‘ดร.เจิมศักดิ์’ ร่วมงาน ‘ตลาดนัดความรู้’ ที่ พอช. แนะสร้างระบบชุมชนเข้มแข็ง

ดร.เจิมศักดิ์  ปิ่นทอง  ร่วมงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ที่ พอช.

พอช. / ดร.เจิมศักดิ์  ปิ่นทอง  ร่วมงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ที่ พอช.  บรรยายพิเศษเรื่อง ชุมชนต้องเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์อนาคตที่ท้าทาย’  แนะชุมชนสร้างระบบเพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตัวเอง  เช่น  สร้างระบบการออม  เตรียมอาชีพสำรอง  รองรับสังคมสูงวัย  ฯลฯ  ขณะที่เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทั้ง 5 ภูมิภาคเตรียมนำความรู้  ประสบการณ์  ข้อเสนอจากการจัดงานครั้งนี้ไปขับเคลื่อนให้เห็นผลเป็นรูปธรรมต่อไป

ระหว่างวันที่ 12-13  กันยายนนี้  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ ร่วมกับขบวนองค์กรชุมชนและภาคีเครือข่าย  จัดงาน ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ขึ้นที่สถาบันฯ  ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  โดยมีผู้แทนชุมชนต่างๆ  และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประมาณ  300 คน

นายกฤษดา  สมประสงค์  ผอ.พอช.

การจัดงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. นำเสนอรูปธรรมความสำเร็จของเครือข่าย องค์กรชุมชนที่นำไปสู่ตำบลเข้มแข็ง  2.เพื่อนำเสนอองค์ความรู้การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้รูปธรรมตำบลนวัตกรรม เข้มแข็ง  และ 3.เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการขับเคลื่อนงานพัฒนาโดยชุมชนเป็นแกนหลัก  และนำข้อเสนอไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาชุมชน   และเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมสนับสนุนและผลักดันเชิงนโยบายต่อไป

ส่วนรูปแบบการจัดงานมีการอภิปรายจากวิทยากรที่ทรงความรู้  การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานพัฒนาพื้นที่ตำบลรูปธรรม  การจัดนิทรรศการนำเสนอผลงาน  การออกร้านจำหน่ายและแสดงสินค้าจากพื้นที่ตำบลรูปธรรม  ฯลฯ  โดยในวันนี้ (13 กันยายน) เป็นการจัดงานวันสุดท้าย  มีการอภิปรายและนำเสนอผลการศึกษาพื้นที่รูปธรรมตำบลเข้มแข็งทั่วประเทศ

ผู้แทนชุมชนต่างๆ ทั่วภูมิภาค  และผู้แทนหน่วยงาน  นักวิชาการ  ร่วมงานทั้งสองวันประมาณ 300 คน

ดร.เจิมศักดิ์แนะสร้างระบบชุมชนเข้มแข็ง

ดร.เจิมศักดิ์  ปิ่นทอง  นักเศรษฐศาสตร์  (ประธานคณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย : ไทยพีบีเอส) บรรยายพิเศษเรื่อง ชุมชนต้องเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์อนาคตที่ท้าทาย’  มีเนื้อหาสรุปว่า แนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของประเทศไทยภายใต้การเผชิญปัญหาต่างๆ มากมายที่รุมล้อม ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ  สังคมสูงวัยที่กำลังจะขาดแรงานงานในอนาคต

ดร.เจิมศักดิ์  ปิ่นทอง

ดังนั้นจึงต้องจัดการชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์นี้ คือ  ต้องมีการสร้างระบบชุมชน และการบริหารจัดการแนวคิด ต้องพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด โดยมีแนวทางการจัดการตนเองจากระดับครัวเรือนที่ทำได้ง่าย หลายประการสำคัญ ดังนี้

1.การจัดการระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น  โดยการสร้างอาชีพสำรอง  เสริมสร้างรายได้จากการแสวงหาอาชีพสำรองที่ต้องการ  รวมถึงการออมเงินตั้งแต่แรกเริ่ม  เพื่อใช้จ่ายในอนาคต  เช่น  การออมเงิน  การออมต้นไม้  สร้างระบบการออมหลากหลายวิธี  เปลี่ยนวิธีคิดในการออม  พร้อมกับการทำงานหารายได้

2.การปรับสภาพแวดล้อม ให้เหมาะกับทุกช่วงวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัย  3.การรักษาสุขภาพ มีระบบรองรับเสริมสร้างสุขภาพของชุมชน  ส่งเสริมสุขภาพ  โดยอาศัยทางเลือกสุขภาพ   การส่งเสริมกิจกรรมให้แก่ผู้สูงวัย  4.การสร้างระบบ  เพื่อเป็นกลไกให้เกิดการรวมตัว  และทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

