Grand Opening Advanced wound care Center หยุดแผลเรื้อรังแบบไม่ลุกลาม ด้วยเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์

ปัจจุบันการรักษาทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งเน้นในการรักษาคนไข้ ให้กลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วยิ่งขึ้น ทางโรงพยาบาลพญาไท3ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการรักษารูปแบบใหม่ๆอยู่เสมอมา โดยการดูแลรักษาที่สำคัญ ซึ่งหลายท่านอาจจะมองข้ามไป นั่นคือการดูแลบาดแผล หลายท่านอาจเคยคิดว่าการล้างแผล ทำแผล เป็นเรื่องพื้นฐานที่ไม่ต้องใช้เทคนิคในการดูแล แต่ในความเป็นจริง การเกิดบาดแผลเพียงเล็กน้อย หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว อาจจะเกิดการติดเชื้อและลุกลาม ส่งผลให้เกิดปัญหาใหญ่ในการรักษาพยาบาลขึ้นมาได้ในภายหลัง

นายแพทย์สุรพล โล่ห์สิริวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท3 ได้ให้ความสำคัญในการยกระดับด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมกับสร้างความเชื่อมั่นในการรักษา จึงได้เปิดศูนย์ “ Advanced Wound Care Center หยุดแผลเรื้อรังแบบไม่ลุกลาม ด้วยเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ “ ถือเป็นอีกหนึ่งการยกระดับการดูแลบาดแผลด้วยแพทย์เฉพาะทาง และมีการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งวัสดุการดูแลการปิดแผลที่ทันสมัย การใช้เทคโนโลยีการตัดเนื้อตายด้วยพลังน้ำ (Hydrosurgery ) ช่วยส่งเสริมการหายของบาดแผลโดยไม่รบกวนคุณภาพชีวิต เพื่อดูแลคนไข้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผศ.นพ.ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์ แพทย์หัวหน้าศูนย์ศัลยกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง โรงพยาบาลพญาไท3 กล่าวว่า “ การรักษาบาดแผล หลายคนอาจมองข้ามและคิดว่า เป็นเรื่องเล็กน้อยที่สามารถรักษา ด้วยการเข้ามาล้างแผล ทายา รับประทานยาตามปกติ แต่ในมุมมองทางการรักษาบาดแผลนั้น แผลที่พบเจอทางการแพทย์มีด้วยกันมากมายหลายรูปแบบ อาทิเช่น แผลจากโรคเบาหวานแผลติดเชื้อ แผลกดทับ แผลที่มีปัญหาจากหลอดเลือด แผลเนื้อตาย แผลเรื้อรังมากกว่าหรือเท่ากับ4สัปดาห์ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยสารสารเคมี  ซึ่งเหล่านี้ต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการดูแล พร้อมเครื่องมือและวัสดุการรักษา ที่มีเทคโนโลยีการรักษาที่ล้ำสมัย ซึ่งในศูนย์ Advanced Wound    

Care Center โรงพยาบาลพญาไท3 มีทีมแพทย์ศัลยศาสตร์เฉพาะทาง ด้านการรักษาแผล ด้านหลอดเลือด ด้านศัลยศาสตร์ตกแต่ง ที่จะช่วยประเมินบาดแผลอย่างเจาะลึก เพื่อหาสาเหตุของแผลเรื้อรังนั้นๆ แล้วดำเนินการรักษาตั้งแต่ระดับสาเหตุ ที่ทำให้กระบวนการการหายของแผลล่าช้า ร่วมกับทีมแพทย์อายุรกรรม ที่จะคอยควบคุมปัจจัยเสี่ยง ที่มีผลเชื่อมโยงต่อการหายของแผล ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการขจัดเนื้อตาย แบบลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่ออบข้าง และใช้วัสดุแปะแผลที่ออกแบบมาเฉพาะ ให้สอดคล้องกับตัวโรคและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่ต้องทำแผลทุกวัน แต่แผลหายได้ไวกว่า ได้ประสิทธิภาพมากกว่า ด้วยเทคโนโลยีการดูแลบาดแผลขั้นสูง ( Advance Wound Care Technology ) เพื่อเอื้อต่อการหายของแผล และลดการเกิดแผลเป็นในอนาคต นอกจากการดูแลบาดแผลแล้ว ศูนย์Advance Wound Care ยังมีการดูแลสุขภาพองค์รวม โดยทีมสหสาขา ร่วมกับนักกายภาพบำบัด นักกำหนดอาหารวิชาชีพ และพยาบาลวิชาชีพ เพื่อป้องกันและลดโอกาสการเกิดแผลในอนาคต ผู้ป่วยจึงมั่นใจได้ว่า จะสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในเร็ววัน และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติเร็วขึ้นอย่างแน่นอน “

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“Money 20/20 Asia” ปักหลักจัดที่ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ นาน 3 ปี ส่งเสริมไทยสู่ศูนย์กลางฟินเทคชั้นนำของเอเชีย

ปรากฏการณ์โชว์ฟินเทคระดับโลกของ Money 20/20 ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นโชว์ด้านการเงินที่ขับเคลื่อนและสร้างธุรกิจ ที่เตรียมเปิดประตูบานใหม่สู่ “Money 20/20 Asia” ครั้งแรกของเอเชีย

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน

นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงเหตุไฟไหม้โกดังเก็บกากของเสียอุตสาหกรรมของบริษัท วิน โพรเสส จำกัด อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

เซ็นทารา เปิดตัว “โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ” โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง

ประสบการณ์ความสนุกครั้งใหม่ในสปป.ลาว กับโรงแรมไลฟ์สไตล์แห่งแรกในเวียงจันทน์ พร้อมห้องพักทันสมัย ดีไซน์เรียบง่าย และเทคโนโลยีเชื่อมต่อสุดล้ำ

เช็คก่อนแตะ!! ก่อนใช้บัตรเครดิต/เดบิตเดินทางด้วยรถไฟฟ้า MRT ต้องรู้อะไร?

ในโลกของสังคมไร้เงินสดในปัจจุบันนี้ เราสามารถใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นด้วยแอปพลิเคชั่นและบัตรใบเดียว สำหรับการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะประเภทต่าง ๆ

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า