ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ร่วมเวทีพลังองค์กรชุมชน ขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ ระบุความท้าทายที่ขบวนองค์กรชุมชนต้องทำคือสร้างผู้นำและขยายผลรูปธรรมชุมชนเข้มแข็งเต็มพื้นที่

กทม. : องค์กรชุมชนขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ ร่วมสรุปผลการดำเนินงาน และระดมความเห็นเสนอหน่วยงานที่สนับสนุนชุมชนเข้มแข็งบูรณาการและนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรม พร้อมมีกลไกร่วมระหว่างเครือข่ายองค์กรชุมชน และหน่วยงานสนับสนุนที่ถูกกำหนดจากพื้นที่ ด้านประธานกรรมการ พอช. ระบุ ความท้าทายที่ขบวนองค์กรชุมชนต้องทำคือ การพัฒนาผู้นำและขยายผลรูปธรรมชุมชนเข้มแข็งแพร่หลายเต็มพื้นที่ ทำฐานตำบลให้แข็งแรง เลือกพื้นที่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลง จังหวัดจัดการตนเองคือพื้นที่เติมเต็ม

ระหว่างวันที่ 4-5 กันยายน 2567 สำนักประสานขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานพลังองค์กรชุมชน ขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ  เพื่อทบทวนเป้าหมาย แนวทาง และเครื่องมือการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ สรุปบทเรียนผลการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ และร่วมเสนอทิศทางและแผนการดำเนินงาน ในการยกระดับ 22 จังหวัด(ปี 2567) และจังหวัดขยายผลปี 2568ต่อไป มีผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนจาก 22 จังหวัด ภาคีพัฒนา และผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน พอช. ร่วม 150 คน ณ ห้องประชุมชั้น 5 โรมแรมบ้านไทยบูทีค กรุงเทพฯ

นายกอบศักดิ์  ภูตระกูล  ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวว่า การพัฒนาที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อชุมชนในชนบทและในเมืองค่อนข้างมาก ประชาชนมีหนี้สิน เกิดความอ่อนแอจากผลพวงของการพัฒนา รวมถึงโรคอุบัติใหม่ต่างๆ ที่เกิดขึ้น สุขภาพของประชาชนแย่ลง การช่วยเหลือสนับสนุนของรัฐยังไม่เกิดผล แค่เป็นการแจกรายได้ แต่ยังแก้ไขปัญหาความยากจนซ้ำซ้อนของประชาชนยังไม่ได้ นอกจากนี้เรายังใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จากปัญหาและข้อจำกัดของภาครัฐ ยิ่งทำยิ่งอ่อนแอปวกเปียก และพยายามบอกประชาชนว่าที่ยืนได้เพราะรัฐโอบอุ้ม ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องนำไปสู่แนวคิดใหม่ ประชาชนคือคำตอบ เราต้องปลดปล่อยพลังของชุมชน สิ่งที่เห็นผลเชิงประจักษ์ที่องค์กรชุมชนทำและพึ่งพาตนเองมีหลายโครงการและประเด็น อาทิเช่น  1. การออมชุมชน ที่ตำบลดงขี้เหล็ก จ.ปราจีนบุรี 2. สวัสดิการชุมชน ที่ตำบลหนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี 3. บ้านมั่นคง บ้านที่มากกว่าคำว่าบ้าน ที่ชุมชนบ่อนไก่ กทม. บ้านมั่นคงริมคลอง 4. ป่าชุมชน เช่น ป่าชุมชนโคกป่าซี จ.กาฬสินธุ์ ชุมชนร่วมดูแลรักษาป่าชุมชน กรณีพื้นที่บ้านน้ำราบ จ.ตรัง เดิมเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรม ตอนนี้มีธนาคารปูม้า เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นพื้นที่ทำมาหากิน และทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน 5. ธนาคารปูม้า 6. ฝายมีชีวิต 7. ธนาคารต้นไม้และการแก้ปัญหาบำนาญของประชาชน ที่ป่าพะยอม จ.กาฬสินธุ์ เอาคันนามาปลูกต้นไม้เป็นการออมในอนาคต ทุกโครงการองค์กรชุมชนทำได้ เราต้องปลดปล่อยพลังที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ให้เขายืนบนขาของตนเอง นำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง สิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยนยังถือว่าเป็นโครงการเล็กๆ แต่หัวใจสำคัญคือ “การสร้างผู้นำ” เริ่มจากผู้นำที่เข้มแข็ง สร้างเครือข่ายผู้นำ สร้างผู้นำรุ่นใหม่ เราต้องพัฒนาและฝึกความเป็นผู้นำ เมื่อสำเร็จไปแล้วหนึ่งโครงการอยากให้ขยายไปสู่โครงการต่างๆ ต่อไป