ผลการศึกษา ‘องค์ประกอบและรูปแบบตำบลนวัตกรรมเข้มแข็ง’ 5 ภาค           

ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ได้สนับสนุนการวิจัยพื้นที่ชุมชนตำบลเข้มแข็ง โดยการศึกษา ‘องค์ประกอบและรูปแบบตำบลนวัตกรรมเข้มแข็ง  ในพื้นที่รูปธรรม  5 ภูมิภาค  รวม 50 พื้นที่ โดยนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ  และนำผลการศึกษามานำเสนอในเวทีการจัดตลาดนัดความรู้ในครั้งนี้ด้วย  เช่น  ภาค กทม. ปริมณฑล และตะวันออก  โดย อาจารย์สกฤต อิสริยานนท์ มหาวิทยาลัยบูรพา  ศึกษาพบว่า

สภาองค์กรชุมชนเขตธนบุรี   กรุงเทพฯ : สร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน มีตัวแทนของพื้นที่ต่างๆ เป็นกลไกการดำเนินงานในชุมชน  ขับเคลื่อนงานโดยสภาองค์กรชุมชน   สร้างชุมชนเข้มแข็ง สร้างอาชีพ  มีผู้นำขับเคลื่อนงานที่เข้มแข็ง (มีทีมทำงานที่เข้มแข็ง) มีระบบกลไกการทำงาน

สภาองค์กรชุมชนตำบลสุนทรภู่  อ.แกลง จ.ระยอง : มีกลไกการประสานงานร่วมในตำบล  สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายในระดับท้องถิ่น  เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงาน  และขับเคลื่อนในพื้นที่

สภาองค์กรชุมชนตำบลทับพริก อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว  : ได้ประสานงานภาคีพัฒนาเครือข่าย  เชื่อมกลไกสภาองค์กรชุมชน  เสนอแผนงานต่างๆ  สร้างเศรษฐกิจด้วยการใช้สุมนไพรนำมาแปรรูป  และสามารถเชื่อมแผนร่วมกับหน่ยวงานต่างๆ ได้  ผลักดันโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์

ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง  อาศัยปัจจัยกระบวนการต่าง ๆ ที่หนุนเสริมการทำงานในชุมชนให้เกิดผลดี  ได้แก่

1.การสื่อสารงาน ร่วมกับคนในชุมชน  เพื่อสร้างการรับรู้  สร้างกติการ่วมกัน ส่งเสริมกระบวนการทำงานทั้งภายในภายนอก  เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนผลการทำงานที่เป็นรูปธรรม และขึ้นอยู่กับบริบท  บทบาทการทำงานของชุมชนในแต่ละด้านของชุมชนที่เป็นเจ้าของเอง  2.การจัดการความรู้ การรวบรวมแลกปลี่ยนเรียนรู้  3.การสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อนำไปสู่กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล  จัดการข้อมูลที่ดี  4.มีระบบข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ

ตำบลนวัตกรรมเข้มแข็งภาคกลางและตะวันตก 

ศึกษาโดย อ.อมต  จันทรังษี  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  การศึกษาพบว่า  เกิดจากการตอบสนองความต้องการของชุมชน  เกิดประเด็นการขับเคลื่อน  สร้างการมีส่วนร่วม  สื่อสารกระบวนการ  เพื่อสร้างกิจกรรมแก้ไขปัญหา  หรือต่อยอดกิจกรรมแก้ไขปัญหา  นำไปสู่การปฏิบัติโดยใช้ทรัพยากรของชุมชน  รวมถึงการประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน หรือตำบลอื่นๆ ใกล้เคียง

ตำบลแจงงาม อ.หนองหญ้าไซ  จ.สุพรรณบุรี : ปิดหมู่บ้านในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด  ใช้สมุนไพรที่ชุมชนปลูก  รักษาและป้องกันโควิด  ร่วมภาคี  ประสานการทำงาน  ส่งเสริมการปลูกผักของชุมชน  ทำให้เกิดแหล่งอาหารของชุมชน คนในชุมชนอยู่ได้หากมีการปิดชุมชนในช่วงสถานการณ์โควิด

ตำบลเขาล้าน อ.ทับสะแก  จ.ประจวบคีรีขันธ์ : พัฒนาส่งเสริมการทำอาชีพเกษตรกร  ปลูกมะพร้าวแปลงใหญ่ รวมพลังการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามามีส่วน และบูรณาการร่วมกัน มีผู้นำในการทำงานที่มีความรู้ มีความเป็นอัตภาพเป็นหนึ่งเดียวกัน ใช้แนวทางเกษตรแปลงใหญ่แก้ปัญหาเกษตรซึ่งได้รับรางวัลด้านการเกษตรอีกด้วย รวมถึงการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำและคนในชุมชน

ตำบลนวัตกรรมเข้มแข็งภาคใต้   

โดย อ.อุดมศักดิ์  เดโชชัย  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช    ศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง โดยการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เช่น การขับเคลื่อนโดยสภาองค์กรชุมชน  มีแนวทางการทำงานที่สำคัญ เช่น  รวมกลุ่มดำเนินกิจกรรม  ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน  ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา  และการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในพื้นที่

ตำบลเชี่ยวหลาน  อ.บ้านตาขุน  จ.สุราษฎร์ธานี  :  ส่งเสริมการรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สร้างแหล่งท่องเที่ยว สร้างกิจกรรมชมรมประมง ประสานงานและจัดทำข้อตกลงร่วมกับหน่วยงาน

ตำบลนาเตย  อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา : จัดทำแผนที่ชีวิต ประสานความร่วมมือ เป็นกลไกในระดับจังหวัด ออกแบบการขับเคลื่อนงานและสร้างเป็นพื้นที่พังงาแห่งความสุข ผลันให้เกิดหลักสูตรชุมชนต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์

ตำบลนวัตกรรมเข้มแข็งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดย อ.พนา  ใจตรง  นักวิชาการอิสระ   จากการศึกษาพบว่า  ตำบลบ้านกลาง อ.เมือง จังหวัดนครพม :     มีงานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่  สร้างอาชีพ  รายได้  แก้ปัญหาความยากจน  เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเพิ่มขึ้น  ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานหนุนเสริมองค์ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์จักสาน  สร้างสินค้าให้มีคุณภาพ  ส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง ขับเคลื่อนกิจกรรมในตำบล   การปลูกไผ่อนุรักษ์   การสร้างผลิตภัณฑ์จากหวาย ซึ่งเป็นการสร้างรายได้หลักในชุมชน

ตำบลเขื่อน อ.โกสุมพิสัย  จ.มหาสารคราม : การรวมกลุ่มเพื่อขับเคลื่อนงานในชุมชน  แก้ไขปัญหาเรื่องข้าว พัฒนาการจัดการแหล่งอาหารที่เป็นข้าวในชุมชน  วางเป้าหมายแก้ปัญหาร่วมกัน  ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน และใช้กลไกของสภาองค์กรชุมชน  ยกระดับแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  รวมถึงส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มขับเคลื่อน

ตำบลนวัตกรรมเข้มแข็งภาคเหนือ 

โดย อ.กิตติศัพท์  วันทา  วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน  การศึกษาพบว่า  ชุมชนมีการส่งเสริมการพัฒนาคนรุ่นใหม่  นำมาพัฒนาเมืองแม่ฮ่องสอน โดยใช้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม สร้างเป็นเมืองพิเศษทางธรรมชาติ คือพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้  และมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย  มีความหลากหลายด้านภูมินิเวศน์

ตำบลมะหินหลวง อ.ขุนยวม  จ.แม่ฮ่องสอน   : เกิดแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และการทำอาชีพเกษตรกรรมที่พึ่งพาสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน หนุนเสริมให้พื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของชุมชน ขับเคลื่อนกลไกวัฒนธรรมร่วมกับการทำไร่หมุนเวียน และให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมระหว่างคน ธรรมขาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เห็นควรยกระดับการพัฒนาคนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนาชุมชน และขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง

ตำบลแม่โถ  อ.แม่ลาน้อย  จ.แม่ฮ่องสอน : เกิดการจัดการและมีกติทางสังคม  ร่วมดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  การอนุรักษ์พันธุ์ปลา  มีปัจจัยสนับสุนน  และมีกลไกในการพูดคุยแก้ปัญหาร่วม  และเห็นควรให้มีการเชื่อมโยงสายน้ำ
การสร้างเครือข่ายร่วมในการดูแลสายน้ำ และการจัดการน้ำทั้งระบบ   ฯลฯ

การจัดงานครั้งนี้มีการนำสินค้าเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากชุมชนต่างๆ มาจำหน่ายและแสดงด้วย

ระดมความเห็นแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต-เศรษฐกิจชุมชน

ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’  ได้ร่วมกันเสนอความเห็นต่อแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 5 ปี  (พ.ศ. 2566 - 2570)  โดยแผนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  5 ปี ประกอบด้วยเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนา  

