4 ทศวรรษ กับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถพิตร เกี่ยวกับโครงการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อความกินดีอยู่ดี หรือพออยู่พอกินให้แก่ประชาชนในชนบทที่อยู่ห่างไกลและยากจน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีส่วนสำคัญที่เข้าไปเสริมแผนงานต่างๆ ของรัฐบาลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงเป็นส่วนรวม

ในการปฏิบัตินั้น หากจะปล่อยให้การดำเนินงานสนองพระราชดำริของหน่วยงานต่างๆ เป็นไปอย่างในอดีตที่ผ่านมา ที่แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการอย่างเอกเทศต่างฝ่ายต่างทำไม่มีการประสานงานกับหน่วยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีองค์กรระดับชาติรับผิดชอบเรียกว่า "คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" หรือเรียกโดยย่อว่า "กปร."

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2524 นายลลิต ถนอมสิงห์ เลขาธิการ กปร. เปิดเผยว่าปัจจุบันโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีทั้งหมด 5,151 โครงการ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 9 จนถึงรัชกาลที่ 10 พระองค์ทรงให้ความสำคัญในการพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพของราษฎร ตลอดถึงพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 แห่ง ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อศึกษาทดลองจนประสบความสำเร็จแล้วขยายผลสู่การนำไปปฏิบัติใช้ของราษฎร โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจึงนับเป็นโอกาสของประชาชนที่จะเข้าไปเรียนรู้และนำสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพ
อย่างเช่น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จ.สกลนคร ที่นอกจากการศึกษาทดลองด้านพันธุ์พืชแล้วยังมีด้านสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม นำมาเป็นอาหารในครัวเรือน และขายได้ เช่น 4 ดำภูพานแล้ว ประกอบด้วย ไก่ดำภูพาน สุกรภูพาน โคทาจิมะ (โคเนื้อ) และกระต่ายดำ ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงความสำเร็จด้านการพัฒนาพันธุ์สัตว์ และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างชัดเจน

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวทาง และวางรากฐานไว้ว่าการพัฒนานั้นต้องเป็นการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองเพื่อให้ตนเองเกิดความเข้มแข็ง และผู้อื่นก็สามารถที่จะดำเนินการได้ด้วยการเพิ่มทักษะ องค์ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกที่ดีมีคุณธรรมต่อตนเองและผู้อื่น เหล่านี้เป็นพื้นฐานความคิดที่ดีที่ถูกต้อง สามารถนำไปเป็นแนวทางพัฒนาและปรับใช้ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในทุกๆ ด้าน เป็นสัมฤทธิ์ผลได้” นายลลิต ถนอมสิงห์ เลขาธิการ กปร. กล่าว

“41 ปีที่ผ่านมาทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง เพราะเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักคือประโยชน์สุขของประชาชน และต่อจากนี้จะมีการสืบสานรักษาต่อยอดตามพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการขัยเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในทุกด้านให้บรรลุผลตามพระราชประสงค์ต่อไป” เลขาธิการ กปร. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินหน้าสร้างเครือข่ายขยายผลการพัฒนา “คน กปร ตัวคูณ “ ขยายผลนักพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (พพร.) รุ่นที่ 12 ปี 2568

บุคลากร ภาครัฐ เอกชน ร่วมภารกิจ คน กปร.ตัวคูณ ในโครงการนักพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (พพร.) เรียนรู้ประยุกต์ใช้ ขยายผลการพัฒนาตามแนวพระราชดําริกับบริบทการพัฒนาประเทศที่ท้าทายในปัจจุบัน สานต่อพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สืบสาน รักษา

กปร. – มหาวิทยาลัยมาเลเซีย ลงนาม MOU แลกเปลี่ยนด้านเกษตรกรรม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านเกษตรกรรม สร้างสะพานเชื่อมระหว่างสาขาวิชาและพรมแดน เผย เป็นเวทีสำคัญในด้านวิชาการและขยายผล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ

สศก. ร่วมภาคีเครือข่าย เปิดเวทีสัมมนาผลสำเร็จโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ปี 2568

นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิด การสัมมนา “ผลการติดตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการที่มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

'ในหลวง พระราชินี' เสด็จฯกลับไทยจากการเยือนภูฏาน กษัตริย์จิกมี ราชินีเจตซุน ส่งเสด็จฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากโรงแรมที่ประทับเพมาโกะ ทิมพู ไปยังป้อมดุงการ์ ณ เมืองพาโร ทรงสักการะพระศากยมุนี

รักษาความสมดุลของน้ำใต้ดิน ด้วยระบบกักเก็บน้ำในถ้ำ เพิ่มน้ำต้นทุนพื้นที่ต้นน้ำ

“นับเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ที่ทำให้พื้นที่สูงในพื้นที่ภาคเหนือมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ทั้งน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน มีหนึ่งเดียวในประเทศไทย ทำให้ทุกคนมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีอย่างเพียงพอทั้งอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร สร้างความชุ่มชื้นและความสมบูรณ์ให้พื้นที่เพาะปลูกได้เป็นอย่างดี” นางสาวนภัสสร เมืองเมา หนึ่งในเกษตรกรผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการระบบกักเก็บน้ำในถ้ำตามพระราชดำริ