“อยากให้ทุกองค์กรชุมชนมีการพัฒนา และยกระดับการทำโครงการที่หลากหลาย เลือกพื้นที่ที่ดีที่สุดที่อยากจะสร้างการเปลี่ยนแปลง จังหวัดจัดการตนเองคือ พื้นที่เติมเต็ม เป็นเสบียงมาเติม ขบวนองค์กรชุมชนต้องทำตำบลให้เข้มแข็ง หลังจากจัดการตำบลได้ เราจะทำให้จังหวัดมาช่วยสนับสนุน ซึ่งอยากให้ชุมชนเข้มแข็งเป้าหมาย 3 ระดับ คือ 1. ลุกยืนได้ 2. แข็งแรง 3. วิ่งได้ ความท้าทายที่ต้องทำคือ การขยายผลรูปธรรมให้แพร่หลายเต็มพื้นที่”

ด้านนายกฤษดา  สมประสงค์ ผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า จังหวัดบูรณาการ ถือเป็นปีแรกที่ พอช. สนับสนุนงบประมาณในการเคลื่อนงานในระดับจังหวัด เป้าหมายจังหวัดจัดการตนเอง สอดคล้องกับทิศทางที่มองว่า การทำงานของ พอช. นั้นต้องเล็ก ขบวนชุมชนใหญ่ โดยการขับเคลื่อนจังหวัดบูณาการการจะเป็นเป้าหมายไปสู่การขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเอง เชื่อมโยงคนมาทำงานร่วมในทุกมิติ และพื้นที่ตำบลมีระบบการจัดการตนเอง มีการเปิดพื้นที่กลางในการให้ทุกภาคส่วนมาวิเคราะห์สังเคราะห์ความต้องการของคนในตำบล และกำหนดเป็นแผน พร้อมการขับเคลื่อนงานพัฒนา ฉะนั้นยุทธศาสตร์จังหวัดเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการขับเคลื่อนต้องประกอบด้วย กำลังคน ผสานภาคีทุกภาคส่วน ภาคประชาสังคม วิชาการ เอกชน การศึกษา และท้องถิ่น ขบวนองค์กรชุมชนในทุกประเด็นงานต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนงานพัฒนาทุกมิติ เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน   

“พอช. มีแนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการตนเอง 1 จังหวัด 1 โครงการ  เพื่อส่งเสริมการบูรณการงานทุกประเด็น โดยขบวนจังหวัดร่วมมือกับประเด็นงานต่างๆ โดยมีการทำความร่วมมือฉบับเดียว จังหวัดจัดการตนเองคือเป้าหมายจังหวัดบูรณาการ แต่เป้าหมายสุดท้ายคือ ยุทธศาสตร์ภาคประชาชนสามารถเข้าถึงการจัดทำยุทธศาสตร์ให้เกิดแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภาคประชาชน และมีการส่งเสริมการขับเคลื่อนในระดับตำบล เพื่อให้เกิดการเคลื่อนจังหวัดบูรณาการต่อไป”

บทเรียนรูปธรรมจังหวัดบูรณาการกับการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่จังหวัด

1.ภาคใต้ มีการใช้ดัชนีควาสุขเป็นตัวชี้วัดของประชาชน ซึ่งมีประเด็นการพัฒนาในมิติต่างๆ มากมาย แต่ยังขาดสิทธิการพัฒนาให้แก่ประชาชน ซึ่งต้องสร้างสิทธิให้กับประชาชนเป็นผู้กำหนดการพัฒนา จังหวัดบูรณาการเป็นฐานสำคัญในการสร้างความร่วมมือ กำหนดการพัฒนาของจังหวัด และสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ สร้างวาระการพัฒนาร่วมของคนในจังหวัด โดยมีกิจกรรมการขับเคลื่อนต่างๆ ในการพัฒนาแผนของภาคประชาชนให้เกิดรูปธรรม ปี 2568 มีแผนการพัฒนาจังหวัดบูรณาการให้ครบทั้ง 14 จังหวัด อาจจะมีรูปแบบการดำเนินงานที่มีกลไกร่วมกับภาครัฐ มีการส่งเสริมการเป็นสภาพลเมืองที่เข้มแข็งในการกำหนดให้เป็นวาระร่วมของคนทั้งจังหวัด การมีข้อเสนอร่วมในการแก้ปัญหา ซึ่งรูปแบบการบูรณาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ การบูรณาการเรื่องคน กลไกการทำงานร่วม การเชื่อมโยงกับระบบงบประมาณจังหวัด และการสนับสนุนองค์กรชุมชน ที่มีการเชื่อมโยงกับระบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสิรมสุขภาพ และการจัดการสิ่งแวดล้อมในภาคใต้ โดยใช้พื้นที่กลางในระดับอำเภอเป็นตัวกำหนดการขับเคลื่อนงาน และมีคณะทำงานระดับภาคทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงการทำงาน เพื่อเป็นกลไกในการสนับสุนนการขับเคลื่อนงาน ปัญหาที่สำคัญคือ ยังไม่มีแผนเชื่อมโยงกับหน่วยงานความร่วมมือได้ครบทุกส่วนงาน การขยายภาคียุทธศาสตร์ การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร

