ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้โพสต์ Facebook ส่วนตัวแสดงให้เห็นถึงตัวเลขอัตราหนี้เสียของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยระบุว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจาก 3.7% ในปี 2563 เป็น 6.63% ในปี 2564 ซึ่งถ้าย้อนไปดูคำชี้แจงของผู้บริหารเมื่อสิ้นปีบัญชี 2564 ก็ระบุว่าในปีบัญชี 2565 ได้ตั้งเป้าหมายที่จะบริหารจัดการให้หนี้เสียปรับลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 4.5% ของสินเชื่อรวม
แต่ล่าสุด เพียงแค่ครึ่งปีแรกของปี 2565 หนี้เสียต่อสินเชื่อรวมพุ่งไปอยู่ที่ระดับ 12.5% และผู้บริหารธนาคารยังคาดว่าสิ้นปีบัญชี 2565 (31 มีนาคม 2566) สัดส่วนหนี้เสียจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 7% ไม่ใช่ 4.5% อย่างที่ตั้งเป้าไว้แต่เดิมแล้ว
คำชี้แจงของตัวเลขหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริหารธนาคารยังคล้ายเดิม เช่น การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังอยู่ในระดับสูงกระทบรายได้ของเกษตรกร ปัญหาภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมในช่วงกลางปี และเกษตรกรยังมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้กระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้
จากคำชี้แจงทำนองนี้ ย้ำให้เห็นชัดเจนว่า เกษตรกรไทย ยังต้องรับความเสี่ยงต่างๆ ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะความเสี่ยงจากโรคระบาด ภัยธรรมชาติ ความผันผวนของราคาต้นทุนการผลิต ในขณะที่ภาคเอกชน พ่อค้าคนกลาง และผู้ที่ได้ประโยชน์ร่วมในห่วงโซ่อุปทานตลาดสินค้าเกษตร กลับไม่ต้องร่วมแบกรับความเสี่ยงเหล่านี้เลย รอรับซื้อผลผลิต ได้กำไรส่วนต่างเท่านั้น
เมื่อดูตัวเลขสินเชื่อสะสมของเกษตรกรเฉพาะที่ธ.ก.ส. สูงถึง 1.6 ล้านล้านบาทแล้ว หากมีเพียงรัฐบาล กับธนาคารของรัฐ ที่ดูแลปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตรกรหลังจากความเสี่ยงกลายเป็นความสูญเสียไปแล้ว เราก็จะต้องมาเห็นนโยบายหาเสียง “พักหนี้เกษตรกร” ทุกรอบที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งมันไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้เกษตรกรที่ต้นเหตุ แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากความทุกข์ของเกษตรกรอันเป็นปลายเหตุเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียง ....เราจะไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน ตราบใดที่โครงสร้างการกระจายความเสี่ยงในภาคการเกษตรยังไม่เป็นธรรม
ทางที่จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน คือ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างเอกชนกับเกษตรกร เรียกว่า บริษัทผู้ผลิตร่วม ลงทุนร่วมกัน ฝ่ายหนึ่งลงเงินทุน อีกฝ่ายหนึ่งลงแรง รับความเสี่ยงร่วมกัน กำไรแบ่งกัน ขาดทุนก็รับผิดชอบร่วมกัน จะทำเกษตรอัจฉริยะ จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จะลดต้นทุน จึงจะขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม และแก้ปัญหาหนี้เกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
งานเข้าถี่! แม่ทัพ กทม. พลังประชารัฐ เพิ่งรู้ 'นฤมล' เบี้ยวเวทีปราศรัย
นายสกลธี ภัททิยกุล หัวหน้าทีมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิก พรรคพลังประชารัฐ ไม่มาร่วมการปราศรัยหาเสียงในวันนี้
ไร้เงา 'นฤมล' ร่วมเวที พปชร. ปราศรัยหาเสียง ส.ส.กทม. ยังไม่ชัดอยู่หรือไป
ผูัสื่อข่าวรายงานบรรยากาศการจัดเวทีปราศรัยย่อยโซนกรุงเทพฯ เหนือ"พลังใหม่ พลังกรุงเทพ พลังประชารัฐ”ที่ศูนย์เยาวชนหลักสี่ การเคหะท่าทราย ซึ่งตามกำหนดการที่แจ้งไว้ จะมีแกนนำพรรคพลังประชารัฐ
บิ๊กตู่-ลุงป้อม กับ “ขุนศึก” ที่รายล้อม ในรทสช.-พปชร.
หลายพรรคการเมือง เร่งเดินเครื่องเพื่อเตรียมเข้าสู่สมรภูมิเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม เต็มสูบ ขณะเดียวกัน แต่ละพรรค พบว่า แกนนำ ยังทยอยดึงคนดัง
เลขาฯพปชร. ลั่นบัญชีรายชื่อเปลี่ยนไม่ได้แล้ว เมิน 'นฤมล' ทิ้งไม่สะเทือนพรรค
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะเลขาธิการพรรค พปชร. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสรรหาผู้สมัคร ส.ส. ที่นายสันติ เป็นประธาน ว่าขณะนี้ ส.ส.แบบแบ่งเขตทั้ง 400 เขต
'ธรรมนัส' รับพักหลังไม่ได้คุย 'นฤมล'
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า แกนนำพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) แสดงอาการแปลกใจ หลังจากทราบข่าวจากสื่อว่านางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ สละสิทธิไม่รับตำแหน่งปาร์ตี้ลิสต์ โดยผู้สื่อข่าวถามว่า การสละสิทธิของ
เปิดคำสั่ง 'บิ๊กป้อม-หัวหน้าพปชร.' ตั้งคกก. 5 ชุดสู้ศึกเลือกตั้ง ไร้ชื่อ 'นฤมล'
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายอำนวยการ โดยมีนายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นประธาน และกรรมการประกอบด้วย นายวราเทพ รัตนากร