นักเศรษฐศาสตร์ชี้ประเทศไทยต้องสร้าง “อธิปไตยทางเทคโนโลยี” เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ วิเคราะห์การควบรวมกิจการทรูดีแทคนำทางสู่การเป็นบริษัทโทรคมนาคมไทยที่แข็งแกร่ง

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ประเทศไทยต้องสร้าง “อธิปไตยทางเทคโนโลยี” เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ วิเคราะห์การควบรวมกิจการทรูดีแทคนำทางสู่การเป็นบริษัทโทรคมนาคมไทยที่แข็งแกร่ง ชี้ดัชนี HHI วัดการกระจุกตัว บางประเทศ HHI สูง แต่ราคาต่ำ ผู้บริโภคไทยมี กสทช.และกขค.กำกับดูแล

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง เปิดเผยถึงมุมมองต่อกรณีการควบรวมทรูดีแทคในประเทศไทยว่า การควบรวมกิจการระหว่างบริษัทโทรคมนาคมไทยคือทรูและดีแทค กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ จะส่งผลให้เกิดบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีคมนาคม ซึ่งเป็นประโยชน์สร้างอำนาจอธิปไตยทางด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้เพราะโทรคมนาคมคือโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีผลการการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะในยุคปฏิวัติอุตสากรรม 4.0 ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีบริษัทไทยที่เป็น Tech Company ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะช่วยให้เกิดการแข่งขันได้ ส่วนประเด็นเรื่องดัชนี HHI ที่วัดการกระจุกตัวนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า HHI สูงจะส่งผลต่อราคาค่าบริการ ทั้งนี้เพราะในหลายประเทศ HHI สูงแต่ค่าบริการต่ำ เช่น จีน เป็นต้น  อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้สำหรับประเทศไทยเรามีหน่วยกำกับดูแลและคุ้มครองผู้บริโภค คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เป็นกลไกสำคัญในการควบคุมดูแลราคาค่าบริการเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน

ทั้งนี้ ในส่วนตัวมองว่าการผูกขาดไม่ใช่การพิจารณาจากจำนวนผู้ประกอบการเท่านั้น เนื่องจากในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ต้องลงทุนสูงจึงมีผู้ประกอบการน้อยราย  แต่สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือเรื่องการบิดเบือนตลาดที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งนี้เพราะดัชนี HHI การกระจุกตัวไม่ใช่การมีอำนาจเหนือตลาด

“การควบรวมกิจการในตัวของมันเองนั้น ไม่ใช่ไม่ดี สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการ Synergy หรือการผนึกกำลัง จะทำให้เกิด Economies of scale หรือ การประหยัดจากขนาด  ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ และบริการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการขยายโครงข่าย 5G รวมทั้งอาจนำไปสู่การปรับลดราคาค่าบริการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันยังสนับสนุน New S-Curve หรือ กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึง ธุรกิจ SMEs  และกลุ่ม  Start Up ด้วย” รศ.ดร.สมชาย กล่าว

“ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาการควบรวมระหว่างทรูและดีแทค จึงต้องรอบคอบและมองให้รอบด้านทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และทางการเมืองระหว่างประเทศ ว่าหากเกิด Tech Company สัญชาติไทยที่เข้มแข็ง ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง และในส่วนของความกังวลเรื่องค่าบริการว่าอาจสูงขึ้นหากเกิดการควบรวมนั้น เรามีกลไกของภาครัฐทั้งจากกระทรวงพาณิชย์ และกสทช.ที่ควบคุมเพดานราคาไม่ให้ส่งผลกระทบถึงผู้บริโภค”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้รับฟ้องเพิกถอนควบรวม ทรู-ดีแทค

ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยให้รับคำฟ้องของผู้บริโภค 5 รายในคดีขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) กรณีรับทราบ

เปิดมาตรการเข้มคุ้มครองผู้บริโภค หลัง 'กสทช.' มีมติรับทราบควบรวมทรู-ดีแทค

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม  หลังมีมติ

ดีลควบรวม 'ทรู-ดีแทค' ฉลุย 'กสทช.' มีมติรับทราบ พร้อมกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค

มีรายงานว่าในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

'ทรู - ดีแทค' ลุ้นควบรวมคืบยันไม่ฟ้อง 'กสทช.' แน่หากดีลล้ม

กสทช.” ไม่มีแผนจะฟ้อง หาก ดีล “ทรู-แทค” ล้ม มั่นใจ หวังได้ความชัดเจนก่อนทำเทนเดอร์ช่วงส.ค. 65 “บิ๊ก เทเลนอร์” กดดัน “กสทช. ย้ำ เลยเวลาเกือบ 2 เดือน อยากให้รักษาเวลาตามกฏหมาย