2.ภาคเหนือ การพัฒนาพื้นที่เป็นเครื่องมือการประเมินการทำงานในทุกจังหวัดและติดตามตัวชี้วัดการทำงานในประเด็นต่างๆ รวมถึงปัญหาสำคัญของแต่ละในพื้นที่ เห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงทุนของการทำงานที่มีอยู่เดิมที่เป็นกรอบคิดสำคัญในการขับเคลื่อนงานของภาคเหนือ มีโมเดลจังหวัดการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการมีการวางเป้าหมายร่วม เช่น (1) จังหวัดเชียงราย เชียงรายล้านนาแห่งความสุข ธรรมนูญของคนเชียงรายในการเชื่อมโยงกับหน่วยงานรัฐ (2) จังหวัดแม่ฮ่องสอน การพัฒนาสู่เมืองพิเศษทางธรรมชาติและวัฒนธรรม การแก้ไขปัญหาความยากจน การแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ (3) จังหวัดพิษณุโลก เป้าหมายการเป็นจังหวัดที่เป็นเมืองแห่งการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมดี เป็นเมืองแห่งความสุข และเป้าหมายการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และ (4) จังหวัดนครสวรรค์ สร้างการรับรู้ของภาคประชาชน ระบบการพัฒนาของประชาชน 5 ดี การขับเคลื่อนการรองรับสังคมผู้สูงอายุ และสร้างบทบาทของประชาชนในการเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา สู่การพัฒนาจังหวัดเป็นเมืองยั่งยืน จากการดำเนินงานพบว่า ยังมีปัญหาด้านการบูรณาการภายในองค์กรยังเกิดขึ้นได้น้อย และในส่วนที่เป็นประโยชน์ คือ ภาคประชาชนได้นำเครื่องมือเข้ามาบูรณาการอย่างหลากหลาย มีการบูณาการทุนในพื้นที่ได้มากขึ้น เป็นต้น

3.ภาคกลางและตะวันตก มีการขับเคลื่อนในพื้นที่ ดังนี้ (1) จังหวัดชัยนาท แบ่งการทำงานเป็นโซนอำเภอ และสร้างความร่วมมือ หนุนเสริมการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคีต่างๆ ใช้ฐานข้อมูล TPMAP ข้อมูลผู้นำชี้เป้าในพื้นที่ที่ผ่านการรับรองข้อมูลในระดับพื้นที่ และในระดับจังหวัด เป็นเครื่องมือในการทำงาน และมีกระบวนการสอบทานข้อมูล ซึ่งเป็นจังหวัดเป้าหมายที่มีปัญหาด้านความยากจน กองทุนส่งเสริมจัดสวัสดิการทางสังคม และพัฒนายกระดับกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นการกองทุนเป็นกองทุนสาธารณะประโยชน์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ การจัดทำแผนพัฒนาแบบบูรณาการในทุกประเด็นจังหวัด ที่มีกระบวนการในการพัฒนาคนการขับเคลื่อนงานสอดแทรกอยู่ มีการทำโครงการชมช้อปแชร์ โดยกลุ่มองค์กรชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ โดยแชร์เรื่องราวที่ทำเผยแพร่ต่อบุคคลอื่น (2) จังหวัดสุพรรณบุรี กำหนดแผนการขับเคลื่อน เชื่อมโยงการบูรณาการในจังหวัดนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยการติดตามการทำงานกับหน่วยงาน เพื่อนำไปสู่แผนการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีประชาชนเป็นผู้กำหนด เกิดการสรุปบทเรียน วางแนวทางในการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของกลไกอย่างต่อเนื่อง ผลักดันความคิดเรื่องการจังหวัดการจัดการตนเองให้เกิดขึ้น

