ค่าการกลั่นไม่ใช่ลาภลอย แต่เป็นตัวชี้วัดศักยภาพของโรงกลั่น

ในวิกฤตการณ์พลังงานขาดแคลนเพราะสงคราม และผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำด้วยโรคระบาดที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาน้ำมันขยับเพิ่มขึ้น โดยที่ผู้คนไม่เข้าใจถึงเหตุผล ว่าทำไมกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานจึงมีบทบาทในการช่วยเหลือประชาชนน้อยกว่าที่ควร

อันที่จริง เรื่องนี้ถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะว่ากลุ่มโรงกลั่นและอุตสาหกรรมพลังงานทั้งมวลก็ตระหนักดีถึงความลำบากของพี่น้องประชาชน ซึ่งประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีการจัดการความมั่นคงทางพลังงานได้ดีที่สุดประเทศหนึ่ง เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านหรือประเทศอื่นที่มีขนาดใกล้เคียง แต่ด้วยเพราะเงื่อนไขต่างๆ อาทิ กฎกติกาตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับธรรมาภิบาล หรือสถานการณ์ความผันผวนของตลาดโลก ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ในการที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค จึงทำให้ภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานของไทยในการลดความเดือดร้อนของผู้บริโภคนั้นไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

ในเวทีเสวนา เรื่อง “ความจริง….. ค่าการกลั่น” ณ สโมสรราชพฤกษ์ ชมรมวิทยาการพลังงาน (ชวพน.) โดย นายสุวัฒน์ กมลพนัส และทีมวิชาการ โดยมี นายคุรุจิต นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย นายเจน นำชัยศิริ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ นายบวร วงศ์สินอุดม ประธานกรรมการ บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นวิทยากรได้ขยายข้อมูลให้ความรู้เพิ่มเติม ดังนี้

ศักยภาพในการกลั่นผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างของแต่ละโรงกลั่นนั้นไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกันด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ มีผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิตสนองความต้องการของตลาดต่างกัน รวมไปถึงประเภทของน้ำมันดิบที่ใช้ในการกลั่นที่มีหลากหลาย ดังนั้นจึงไม่สามารถนำค่าการกลั่นมาพิจารณาเป็นกำไรได้ เพราะว่ามีตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาทิ ต้นทุนราคาน้ำมันดิบในแต่ละสถานการณ์ที่ผันแปร อีกทั้งโรงกลั่นน้ำมันแต่ละโรงจะต้องรับความเสี่ยงของธุรกิจของตน เพราะในสภาวะที่ค่าการกลั่นต่ำจนผลประกอบการติดลบ โรงกลั่นก็ต้องรับความเสี่ยงนี้เองด้วย จึงไม่ถือว่าเป็นลาภลอย เนื่องจากมีทั้งโอกาสที่ขึ้นและลงได้พอๆ กัน

บทสรุปคำแนะนำจากสามวิทยากรในการสัมมนานี้คือ โรงกลั่นต้องปลอดจากการแทรกแซงจากภาครัฐ เพื่อให้การทำธุรกิจเป็นไปตามกลไกทางการตลาด สร้างความมั่นคงทางพลังงาน มีน้ำมันใช้ ลดผลกระทบของเงินเฟ้อ อีกทั้งภาครัฐพึงมีกลไกในการให้ความรู้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก้ประชาชน เพื่อพี่น้องประชาชนจะได้ตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงของราคาน้ำมันที่แท้จริง และที่สุดก็คือควรปล่อยให้ราคาน้ำมันขึ้นลงตามความเป็นจริง กองทุนน้ำมันควรจะลดบทบาทในการอุ้มราคา แต่ควรทำหน้าที่ Buffer ในการทำธุรกิจมากกว่าที่จะไปอุดหนุนผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ทำให้กลไกของกองทุนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ อาทิ การอุ้ม LPG อย่างในปัจจุบัน

ท้ายที่สุด ข้อแนะนำจากวิทยากรในการเสวนานี้ในการแก้ปัญหาคือ ควรมีการบูรณาการข้ามกระทรวง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม รวมถึงภาคประชาสังคมและองค์กรธุรกิจ ในการช่วยกันประหยัดพลังงาน และแก้ปัญหาคอขวด โดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์ ที่เป็นต้นทุนในการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค และต้นทุนในการขนส่งของประชาชน รวมทั้งภาระในการขนส่งสำหรับผู้ประกอบการรถสาธารณะ เป็นต้น และถ้าจะมีการช่วยเหลือ ควรเป็นการช่วยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อน และไม่มีศักยภาพในการรับมือ จะเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อย่างแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เอ็กซ์เผิง’ยกทัพโชว์นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า-เทคโนโลยีสุดล้ำ! ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45

ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 7 เมษายน 2567 นี้มีหลายค่ายรถยนต์ขนทัพสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ

'พีระพันธุ์' สั่งการ ปตท. เร่งแก้ปัญหาปั๊มน้ำมัน จ่ายน้ำมันให้ผู้ใช้บริการไม่เต็มลิตร

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga” ระบุว่า เมื่อวานบ่ายๆ ผมได้รับรายงานเรื่องปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งจ่าย

กลุ่ม ปตท. จุดพลัง “สุดยอดนักขาย” และ “สุดยอดไอเดียการตลาด” มอบรางวัล Young Influencer Challenge Thailand 2023

ส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ นิสิต นักศึกษา 10 มหาวิทยาลัย สร้างยอดขายสินค้าชุมชน ผ่านเว็บไซต์ ‘ชุมชนยิ้มได้’ รวมกว่า 540,000 บาท สร้างทักษะการตลาดให้ชุมชนเข้มแข็ง

ปตท. ได้รับยกย่อง “หุ้นยั่งยืน” ระดับสูงสุด AAA พร้อมคว้ารางวัลเกียรติยศด้านความยั่งยืนและนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2023

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2023 ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เอ็นอาร์พีที โชว์ศักยภาพ เปิดโรงงาน Plant & Bean ผลิตแพลนท์เบส ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

“เอ็นอาร์พีที” (NRPT) บริษัทร่วมทุน อินโนบิก-เอ็นอาร์เอฟ ลุยตลาดโภชนาการเพื่อสุขภาพ เปิดโรงงาน แพลนท์ แอนด์ บีน (ประเทศไทย) ผลิตอาหารโปรตีนจากพืช