ชาวโลกกำลังกังวลใจกับประเด็นเรื่องห้องแล็บทางชีววิทยาของสหรัฐอเมริกา

เมื่อเดือน สิงหาคม พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา องค์กรเอกชนที่ใช้ชื่อว่า สมาคมวัฒนธรรมและการศึกษาความปลอดภัยจากอัคคีภัยของเกาหลีใต้ ได้ฟ้องห้องแล็บทางชีวเคมีในฐานทัพสหรัฐฯ ที่ประจำเกาหลีใต้  รวมถึงศูนย์การทหาร Fort Detrick ในสหรัฐฯต่อศาลแขวงปูซาน ด้วยเหตุผล "กระทำกิจกรรมผิดกฎหมายในห้องปฏิบัติการ"

การต่อต้านครั้งนี้มาจากความหวาดกลัวของคนในเกาหลีใต้ เพราะตั้งแต่ปี  พ.ศ.2552 ถึงปี  พ.ศ.2558 กองทัพสหรัฐฯ ได้ส่งเชื้อแบคทีเรียแอนแทรกซ์ไปยังกองทัพสหรัฐที่ประจำการอยู่ในเกาหลีใต้ 15 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2559 มีการเปิดเผยว่ากองทัพสหรัฐประจำการในเกาหลีใต้ได้จัดตั้งและดำเนินการห้องปฏิบัติการทางชีวเคมีที่ท่าเทียบเรือหมายเลข 8 ในท่าเรือปูซาน ซึ่งไวรัสอันตรายเหล่านี้ล้วนมาจาก Fort Detrick

ตามรายงานของสื่อเกาหลีใต้ ในฐานะประเทศมหาอำนาจทางการทหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก สหรัฐอเมริกามีฐานทัพทหารในต่างประเทศมากกว่า 700 แห่งและห้องแล็บทางชีวภาพในต่างประเทศจำนวนมาก รัสเซียเพิ่งเปิดเผยหลักฐานสำคัญที่กล่าวหาว่าสหรัฐฯ ทำการวิจัยและพัฒนาอาวุธชีวภาพในยูเครนไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้เอง ไม่ว่าสหรัฐอเมริกาจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม การมีอยู่ของห้องแล็บทางชีววิทยาก็เป็นความจริงอยู่ และมีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกามีห้องแล็บทางชีววิทยา 336 ห้องใน 30 ประเทศทั่วโลก

การมีอยู่ของห้องแล็บทางชีววิทยาในต่างประเทศสอดคล้องกับแผนการพัฒนาห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพขั้นสูงของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพของรัฐบาลสหรัฐฯ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  Biolabsในสหรัฐฯได้ทำการศึกษาเกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงไวรัสที่มีความเสี่ยงสูงหลายโครงการด้วยเงินทุนจากรัฐบาลและการทหารของสหรัฐอเมริกา นักวิเคราะห์กล่าวว่า สาเหตุที่สหรัฐฯ จำเป็นต้องสร้างห้องแล็บทางชีววิทยาเพิ่มเติมในต่างประเทศก็เพราะว่า "วอชิงตัน"ต้องหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภายในประเทศ

นอกจากนี้ สหรัฐฯยังได้ลงนามในข้อตกลงลับเพื่อมอบหมายให้ประเทศอื่นๆช่วยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ แน่นอนว่าการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในห้องแล็บต่างประเทศนั้นย่อมนำมาซึ่งความอันตราย แต่สำหรับ"วอชิงตัน"แล้วนี่เป็นแค่มาตรการกระจายความเสี่ยงที่คุ้มค่าเท่านั้นเอง แม้ถูกกล่าวหามาหลายต่อหลายครั้ง สหรัฐฯก็ยังคงปฏิเสธว่าได้ทำกิจกรรมด้านชีววิทยาทางทหารในห้องแล็บในต่างประเทศ

หลังเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ประเด็นเรื่องห้องแล็บทางชีววิทยาของสหรัฐอเมริกาก็ถูกจับตามองอีกครั้ง

ตามรายงานจากสื่ออังกฤษอย่าง Daily Mail เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลังกองทหารรัสเซียได้บุกเข้าไปยูเครน มีคนสงสัยว่าความลับของห้องแล็บทางชีววิทยาของสหรัฐในยูเครนรั่วไหลออกไปหมด โดยนายอิกอร์ คิริลลอฟ (Igor Kirillov) ผู้บัญชาการของกองทหารป้องกันทางชีวเคมีของกองทัพรัสเซียได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจต่อสาธารณชนว่า "การทดลองยาของอเมริกา" ในยูเครนทำให้กองทัพยูเครนเสียชีวิตจำนวนมาก กองทัพรัสเซียยังเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ"โครงการ UP-8"ซึ่งเป็นการทดลองยา ขณะที่กองทัพยูเครนมี "อาสาสมัคร" มากกว่า 4,000 คนได้ร่วมทำการทดสอบยาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม นายอิกอร์ คิริลลอฟอ้างสื่อของบัลแกเรียว่า "การทดลอง" ในห้องแล็บนี้ทำให้นายทหารยูเครนเสียชีวิตไป 20 นาย และอีก 200 นายถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล   

"ห้องแล็บลับ" แบบดังกล่าวถูกห้ามในสหรัฐอเมริกา แต่สหรัฐฯกลับได้"สนับสนุน" โครงการเหล่านี้โดยตรงในยูเครน เครือข่าย "ห้องปฏิบัติการชีวภาพ" ของยูเครนก็รั่วไหลเช่นกันหลังจากกองทัพรัสเซียบุกยูเครน และรัสเซียได้ค้นพบเครือข่ายที่ควบคุมโดยเดอะเพนตากอนโดยตรง ซึ่งเกี่ยวข้องกับ "ห้องปฏิบัติการชีวภาพ" มากกว่า 30 แห่ง

แม้แต่สื่อของอังกฤษก็เริ่มสงสัยแล้วว่าไวรัสโควิด-19 ตัวใหม่ที่บุกรุกโลกอาจเป็น"Made in America" ก็เป็นได้ สาเหตุที่ตั้งข้อสังเกตคือ " Daily Mail" ได้รายงานว่า บริษัท Moderna ของสหรัฐ ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรทางชีวภาพเกี่ยวกับยีนในปี พ.ศ.2559 แต่ Gene fragment ที่เกี่ยวข้องถูกค้นพบในยีนของไวรัส Covid-19 ถูกระบุว่าเป็นการค้นผบใหม่ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยังจากนักวิจัยในอังกฤษด้วย

หลังถูกรัฐบาลรัสเซียกล่าวหาว่ามีห้องปฏิบัติการอาวุธเคมีและชีวภาพในยูเครน สหรัฐฯพยายามเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณชนจากปัญหานี้ ด้วยความเชื่อที่ว่า "การโจมตีเชิงรุกคือการป้องกันที่ดีที่สุด"  กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯพยายามกล่าวหามอสโกว่ากำลังใช้เรื่องนี้เพื่อปกปิดความตั้งใจของกองทัพรัสเซียในการใช้อาวุธชีวภาพหรืออาวุธเคมีในระหว่างการปฏิบัติการพิเศษทางทหาร

นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังพยายาม "สยบข่าวลือ" ผ่านสถานทูตและสถานกงสุลทั่วโลก เมื่อไม่นานนี้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในเวียดนามได้โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดียว่า"ยูเครนเป็นพื้นที่สะอาดและปลอดจากอาวุธชีวภาพและเคมี" และได้โจมตีว่ารัสเซียเป็น"ผู้ใช้อาวุธชีวภาพ"ก่อเหตุบ่อยครั้ง

อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ ผู้คนในภูมิภาคนี้ยังตื่นตัวกับแนวปฏิบัติของสหรัฐๆอยู่ ภายใต้บทความของสถานทูตสหรัฐฯ ในเวียดนาม ชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยได้แสดงความคิดเห็นแบบประชดประชันต่อ"การสยบข่าวลือ" ของสหรัฐฯ มีคนตั้งคำถามกลับไปว่าสหรัฐฯ ยังจำการใช้ "Agent Orange" กับเวียดนามได้หรือไม่ในช่วงสงครามเวียดนาม บางคนยังอ้างถึงความโหดร้ายของสหรัฐฯ ต่ออิรักเมื่อ 20ปีที่ผ่านมา โดยชี้ให้เห็นว่าสหรัฐฯ เผยแพร่ข่าวลือว่าอิรักครอบครองอาวุธชีวภาพและเคมีขนาดใหญ่ และบุกโจมตีประเทศอธิปไตยด้วยข้ออ้างนี้ในปี พ.ศ.2546 ตามลำดับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทีมบาสอเมริกา แบโผ 11 ผู้เล่นจัดเต็ม ลุยศึกยัดห่วงโอลิมปิก 2024 ที่ฝรั่งเศส

บาสเกตบอลทีมชาติสหรัฐอเมริกา ประกาศรายชื่อ 11 ผู้เล่น ชุดลุยการแข่งขันยัดห่วงในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก 2024 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่เรียบร้อย นำทัพมาโดย เลบรอน เจมส์, สตีเฟน เคอร์รี และเควิน ดูแรนต์

'ศุภณัฏฐ์' ซูเปอร์ซับ ช่วยซัดให้ 'ช้างศึก' ไล่เจ๊า 'เกาหลีใต้' 1-1 คัดบอลโลก 2026

ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสอง วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นการลงสนามนัดที่ 3 ในรอบแบ่งกลุ่ม "โสมขาว" ทีมชาติเกาหลีใต้ เปิดโซล เวิลด์ คัพ สเตเดียม ต้อนรับการมาเยือนของ "ช้างศึก" ทีมชาติไทย

'ชัย' สบช่อง! อวยผลสำเร็จรัฐบาลทำไทยรั้งอันดับ 2 ประเทศกำลังพัฒนาที่น่าลงทุน

โฆษกรัฐบาล เผยไทยอันดับ 2 กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียที่น่าลงทุนที่สุดจากสถาบัน Milken เชื่อมั่นผลการทำงานรัฐบาลเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม พร้อมผลักดันให้ไทยอยู่ในเรดาร์น่าลงทุนในโลก

'ลี แยวอน'สมราคามือ1 คว้าแชมป์'KLพีจีเอ บลูแคนยอนฯ'ภูเก็ต ฟันไป4ล้าน

ลี แยวอน โปรสาวเกาหลีวัย 21 ปี เล่นได้ใจแฟนคลับสมราคาดีกรีมือ 1 เคแอลพีจีเอ ทัวร์ จากปีที่แล้ว เก็บ 4 อันเดอร์พาร์ 68 รวมสามวัน 9 อันเดอร์พาร์ 207 พลิกแชมป์รับเงินเข้ากระเป๋าอีก 117,000 เหรียญสหรัฐ (4.095 ล้านบาท) ชนะ ชเว มินคยุง ที่จบอันดับ 2 แบบฉิวเฉียดเพียงสโตรคเดียว ขณะที่ บัง ชินซิล ผู้นำจากรอบที่แล้ว เล่นพลาดช่วงท้ายในรอบ 9 หลุมหลัง จบรวมสามวัน 5 อันเดอร์พาร์ 211 คว้าอันดับ 4 ร่วม

จบทริปเยือนเกาหลีใต้ ได้สวย ! "พิพัฒน์" หารือ รมว.แรงงานเกาหลี เพิ่มโควตารัฐจัดส่งแรงงานอีก 15%

วันที่ 14 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน และนายสมาสภ์