กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน

กมธ.ประชามติ เสนอรายงานกมธ.ให้สส.-สว. แล้ววันนี้ จ่อเข้าถกในสภาสัปดาห์หน้า รับ มีรธน.ใหม่ไม่ทันรัฐบาลนี้ ‘วุฒิชาติ’ บอก วุฒิสภาไม่มีธงในใจพร้อมรับฟังความเห็น

4 ธ.ค.2567 - ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ

โดยนายนิกร กล่าวว่า เป็นการประชุมนัดสุดท้าย ซึ่ง กมธ.จะสรุปรายงานกมธ.ร่วมฯ ที่เห็นชอบร่างกฎหมายประชามติของวุฒิสภาที่ให้ใช้เสียงข้างมากสองชั้นในการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ คือ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียง และมีคะแนนเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียง โดย พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร สว. ในฐานะประธานกรรมาธิการได้ลงนามในรายงานฉบับนี้แล้ว และจะเสนอไปยังสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในวันนี้

นายนิกร กล่าวต่อว่า เบื้องต้นตนทราบว่าทางวุฒิสภาจะนำเข้าสู่ที่ประชุม สว. ในวันที่ 17 ธันวาคม ขณะที่สส.จะนำเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 18 ธันวาคม หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับความเห็นของทั้งสองสภา ซึ่งเชื่อว่า สส. และสว.จะยืนยันจุดยืนของตัวเอง ส่งผลให้ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติจะถูกแขวนไว้ 180 วัน หลังจากนั้น หากสส. ยังยืนยันในหลักการของตัวเองจึงจะประกาศบังคับใช้ได้

เมื่อถามว่า การที่ต้องพักร่างกฎหมายฉบับนี้ไว้ 6 เดือน จะทำให้การแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ทันในสมัยนี้ใช่หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า หากทำทั้งฉบับจะไม่ทันในสภาฯ ชุดนี้แน่ เพราะนอกจากจะต้องรอ 180 วันแล้ว ยังต้องรอคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องอีก 1 เดือนจึงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ ขณะที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จะต้องเชิญ กกต. และสำนักงบประมาณมาชี้แจงว่าจะต้องใช้งบประมาณในการทำประชามติเท่าไหร่ เพื่อส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ลงมติ จากนั้น จึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำประชามติ รวมแล้วใช้เวลาเกือบปี

“ดังนั้น คาดว่าจะทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญได้ ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2568 ถึงต้นมกราคม 2569 จึงค่อยดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 ดูแล้วไม่น่าจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ทันในรัฐบาลชุดนี้” นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวต่อว่า ส่วนตัวมองว่าจะต้องทำประชามติสามครั้งในการแก้รัฐธรรมนูญ แม้จะมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็มีเวลาไม่เยอะ อาจจะต้องขอเวลาคุยกับ สว. เพื่อให้การแก้ไขเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงอยากให้รัฐบาลมีร่างหลักในการแก้ไขรัฐธรรมนูญของตัวเองในนามพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปในทางเดียวกัน

ด้านนายวุฒิชาติ กล่าวว่า สว.ไม่ได้เหนื่อยฟรีในการแก้ไขกฎหมายประชามติ ต่างคนต่างเคารพความเห็นซึ่งกันและกัน หากแก้ไม่ทันก็ต้องมาพิจารณาแก้รายมาตรา สว. ไม่ได้ยึดหลักเสียงข้างหน้าสองชั้นทั้งหมด จะดูเฉพาะเรื่องที่ไม่ผูกพันกับคนทั้งประเทศ หากจะแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ต้องดูว่าจะแก้ในเรื่องใด และประชาชนมีส่วนร่วมมากแค่ไหน กรณีการแก้ไขมาตรา 256 สว.ยังไม่มีความเห็น แต่เราไม่มีธงพร้อมรับฟังความคิดเห็น

ขณะที่นายกฤช กล่าวว่า เงื่อนไขอยู่ที่จะทำประชามติกี่ครั้ง ซึ่งหากทำประชามติสามครั้ง ตนเคยประมาณการณ์เอาไว้คร่าวๆ ว่าจะใช้เวลา 2 ปี ซึ่งจะพ้นระยะเวลาของสภาฯ ชุดนี้ แต่อย่างน้อยที่สุดช่วงเวลานี้ก็จะมี สสร. เพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่หากทำประชามติสองครั้งระยะเวลาก็จะสั้นลงมาอย่างน้อย 180 วัน ซึ่งอาจจะทันอายุของสภาชุดนี้ แต่ทั้งนี้เราก็ยังไม่ได้คำตอบสุดท้ายว่าจะทำประชามติทั้งหมดกี่ครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการเสนอแก้มาตรา 256 ด้วย เพราะต้องได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาด้วย แต่หากไม่ได้รับความเห็นชอบก็จะไปสู่ทางตัน

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดชื่อ 18 กมธ.วิสามัญ แก้ข้อบังคับประชุมรัฐสภา 'สว.พันธุ์ใหม่' ได้ 1 ที่

จากที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 415 เสียง ไม่เห็นด้วย 185 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรรับหลักการแห่งร่างข้อบังคับการประชุม ฉบับที่ ... พ.ศ. ... จากนั้นตั้ง กมธ.วิสามัญ จำนวน 18 คน โดยแบ่งเป็นสส.13 คน สว. 5 คน 

รัฐสภารับหลักการแก้ข้อบังคับฯ เปิดทางคนนอกร่วมแก้รธน. 'หมออ๋อง' คัมแบ็ค

ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

รัฐสภา ถกแก้ข้อบังคับ 'สว.-รทสช.' รุมค้านเปิดทาง 'คนนอก' ร่วมวงกมธ.แก้รธน.

ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่…) พ.ศ…. เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บั

'วิสุทธิ์' วอน สว. 80-90 เสียง หนุนร่างแก้รธน. ตัดอำนาจวุฒิสภาให้ประเทศเป็นปชต.

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์กรณีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมของพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่น

'สว.พิสิษฐ์' เตรียมจัดเวทีชำแหละร่างแก้รธน. หั่นเสียงวุฒิสภา ขัดปชต.-การถ่วงดุล

นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256

'วราวุธ' ย้ำแก้รธน. ไม่แตะหมวด 1,2 ตั้ง ส.ส.ร. ต้องสะท้อนถึงสังคมปัจจุบัน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคยังยืนยันจุดเดิมคือ การได้มาซึ่ง ส.ส.ร. โดยเฉพาะหมวด 1 หมวด 2 ที่