4.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป้าหมายในการจัดการตนเอง มีการเรียนรู้สร้างความข้าใจในการจัดการตนเอง ออกแบบการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ โดยเชื่อมโยงแผนงานของในจังหวัด มองสภาพปัญหาของพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งจะต้องส่งเสริมการจัดการปัญหาในพื้นที่ เข้าร่วม ประสานความร่วมมือกับภาคี ทั้งที่ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาที่ได้ดำเนินการ คือ การทบทวนตามเป้าหมายยุทธศาสตร์จังหวัด และการบูรณาการแผนในระดับจังหวัดที่เป็นแผนร่วมของคนในจังหวัด รวมถึงการเสนอแผนการปฏิบัติการในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมการสร้างพื้นที่กลาง ให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงการขยายพื้นที่เชื่อมโยงการพัฒนาในจังหวัด

5.ภาคกรุงเทพฯ ปริมณฑล และตะวันออก โดยมีความพร้อมในการขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเอง ส่งเสริมการบริหาร 1 จังหวัด/1โครงการ ส่งเสริมการขับเคลื่อนสภา ฯ 5 ดี เช่น สุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี การบริหารจัดการที่ดี เป็นต้น และมีการขับเคลื่อนกลุ่มการทำงานในระดับโซน สร้างเป้าหมายการขับเคลื่อนงานทั้ง 13 จังหวัด ให้เป็นจังหวัดแห่งการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ โดยมีแผนในการขับเคลื่อนงานเชื่อมโยงกับหน่วยงาน และเกิดการบูรณาการให้เกิดความเข้มแข็ง ตามแต่ละพื้นที่ที่มีความพร้อม และขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่จังหวัด โดยจะสร้างความร่วมมือในการกำหนดทิศทางเป้าหมายการขับเคลื่อนงานร่วมกันในระดับพื้นที่ต่อไป

นายวิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. กล่าวประมวลสังเคราะห์การขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการว่า  เป้าหมายการพัฒนาการสร้างชุมชนเข้มแข็งเต็มพื้นที่ ในปี 2579 ซึ่งขบวนองค์กรชุมชนจะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ และเป็นเจ้าของการพัฒนา ซึ่งต้องวางแนวทางการพัฒนาในการขับเคลื่อนงานทั้ง 22 จังหวัด โดยมีแนวทางการส่งเสริมในการพัฒนา การจัดระบบ กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานในจังหวัดตามแผนในระยะสั้น กลาง และยาว สร้างพื้นที่ในการเชื่อมโยงกลไกร่วมของจังหวัด โดยหนุนเสริมการทำงานพื้นที่ รวมถึงการส่งเสริมการบริหารจัดการ 1 จังหวัด/1โครงการ ซึ่งได้ให้แนวทางการขับเคลื่อนงานของในระดับจังหวัด ที่จะเป็นประโยชน์ต่อากรดำเนินงานในพื้นที ประกอบด้วยปัจจัย ได้แก่ 1. กำหนดยุทธศาสตร์ภาคประชาชน โดยทุกจังหวัดมีเป้าหมายที่กำหนดวาระร่วมของจังหวัด 2. การส่งเสริมการจัดทำข้อมูลร่วมกัน 3. การสร้างกลไกร่วมในทุกประเด็น และทุกประเด็น ในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแผนงานร่วม งบประมาณร่วม รวมถึงวาระร่วมประจำปีของจังหวัด 4. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 5. สร้างพื้นที่กลาง เป็นพื้นที่พูดคุย เพื่อวางเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง ประสานงาน กระตุ้นงาน และติดตามผลการดำเนินงาน รวมถึการสร้างสัญลักษณ์ของภาคประชาชน 6. การประเมินผลสถานการณ์ของขบวนองค์กรชุมชนอย่างต่อเนื่อง 7. การสร้างระบบการพัฒนาทุนในชุมชน เช่น ทุนภายในชุมชน , การบูรณาการทุนกับหน่วยงานอื่นๆ 8. การเชื่มโยงประสานงานกับขบวนองค์กรชุมชน จากในระดับตำบลสู่จังหวัด 9. การสร้างระบบข้อมูลการทำงาน และผลัพธ์ของการทำงานจากในระดับพื้นที่ร่วม ทั้งนี้ จำเป็นต้องวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และวิเคราะห์ระบบทิศทางการทำงานร่วมกับ พอช. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของในพื้นที่ และ 10. สามารถวิเคราะห์ถึงปัญหา และความต้องการของคนในจังหวัดได้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและแนวทางการพัฒนาร่วมกัน

พลังองค์กรชุมชน ขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ

นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

ทิศทางการพัฒนาและแนวทางการพัฒนาของขบวนองค์กรชุมชน โดยส่งเสริมการจัดการร่วมในระดับจังหวัด เกิดการเชื่อมโยงในจังหวัด และประสานการเชื่อมโยงการทำงานกับ พอช. หนุนเสริมการทำงานในจังหวัด เกิดการเชื่อมโยงทั้งระบบของจังหวัด การพัฒนาชุมชนที่ผ่านมาเป็นการสนับสนุนเชิงสงเคราะห์ ฉะนั้นในปัจจุบันต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของขบวนองค์กรชุมชน มีระบบหนุนเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เชื่อมโยงคนในชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และครอบคลุมการทำงานของพื้นที่

ขบวนจังหวัดจะต้องมีการจัดการและมีการเชื่อมโยงการทำงาน เชื่อมโยงผู้นำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อการทำงานในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ผลักดันการแก้ไขปัญหาที่เป็นวาระร่วมของคนในจังหวัด เช่น ระบบการบริหารจัดการน้ำ การบริหารจัดการที่ดิน ส่งเสริมการเกษตร การแก้ไขปัญหาของขบวนองค์กรชุมชน ที่ต้องอาศัยการเชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานให้การสนับสนุนแก้ไขปัญหา หนุนเสริมการจัดกิจกรรมของเครือข่ายองค์กรชุมชน การส่งเสริมขบวนการของภาคประชาชน ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนขบวนการ วิธีการทำงานให้สอดรับกับสถานการณ์ ที่มีรูปแบบการทำงานของจังหวัดเป็นกลไกการเชื่อมโยงหลัก โดยมีคณะทำงานจังหวัดเป็นผู้มีบทบาทในการหนุนเสริม

“การกระจายการบริหารลงสู่ชุมชน หรือท้องถิ่น เป็นการทำให้ระบบการบริหารของการพัฒนาประเทศมีแนวทางที่ดีขึ้น เพื่อกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นได้บริหารจัดการตนเอง และสามารถบริหารจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่น จะเป็นการสร้างอำนาจให้แก่ประชาชน เกิดความเข้มแข็ง และจะใช้ขบวนจังหวัดเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน หน่วยงานสามามรถเข้าถึงพื้นที่ได้ง่ายขึ้น และประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจในการบริหารได้มากขึ้น”

ภาคีพัฒนาร่วมให้ข้อเสนอ และเปิดมุมมองเชิงโอกาสเพิ่มเติมจังหวัดบูรณาการ

นายจารึก ไชยรัตน์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า สช. เป็นองค์กรที่เปิดโอกาสในด้านการเสริมสร้างสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ ว่าด้วยเรื่องสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพในระดับจังหวัด โดยหลักการมีส่วนร่วมของพื้นที่ ทุกคนมีสิทธิต่อสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อความสะดวก ซึ่งจะต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างการขับเคลื่อนพื้นที่ในการบูรณาการ ได้แก่ กลไกกลางในจังหวัด มีพื้นที่ร่วมโดยให้จังหวัดเป็นฐานการขับเคลื่อน มีการบริหารจัดการพื้นที่กลางร่วม การบริหารเชิงปฏิบัติการที่หนุนเสริมให้เกิดพื้นที่รูปธรรมของตำบล การเชื่อมโยงภาคีด้วยการใช้พื้นที่กลาง เช่น กองทุนเสริมสร้างสุขภาพในระดับท้องถิ่น โดยมีการเชื่อมโยงด้วยสมัชชาสุขภาพ  มติด้านสมัชชาสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และให้ความสำคัญกับกลไกการขับเคลื่อนงานร่วมในจังหวัด ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบัน ระบุว่า เครื่องมือในการขับเคลื่อนชุมชน คือ กระบวนสร้างการมีส่วนร่วม ให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา เน้นการพัฒนาไปยังพื้นที่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน วิเคราะห์หาทางออก กำหนดแผนการพัฒนาและแนวทางในการปัญหาในพื้นที่ด้วยตนเอง และพอช. จะต้องเป็นหน่วยงานหนุนแสริมในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน แต่การทำงานหลักจะต้องดำเนินงานโดยขบวนองค์กรชุมชน รวมถึงการสร้างบทบาทในการเสริมพลังของภาคประชาชน ประชาสังคม รวมถึงการส่งเสริมการบูรณาการให้เกิดขึ้นในพื้นที่ได้จริง ที่มีขบวนการภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ การสร้างหุ้นส่วนการพัฒนาร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการบริหารโครงการภาครัฐ ที่ภาคประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบโครงการต่างๆ ได้อย่างโปร่งใส รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา มีฐานข้อมูลที่ถูกต้องและใช้ได้สะดวกในพื้นที่

