนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 แต่ให้มีเงื่อนไข ซึ่งส่วนตัวตนก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการนิรโทษกรรมความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112
นอกจากนี้ ยังมีความเห็นที่ระบุว่าขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายออาญามาตรา 112 เป็นบทบัญญัติในความผิด ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือว่ามีความผูกพันทุกองค์กร และมีบางฝ่ายมองว่าอาจจะเกิดความขัดแย้ง
"ผมเชื่อว่าหากมีการเสนอร่างกฎหมายเข้ามาแล้วรวมความผิดมาตรา 112 ด้วยนั้น จะไม่ผ่านและถูกร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตาม ในฐานะกรรมาธิการจากพรรคชาติไทยพัฒนา เรามีความเห็นเป็นมติว่า ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมมาตรา 112 เช่นเดียวกับหลายพรรคที่ได้ให้ความเห็นไว้ในกรรมาธิการ ย้ำว่า ในข้อสังเกตก็ระบุไว้ชัดว่า มาตรา 110 และมาตรา 112 เป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหว และรายงานนี้เป็นเพียงแค่การสรุปความเห็นของสมาชิกเท่านั้น” นายนิกร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วิสุทธิ์' ป้องยิ่งลักษณ์ หยุดตีปลาหน้าไซนิรโทษกรรม
'วิสุทธิ์' ขอ อย่าโยง 'เพื่อไทย' ดัน 'กม.นิรโทษกรรม' เพื่อ 'ยิ่งลักษณ์' บอก มีกฎหมายเพื่อ ประชาชนกว่า 20 ฉบับในสมัยประชุมนี้
'เพื่อไทย' เดินหน้าเต็มสูบ 'นิรโทษกรรม' งัดข้อประชามติชั้นเดียว
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' จ่อเข็น 'กม.นิรโทษฯ' ถกพร้อมร่างอื่น พ่วงเดินหน้า 'กม.ประชามติ' แนะ 'ประธานสภาฯ-วิป' เร่งหารือแนวทาง 'แก้ รธน.' เหตุ อาจเสียเวลาเปล่า
กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน
คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ
'นิกร' ชี้เหตุปัจจัยยังไม่พอ 'สนธิ' ปลุกระดมปีหน้า บอกนักการเมืองโฟกัสเลือกตั้งนายก อบจ.
นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาประกาศ ว่า ในปีหน้า 2568 จะมีการจัดเวทีทุกเดือนและอาจมีการลงถนน ว่า เป็นเรื่องในอนาคตต้องรอดู จะว่าไม่กังวลก็กังวล
'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69
นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน
'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยืนยันว่าการจะแปลงร่างกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงินไม่สามารถทำได้