สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ
สถานการณ์การเกิดอุทกภัยจากอิทธิพลของพายุยางิ ในระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2567 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 7 อำเภอ คือ อำเภอแม่สาย อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงชัย อำเภอเชียงแสน อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง และจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 อำเภอ คือ อำเภอแม่อาย และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังบริเวณจังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขงอีก 7 จังหวัด คือ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 มีฝนตกต่อเนื่องทำให้เกิดอุทกภัยส่งผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดแพร่ จังหวัดพะเยา และจังหวัดน่าน
การประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ ครั้งที่ 10/2567
ล่าสุดวันนี้ (20กันยายน2567) คณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้มีมติ พักชำระหนี้ให้แก่องค์กรผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในการประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ ครั้งที่ 10/2567 โดยมี ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันฯ เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น3 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) บางกะปิ กรุงเทพฯ
พื้นที่องค์กรผู้ใช้สินเชื่อได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
องค์กรผู้ใช้สินเชื่อได้รับผลกระทบจากอุทกภัยบ้านเรือนของสมาชิกได้รับความเสียหายจากอิทธิพลของพายุยางิ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และสถานการณ์ฝนตกต่อเนื่องในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 ในพื้นที่จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่ จำเป็นต้องทำความสะอาดและซ่อมแซม จำนวน 17 องค์กร สมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 4,483 ครัวเรือน แบ่งเป็นสินเชื่อบ้านมั่นคง จำนวน 9 องค์กร สมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 586 ครัวเรือน สินเชื่ออื่น จำนวน 8 องค์กร สมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 3,897 ครัวเรือน องค์กรผู้ใช้สินเชื่อพื้นที่ที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในจังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 12 องค์กร สมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 1,951 ครัวเรือน แบ่งเป็น สินเชื่อบ้านมั่นคง จำนวน 10 องค์กร สมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 812 ครัวเรือน สินเชื่ออื่น จำนวน 2 องค์กร สมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 1,139 ครัวเรือน
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันฯ กล่าวว่า การพักชำระหนี้ให้แก่องค์กรผู้ใช้สินเชื่อ ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากอุทกภัย รวมเวลา 3 เดือนนั้น ให้ทางชุมชนสำรวจข้อมูลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งองค์กรผู้ใช้สินเชื่อทุกประเภทสินเชื่อที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และพื้นที่ที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากอุทกภัย (เช่น ผลกระทบด้านอาชีพและรายได้) ดังนั้นเพื่อให้การช่วยเหลือองค์กรผู้ใช้สินเชื่อครอบคลุมทุกองค์กรผู้ใช้สินเชื่อ สถาบันอาจทำข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ (องค์กรผู้ใช้สินเชื่อที่ได้รับผลกระทบแล้วและองค์กรผู้ใช้สินเชื่อที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบระยะถัดไป) ทั้งนี้องค์กรผู้ใช้สินเชื่อควรจัดทำแผนรองรับกรณีที่เกิดน้ำท่วมในอนาคต
มาตรการทางการเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ซึ่งคณะกรรมการสถาบันได้มีมิติเห็นชอบด้วยหลักการที่เสนอ โดยองค์ผู้ใช้สินเชื่อในพื้นที่ ซึ่งยื่นความจำนงค์ผ่านสำนักงานภาค และหากมีกรณีเร่งด่วนให้นำมาเสนอบอร์ดเป็นรายกรณีไป พอช. เป็นองค์กรที่ทำให้องค์กรชุมชนรับรู้ว่าเราไม่ทอดทิ้งเขา และอยู่เคียงข้างในยามที่ชุมชนได้รับความยากลำบาก ดร.กอบศักดิ์ กล่าวในตอนท้าย
องค์กรผู้ใช้สินเชื่อได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคเหนือ
องค์กรผู้ใช้สินเชื่อได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ออมสิน ประกาศพักชำระหนี้ลูกค้าได้รับผลกระทบอุทกภัยภาคใต้
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ธนาคารออมสินจึงได้ออกมาตรการบรรเทาความเดือดร้อน
พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’
พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล
สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน
UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’
รวมพลังคนจนแก้ปัญหาที่ดิน-ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2567
ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่สำคัญของผู้คนทั่วโลก UN-Habitat หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’
‘21 ปีบ้านมั่นคง’ พอช. แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยคนจนทั่วประเทศ กว่า 3 แสนครัวเรือน
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยแก่คนจนในเมืองที่ ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้อยู่อาศัยในชุมชนแออัด