นายธีรพล สุวรรณรุ่งเรือง ประธานอนุกรรมการภาคประชาสังคม กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนการทำงานของภาคประชาชน และประชาสังคม เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ โดยขบวนองค์กรชุมชนมีความพยายามในการขับเคลื่อนงาน ซึ่งจากการขับเคลื่อนงานเกิดข้อเสนอดังนี้ 1) ควรมีกลไกความร่วมมือในการหนนุเสริมการพัฒนาพื้นที่ และสร้างภาคีเครือข่ายพัฒนา เพื่อนำไปสู่การบูรณาการงานอย่างเเท้จริง 2) การสร้างความร่วมมือจากภาคีพัฒนาหลายฝ่าย และเกิดรูปธรรมความร่วมมือให้เกิดขึ้นจำนวน 2 - 3 ประเด็นต่อพื้นที่ เพื่อทำให้เกิดการประสานงาน และใช้เครื่องมือผนึกกำลังในการดำเนินงาน สร้างความร่วมมือต่อการทำงานที่สอดคล้องกับกลไกในพื้นที่ 3) ควรสร้างทุนและงบประมาณในการขับเคลื่อนงาน เพื่อเป็นงบหนุนเสริมการทำงาน
ในพื้นที่ได้อย่างพอเพียง สร้างผลลัพธ์การทำงานให้เกิดขึ้นจริงได้ 4) ส่งเสริมการประเมินผล และการสอบทานพื้นที่ โดยจัดทำฐานข้อมูลร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการเชื่อมโยงของพื้นที่ที่มีความเดือดร้อนได้ และนำไปพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมอาชีพ (เศรษฐกิจ) อนามัยชุมชน การมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและมีคุณภาพ การสร้างอนาคตของเด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและความมั่นคงของประชาชนให้เกิดขึ้น

ดร.พา ผอมขำ นายก อบจ.พัทลุง กล่าวเสริมว่า การพัฒนาชุมชนแบบพลวัตร คือ ชุมชนต้องเป็นผู้พัฒนาอย่างแท้จริง โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา ประชาชนเป็นผู้กำหนดแนวทางการพัฒนา “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” ประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจในสิทธิต่างๆ ที่ประชาชนพึงมี ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเป็นหน่วยงานสนับสนุนในการขับเคลื่อนงานร่วมกับประชาชน  สร้างความร่วมมือกับประชาชน กำหนดการพัฒนาของจังหวัด รวมถึงการประสานความร่วมมือเชื่อมโยงกับเครือข่ายประชาชน หรือหน่วยงานอื่นๆ รวมถึงการกำหนดประเด็นในการขับเคลื่อนในแต่ละพื้นที่ และมีคณะทำงานให้การสนับสนุนและมีบทบาทในการทำงาน โดยกำหนดผลลัพธ์ความสำเร็จของพื้นที่ให้เกิดขึ้นด้วย เตรียมความพร้อมของจังหวัดสู่การเป็นจังหวัดจัดการตนเองต่อไป

นายสิน สื่อสวน ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า การทำงานของขบวนองค์กรชุมชน ต้องอาศัยภายใต้อุดมการณ์ร่วม ระบบข้อมูลของภาคประชาชน มียุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการขับเคลื่อนในพื้นที่ที่เกิดพลังของการทำงาน มีกระบวนการในการถอดบทเรียน เชื่อมโยงจังหวัดบูรณาการร่วมกับการบริหารโครงสร้างขององค์กรชุมชน เช่น การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม การกระจายอำนาจ และการสร้างสังคมที่เป็นธรรม ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การบริหารกองทุนและสร้างกองทุนที่เป็นของตนเอง โดยเป็นกองทุนของประชาชนเอง สามารถบริหารจัดการเองได้ และเรื่องของการสร้างระบบการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นระบบการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน มีช่องทางการสื่อสารหลากหลาย เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการสื่อสารชุมชน โดยสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาด้านการสื่อสารร่วมกันด้วย ผลักดันเป็นวาระร่วมของภาคประชาชน การออกแบบแผนปฏิบัติการที่ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ได้จริง กำหนดแผนการขับเคลื่อนของขบวนองค์กรชุมชนให้สอดคล้องกับแผนการทำงานของ พอช. สร้างระบบงบประมาณที่หนุนเสริมการขับเคลื่อนงานของขบวนองค์กรชุมชน เพื่อเป็นระบบหนุนเสริมงบประมาณในพื้นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ มีทีมงานและเจ้าหน้าที่ในการพัฒนาพื้นที่ โดยมีบุคลากรที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนงาน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องที่ขบวนองค์กรชุมชนสามารถกุมสภาพการขับเคลื่อนงานร่วมกับ พอช. ได้ หากเกิดข้อติดขัดประการใด ควรเร่งปรึกษาหารือถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา และปรับเปลี่ยนการทำงานให้เกิดผลดีต่อไป

