รมว.สุชาติ แถลงต่อ ILO มุ่งจ้างงาน วางรากฐานความมั่นคงแรงงาน ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ครั้งที่ 17 ณ Raffles City Convention Centre สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง เข้าร่วมด้วย

นายสุชาติ กล่าวว่า ผมขอแสดงความยินดีกับ ILO และรัฐบาลสิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการประชุมภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในครั้งนี้ และเห็นด้วยกับแนวคิดในรายงานของผู้อำนวยการใหญ่ ILO ที่ได้กล่าวถึงความยุติธรรมทางสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการพื้นฟูโดยมีคนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้การเจรจาทางสังคมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งขอยกตัวอย่างการดำเนินการที่ดีในประเทศไทย ภายใต้การนำของ ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่กระทรวงแรงงานได้ดำเนินมาตรการหลายประการ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด - 19 และช่วยเหลือธุรกิจและแรงงานในการฟื้นฟูจากสถานการณ์โควิด – 19 อาทิ การจัดงาน Job Expo ในปี 2563 ที่สามารถสร้างงานให้กับแรงงาน 2.6 ล้านคน และโครงการ Co - Payment ซึ่งประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการจ้างงานเยาวชน การรับมือกับคลัสเตอร์การติดเชื้อของแรงงาน รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการร่วมกันระหว่างกระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรับมือกับโควิด – 19 ในสถานที่ทำงาน โดยเราสามารถกระจายวัคซีนได้รวดเร็วขึ้น และเข้าถึงแรงงานทุกสัญชาติ โครงการ Factory Sand Box ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับผลกระทบของโควิด โดยสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและการสาธารณสุข ลูกจ้างในภาคการผลิตได้รับการคุ้มครองการจ้างงานและรายได้ ผ่านการตรวจ ฉีดวัคซีน และการแยกกักตัว โดยโครงการได้ให้การสนับสนุนสถานประกอบการ ป้องกันสุขภาพให้กับลูกจ้าง และทำให้ประเทศสามารถรักษาการจ้างงานได้มากกว่า 4 แสนตำแหน่ง และสร้างมูลค่าในการส่งออกสูงสุดในรอบ 30 ปี และการเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานให้แก่ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง หรือไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากการกักตัว การสนับสนุนเงินเยียวยาให้แก่นายจ้าง 2 แสนแห่ง สำหรับลูกจ้าง 12 ล้านคน โดยให้ความสำคัญกับ SMEs เป็นพิเศษ ซึ่งมาตรการรักษาการจ้างงานสำหรับ SMEs สามารถที่จะสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กจำนวน 4 แสนแห่ง และรักษาการจ้างงานให้กับแรงงาน 5 ล้านคน รวมถึงสร้างงานใหม่อีกกว่า 6 หมื่นตำแหน่ง

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า สถิติดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูในเกือบทุกภาคส่วน รวมทั้งภาคการผลิตฟื้นตัว และภาคการท่องเที่ยว IMF ได้ประกาศว่าประเทศไทยมีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในโลก โดยมีอัตราการว่างงานในช่วงพีคของโควิด เพียงร้อยละ 1.5% และฟื้นตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อทำให้เกิดการฟื้นฟูที่มีคนเป็นศูนย์กลาง อย่างครอบคลุม ยั่งยืน และยืดหยุ่น นโยบายแนวใหม่ของเรา คือ “เพราะความมั่นคงคือรากฐานของชีวิต” โดยกฎหมายใหม่สำหรับแรงงานนอกระบบ และนวัตกรรมใหม่ด้านสถาบันแรงงาน จะสร้างโอกาส สร้างความมั่นคง และคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่แรงงานทุกคน ซึ่งขอให้ทาง ILO ช่วยให้การสนับสนุนผ่านแผนงานระดับชาติว่าด้วยงานที่มีคุณค่าของประเทศไทยฉบับใหม่ด้วย

“ผมขอยืนยันความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการร่วมมือกับ ILO และประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อมุ่งไปสู่การฟื้นฟูหลังโควิด – 19 โดยเราคาดหวังที่จะสร้างอนาคตที่มีการจ้างานอย่างมีผลิตภาพ และงานที่มีคุณค่า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” นายสุชาติ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับการประชุมภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ครั้งที่ 17 ในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในสี่กรอบการประชุมระดับภูมิภาคขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้แก่ เอเชียและแปซิฟิก อเมริกา แอฟริกา และยุโรป ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยหมุนเวียนแต่ละภูมิภาคตามลำดับ การประชุม APRM จึงมีกำหนดจัดขึ้นทุก 4 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีการปรึกษาหารือและการนาเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้แทนสามฝ่ายจากประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกและรัฐภูมิภาคอ่าวอาหรับ จำนวน 47 ประเทศ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมในระดับภูมิภาคของ ILO

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่