สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต ไทยเบฟ...กับการพัฒนาชุมชน

Corporate Social Responsibility หรือระบบซีเอสอาร์ ถือเป็นกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมของภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลของการสร้างภาพลักษณ์องค์กร กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ ตลอดจนเป็นภาคบังคับสำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องปฏิบัติตามกฏกติกา

แต่ต้องยอมรับว่า ซีเอสอาร์นั้นเป็นการคืนกำไรให้กับสังคมรูปแบบหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่ารูปแบบการตอบแทนสังคมของผู้ประกอบการบางรายเริ่มเปลี่ยนไป เพราะผู้ประกอบการเหล่านี้เชื่อว่าธุรกิจไม่ควรเป็นฝ่ายรับจากสังคมอย่างเดียว แต่ควรคืนสู่สังคม แม้จะเป็นเพียงส่วนเล็ก แต่ถ้าทุกองค์กรช่วยกัน การช่วยเหลือก็จะยิ่งใหญ่

บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะโครงการ “ไทยเบฟ...รวมใจต้านภัยหนาว” ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 โดยมอบผ้าห่มไทยเบฟผืนอุ่นสีเขียวให้กับพี่น้องผู้ประสบภัยหนาวในภาคเหนือและภาคอีสาน จนเป็นที่รู้จักและกล่าวขานกันอย่างทั่วถึง

อย่างไรก็ดี ที่น่าสนใจคือ มาถึงวันนี้ รูปแบบการคืนกำไรสู่สังคมของ “ไทยเบฟ” นั้น มิใช่ย่ำอยู่กับการแจก การบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะกิจเฉพาะสถานการณ์ หรือจัดกิจกรรมตามเทศกาลเพียงเท่านั้น แต่บริษัทดังกล่าวถือเป็น “ต้นแบบ” ในการ่วมสร้างความยั่งยืนสู่สังคมภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ด้วยการวางยุทธศาสตร์ให้ชุมชนสร้างความเข้มแข็งด้วยตนเอง ตามศาสตร์พระราชาที่่ดำริว่า ..ให้เบ็ดดีกว่าให้ปลา

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) วางนโยบายเดินตามรอยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการให้จัดตั้งหน่วยงาน “โครงการพัฒนาชุมชน” ภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนด้วยความเชื่อมั่นว่า “การสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” คือรากฐานที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน โดยสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสร้างพื้นที่ต้นแบบที่ให้การสนับสนุนระหว่างชุมชนที่เข้มแข็งกับภาคธุรกิจ โดยมีเป้าหมายคือ ต้องการสร้างชุมชนต้นแบบในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อร่วมกันพัฒนา เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ ที่สำคัญต้องการยกระดับชุมชนให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม สร้างเศรษฐกิจระดับชุมชน โดยมีหลักการดำเนินงาน 4 ด้านหลัก

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยอวด'วิญญาณข้ามสมุทร' งานเวนิส เบียนนาเล่

เริ่มแล้วนิทรรศการ “The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร” ผลงานศิลปะที่จะแสดงศักยภาพศิลปินไทยและอาเซียนบนเวทีระดับโลก งานนี้ มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)  ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญจากภาครัฐ

เทศกาลสร้างสรรค์'3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน'

งานเฟสติวัลในย่านเก่าเป็นอีกกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อมให้มหานครมีมิติร่วมสมัยควบคู่ไปกับการดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม สีสันความสนุกที่เคลือบด้วยสาระและคุณค่าของย่านกะดีจีนจะเกิดขึ้นในงานเทศกาล ” 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน”

ปักหมุด The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร โชว์ไกลถึง นครเวนิช

มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญจากภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายพันธมิตร ทุกภาคส่วน

สงกรานต์ริมคลองรอบกรุง 'คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน-วัดบพิตรพิมุข'

สงกรานต์นี้เปิดเส้นทาง “คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน- วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร” เลาะเลียบคลอง ชมสตรีทอาร์ต เรียนรู้ประวัติศาสตร์พหุวัฒนธรรมให้เย็นฉ่ำชื่นใจ ถือเป็นพื้นที่น้องใหม่งาน Water Festival 2024 พร้อมเชิญร่วมกิจกรรมมงคล ย้อนวันวานตักบาตรริมคลองยามเช้า

'ชีวิตนี้ชะตาลิขิต'บันทึก 7 รอบนักษัตร'สุเมธ ตันติเวชกุล'

ครั้งแรกของการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รวบรวมไว้ในหนังสือ “ชีวิตนี้ชะตาลิขิต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ”

ผลงาน 15 ศิลปินอาเซียนในเวนิส เบียนนาเล่

ศิลปินอาเซียนจะได้เข้าร่วมในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส  เบียนนาเล่ หรือ International Art Exhibition La Biennale di Venizia ครั้งที่ 60 แสดงศักยภาพผ่านนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร และจะมีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่องใหม่