สถานการณ์ประเทศไทยและความท้าทายในการขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ

นายพลากร  วงค์กองแก้ว อดีตผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

ในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยนั้น ส่งผลต่อการขับเคลื่อนงานของขบวนองค์กรชุมชน ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน เปลี่ยนวิธีการ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจชุมชน การบริหารจัดการชุมชน การจัดการอุตสาหกรรมที่มีควรจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมและรักษาทรัพยากรให้คงอยู่ การเมืองแบบใหม่ สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา ไม่มีแรงกระตุ้นด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรให้ความสำคัญ รวมถึงเรื่องการกระจายอำนาจให้แก่ชุมชนมีอำนาจในสิทธิต่างๆ ต้องประกาศเป็นนโยบายทางการเมืองให้เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง และแนวทางที่ขบวนองค์กรชุมชนและในพื้นที่จะดำเนินการได้ คือ 1) จัดตั้งขบวนองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง 2) สร้างระบบการบริหารจัดการในพื้นที่ให้ราบรื่น 3) ส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจ การจัดแผนเศรษฐกิจชุมชนด้วยตนเอง 4) สร้างระบบการทำงานใหม่ของขบวนองค์กรชุมชน ที่เชื่อมโยงการทำงานกับหน่วยงานได้มากขึ้น 5) สร้างระบบพื้นที่ให้ชัดเจน วางระบบการพัฒนาพื้นที่จังหวัดร่วมกัน 6) เสนอกฎหมายการกระจายอำนาจให้แก่พื้นที่ 6) การบูรณการและการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง 7) การวิเคราะห์พื้นที่แบบเชิงลึก เพื่อนำไปประเมินพื้นที่และต่อยอดการพัฒนาในพื้นที่นั้นๆ 8) วางแนวทางการแก้ไขปัญหาในการขับเคลื่นอนงานพื้นที่ ร่วมกับพัฒนานโยบายที่สำคัญของสังคมร่วมด้วย

และในด้านสังคมสูงวัย เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว ทั้งนี้สังคมก็เป็นโลกแห่งออนไลน์ จึงต้องพัฒนากลุ่มสูงวัยให้เท่าทันกับสถานการณ์ในการทำอาชีพ และสามารถใช้ชีวิตเป็นอยู่ได้ ปรับตัวให้เข้ากับสังคมเทคโนโลยีการส่งเสริมวัยแรงงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และรวมปัญหาต่างๆ อีกมากมายตรมสถานการณ์โลก ขบวนองค์กรชุมชนต้องปรับตัว รวมพลังเพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนในพื้นที่ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านเกษตร เทคโนโลยี และแรงงาน โดยการพึ่งพาตนเองก่อน และหันไปพัฒนาพื้นที่ในวงกว้าง รวมทั้งการเคลื่อนไหวสังคมในด้านอื่นๆ อย่างเท่าทัน จึงต้องมีการรวมกลุ่ม พูดคุยแนวางการขับเคลื่อน เพื่อให้เกิดแนวทางในการปรับตัว ในการบริหารจัดการต่างๆ ร่วมกัน บริหารจัดการทรัพยากรชุมชนให้คงอยู่ การยกระดับการพัฒนาพื้นที่ และการให้ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนกฎหมาย การเสนอกฎหมายให้เป็นจริง การบูรณาการทุนของชุมชน เพื่อเป็นการบริหารจัดการใช้ทุนส่งเสริมการพัฒนางานในพื้นที่ จึงต้องหาหน่วยงานเข้ามาบูรณาการ และหนุนเสริมทุนในการสนับสนุนการทำงานของขบวนองค์กรชุมชน