คือ  สมาชิกทุกคนมีชีวิตที่ดี  เกิดการพัฒนาระดับกลุ่มองค์กรชุมชน  สร้างรายได้แก่กลุ่ม  สร้างความเข้มแข็ง    มีกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากนำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง  มีเครือข่ายเชื่อมโยงประสานการทำงานในทุกระดับ   

ประกอบด้วยแผนการขับเคลื่อน  4 แผนงานสำคัญ ได้แก่ 1. การเพิ่มขีดความสามรถของชุมชน 2.การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและองค์ความรู้ของชุมชน 3. การสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน และ 4.การพัฒนาพื้นที่รูปธรรม

โดยผู้เข้าร่วมได้เสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนดังนี้  1. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนนี้ จะนำไปสู่การออกแบบ เสนอแนวทางกลไกการขับเคลื่อนงาน  รวมทั้งส่งเสริมการทำงาน  และสร้างความร่วมมือร่วมกันทั้งในระดับท้องที่  ท้องถิ่น  2.ส่งเสริมการบริหารจัดการระบบที่ดี รวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้สอดคล้องกับวิธีการดำเนินงาน

3.ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ เสนอให้ใช้กลไกการขับเคลื่อนงานร่วมกับด้วยสภาองค์กรชุมชนตำบลในระดับพื้นที่ เพื่อหนุนเสริมประเด็นการทำงานร่วมกัน  4.การพัฒนาการทำงานในรูปแบบกลไกการหนุนเสริม ร่วมกับท้องถิ่น  หน่วยงานในพื้นที่

และ 5.ให้มีการศึกษาองค์ประกอบของกลไกต่าง ๆ  และผู้นำขบวนองค์กรชุมชนที่ทำงานร่วมในพื้นที่  โดยเสนอให้มีกระบวนการพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพ  รวมถึงปลูกฝังกระบวนการทำงาน  และการเชื่อมประสานงานต่าง ๆ ของผู้นำขบวนองค์กรชุมชน 

ทั้งนี้ประสบการณ์การพัฒนาชุมชนตำบลเข้มแข็ง  รวมทั้งข้อเสนอต่างๆ จากการจัดงาน ‘ตลาดนัดความรู้ชุมชนเข้มแข็ง’ ครั้งนี้  เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทั้ง 5 ภูมิภาคจะนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง  สามารถพึ่งพาตัวเองได้ต่อไป

 

เรื่องและภาพ :  สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

พอช. แจงความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากรถไฟทางคู่ 9 จังหวัด ภาคใต้

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.เดินหน้าแก้ไขปัญหาชุมชนในที่ดินการรถไฟฯ ทั่วประเทศตาม มติ ครม.14 มีนาคม 2566 ในพื้นที่ 35 จังหวัด 300 ชุมชน จำนวน 27,084 ครัวเรือน ใช้งบประมาณรวม 7,718 ล้านบาทเศษ

พอช. ร่วม ศูนย์คุณธรรม และ สช. ขับเคลื่อนคุณธรรมของเครือข่ายทางสังคม มุ่งสร้างคุณธรรมด้วยระบบเครดิตทางสังคม

กรุงเทพมหานคร / วันนี้ 29 เมษายน 2567 ระหว่างเวลา 14.00 – 16.00 น. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) นำโดย รศ นพ.สุริยเดว ทรีปราตีผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม

พอช. ร่วม 3 พื้นที่รูปธรรมภาคอีสาน ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

ระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2567 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยสำนักพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสารองค์กร ร่วมกับสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ถอดบทเรียน 3 พื้นที่รูปธรรม

เครือข่ายสวัสดิการชุมชนจัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค ที่สุพรรณบุรี “สวัสดิการชุมชน พลังสร้างสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ แก้วิกฤตประชากรไทย”

สุพรรณบุรี : เครือข่ายสวัสดิการชุมชน ร่วม กระทรวง พม. พอช. จัดงานสมัชชาสวัสดิการชุมชนระดับภาค ภาคกลางและตะวันตก และภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑลและตะวันออก

‘วราวุธ’ รมว.พม. เยี่ยมชุมชนริมคลองเปรมประชากร ด้าน ‘พอช.’ เดินหน้าพัฒนาที่อยู่อาศัย-คุณภาพชีวิตแล้ว 17ชุมชน 1,699 ครัวเรือน

คลองเปรมประชากร/ ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ รมว.พม.ลงพื้นที่เยี่ยมชาวชุมชนริมคลองเปรมประชากร โดยลงเรือบริเวณท่าเรือชั่วคราวสะพานสูง เขตบางซื่อ