ทั้งนี้จังหวัดบูรณาการ ต้องกำหนดทิศทางและเป้าหมายให้ชัดเจน รวมถึงการสร้างผลลัพธ์ของการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม แต่ละจังหวัดจำเป็นต้องมีวิธีการ กิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดพลังการขับเคลื่อนเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาพลังประชาชนให้เป็นพลังพลเมือง , ยกระดับการพัฒนาจังหวัดบูรณาการไปสู่การเป็นจังหวัดจัดการตนเอง โดยปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในการขับเคลื่อน คือ การวิเคราะห์สถานการณ์การขับเคลื่อนงานของจังหวัด มีเครื่องมือและกลไกการขับเคลื่อนจังหวัด โดยการก้าวไปสู่จังหวัดจัดการตนเอง จะเป็นภารกิจสำคัญของพื้นที่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือ และแนวทางในการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  • จำเป็นต้องวิเคราะห์ประเด็นงานและผลของความก้าวหน้าในทุกเรื่องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนงานของจังหวัด ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลึกของขบวนงานทั้งขบวน 
  • อาศัยความร่วมมือของส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้นำจังหวัด หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของสถาบัน สนับสนุนการทำงานร่วมกัน ไม่ต่างคนต่างทำ โดยยึดกลไกร่วมของจังหวัด ช่วยสนับสนุนกลไกในการทำงานทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด
  • สนับสนุนให้ตำบลต่าง ๆ พัฒนารูปธรรมความสำเร็จของตำบลทุกตำบล เพื่อสร้างผลการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม และจะส่งผลความเข้มแข็งและขยายผลให้กับทางจังหวัดเป็นผลตามมา
  • ส่งเสริมให้มีการประมวลผล และประเมินผลการทำงานของจังหวัดบูรณาการทั้ง 22 จังหวัด ส่วนด้านจังหวัดที่มีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงาน ก็จะนำไปเป็นจังหวัดขยายผลในปีงบประมาณ 2568 ต่อไป
  • สถาบัน ต้องมีกระบวนการออกแบบร่วมกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในพื้นที่ เพื่อช่วยกันหาแนวทางสนับสนุนการขับเคลื่อนงานร่วมกันระหว่างขบวนองค์กรชุมชน และสถาบัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทั้ง เกิดการหนุนเสริมของเจ้าหน้าที่ของสถาบัน สนับสนุนการทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างระบบการหนุนเสริมไปที่ระดับจังหวัดให้เกิดความเข้มแข็ง โดยผ่านกระบวนการออกแบบของผู้นำและคนในจังหวัด และส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติการจริงในระดับพื้นที่

และจากการจัดสัมมนาในครั้งนี้มีข้อเสนอในการส่งเสริมและขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการให้เกิดทิศทางสำคัญ พร้อมปฏิบัติการสานพลังในหลากหลายประเด็น ซึ่งจะต้องมีเวทีกลางในการระดมความเห็นและยกระดับไปสู่ปฏิบัติการให้เกิดรูปธรรมในอนาคตต่อไป เช่น การคิดออกแบบการเคลื่อนที่มีกลไกร่วม ระหว่างเครือข่ายองค์กรชุมชน และหน่วยงานสนับสนุน ที่ถูกกำหนดจากพื้นที่ หน่วยงานที่สนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง ต้องบูรณาการและนำไปสู่การขับเคลื่อนในระดับจังหวัดให้เกิดรูปธรรม การมีกองทุนบริหารร่วมในระดับพื้นที่ เป็นการรวมทุนของขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด การขับเคลื่อนและดำเนินการจังหวัดบูรณาการที่จะต้องมีการสรุปบทเรียนศักยภาพว่ามีรูปแบบความโดดเด่นในการขับเคลื่อนอย่างไรต่อในอนาคต การมีทีมสนับสนุน เช่น (1) ทีมประเมินภายในเพื่อเสริมพลัง (2) ทีมประเมินผลสัมฤทธิ์ และนำผลลัพธ์เชื่อมโยงสู่ระดับนโยบาย (3) Core Team ในการถอดหรือสรุปบทเรียนการเคลื่อนของแต่ละหน่วย เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’

พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’

รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567

ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’

‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน

รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด

เสียงจากคลองเปรมประชากร…บ้านหลังใหม่ชีวิตใหม่ “คืนสายน้ำให้คนคลอง คืนสายคลองให้คนเมือง”

คลองเปรมประชากร มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คลองนี้ได้ประสบปัญหามากมาย

บอร์ด พอช. มีมติ พักชำระหนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ

สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