นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดการตรวจประเมินประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ (IMO Member State Audit Scheme : IMSAS) ร่วมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางทะเลของประเทศ โดยมี นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมเจ้าท่า (จท.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศร.ชล.) กองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยคณะผู้ตรวจประเมินจากประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ ได้แก่ นายโมลเอน อาซอฟ (Mr. Moain Al Zoubi) หัวหน้าคณะผู้ตรวจประเมินฯ กัปตันอานิช โจเซฟ (Capt. Anish Joseph) และนายอาจิ วาสุเดวัน (Mr. Aji Vasudevan) คณะผู้ตรวจประเมินฯ เข้าร่วมพิธีฯ ในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมวิสูตรสาครดิษฐ์ กรมเจ้าท่า
.
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ในนามของราชอาณาจักรไทย กระทรวงคมนาคมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการต้อนรับผู้เข้าร่วมพิธีเปิดการตรวจประเมินประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับทุกคน โดยเฉพาะคณะผู้ตรวจประเมินฯ ที่เข้าร่วมโครงการ Member State Audit Scheme (IMSAS) ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20 – 27 กุมภาพันธ์ 2566 การขนส่งทางทะเลเป็นเส้นทางอำนวยความสะดวกที่สำคัญของการค้าในยุคโลกาภิวัฒน์และระบบห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่สามารถรับประกันการขนส่งระหว่างประเทศที่เชื่อถือได้และประหยัดต้นทุน สำหรับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและประสานมาตรฐานสำหรับความปลอดภัยและความมั่นคงของการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ รวมทั้งการป้องกันมลพิษทางทะเลโดยเรือ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิก IMO ตั้งแต่ปี 2516 และได้ปรับปรุงมาตรฐานการเดินเรือ เพื่อความปลอดภัยและการป้องกันสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนากระบวนการเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานทางทะเลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจถึงการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ตราสาร IMO การปรับปรุงขีดความสามารถของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนระดับชาติ และความปลอดภัยในชีวิตทางทะเลในระดับภูมิภาค เพื่อป้องกันมลพิษทางเรือผ่านยุทธศาสตร์การเดินเรือโดยรวมของประเทศไทย และเนื่องจากในปีนี้เป็นปีครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ IMO จึงขอใช้โอกาสนี้ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยที่มีต่ออาณัติของ IMO ในการพัฒนาการขนส่งทางทะเลอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเครื่องมือและประสบการณ์ระหว่างประเทศ พร้อมร่วมแผนการปฏิบัติระหว่างรัฐสมาชิกในการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เห็นชอบอนุมัติการลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทยและ IMO เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการ IMSAS โดยมอบให้อธิบดีกรมเจ้าท่าหรือรองอธิบดีกรมเจ้าท่าที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้แทนฝ่ายไทยสำหรับการลงนามดังกล่าว และอนุมัติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 16 หน่วยงานเข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศร.ชล. กองทัพเรือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย กรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ โดยมีพันธกรณีที่ต้องรับการตรวจประเมินจาก IMO ในอนุสัญญาที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี 6 ฉบับ ประกอบด้วย อนุสัญญา SOLAS อนุสัญญา MARPOL (เฉพาะภาคผนวกที่ 1 และ 2) อนุสัญญา LOADLINE อนุสัญญา TONNAGE อนุสัญญา CORLEG และอนุสัญญา STCW ให้เป็นไปตามประมวลข้อบังคับว่าด้วยการอนุวัติการตรวจตราสารขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO Instruments Implementation Code : III Code) ประกอบด้วย ประเด็นโดยรวม (Common Area) รัฐเจ้าของธง (Flag State Implementation) รัฐชายฝั่ง (Coastal State Implementation) และรัฐเจ้าของท่าเรือ (Port State Implementation สำหรับประเด็นการตรวจประเมินฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย การจัดทำกลยุทธ์ระดับประเทศในการขับเคลื่อนการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่กำหนด การกำกับดูแลการดำเนินการโดยคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อประสานงานกับ IMO การลงนามบันทึกความร่วมมือแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา การฝึกอบรมให้กับเรือไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเก็บข้อมูลตรวจอากาศทางทะเล การขยายสถานี Navtex เพื่อให้บริการข่าวสารด้านการเดินเรือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลอั่วไทยและอันดามัน การฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย การตั้งสำนักงานสืบสวนอุบัติเหตุทางน้ำ เพื่อให้การสอบสวนอุบัติเหตุทางน้ำเป็นอิสระ และการตั้งกลุ่มมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าและสินค้าอันตราย เพื่อกำหนดการกำกับ ดูแลความปลอดภัยระหว่างการขนส่งสินค้าทางเรือ
.
สำหรับกระบวนการตรวจประเมิน IMSAS เป็นมาตรการเชิงสร้างสรรค์ (Positive Measure) ของ IMO ในการยกระดับการดำเนินการตามพันธกรณีของอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านความปลอดภัยและการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งเป็นการรวบรวมผลการปฏิบัติจากประเทศสมาชิกต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำโครงการช่วยเหลือทางวิชาการ ให้ประเทศสมาชิกได้ยกระดับความสามารถในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาได้โดยไม่ทิ้งประเทศใดไว้ข้างหลัง ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติจากการประชุมคณะมนตรีสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 32 (COUNCIL 32nd extraordinary session) ที่มีมติรับรองแผนการปรับปรุงกำหนดการตรวจประเมินประเทศสมาชิกภาคบังคับ (IMSAS) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยให้เลื่อนการตรวจประเมินในปี 2564 ออกไปเป็นปี 2565 และผลการประชุมคณะมนตรี ครั้งที่ 125 (125th Council : C125) ที่มีมติรับรองให้ใช้การตรวจประเมินทางไกล (Remote Audit) เป็นมาตรการชั่วคราวในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ทั้งนี้ IMO ได้มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564 แจ้งประเทศสมาชิกถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ไม่สามารถตรวจประเมินประเทศต่าง ๆ ได้ตามแผนที่วางไว้ และปรับวิธีการตรวจประเมินทางไกล (Remote audit) แทนการตรวจประเมินแบบปกติ จึงจำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการตรวจประเมินในปี 2565 ออกไปเป็นปี 2566 รวมถึงกำหนดการตรวจประเมินของประเทศไทยที่ถูกเลื่อนจากเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ด้วยเช่นกัน
.
IMO เป็นทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อกำหนดกรอบมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ สำหรับให้ประเทศสมาชิกยอมรับและนำไปปฏิบัติในรูปของตราสารต่าง ๆ ได้แก่ อนุสัญญา พิธีสาร กฎ และข้อบังคับ ปัจจุบันมีสมาชิก 174 ประเทศ และสมาชิกสมทบ (เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และหมู่เกาะแฟโร) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาและพิธีสารของ IMO 14 ฉบับ จากอนุสัญญาและพิธีสารทั้งหมด 59 ฉบับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' ตีมึนไม่รู้ 'ทักษิณ' หมายถึงใคร
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พูดบนเวทีสัมม
ภูมิธรรมล้อฟรี! บอกหัวเขียงถอน กม.ยึดอำนาจกองทัพไม่เกี่ยวกับเพื่อไทย
'ภูมิธรรม' ชี้ 'ประยุทธ์' ถอนร่าง กม.จัดระเบียบสภากลาโหมปรับแก้เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวยอม 'ภูมิใจไทย' เพราะไม่ใช่ร่างของพรรค บอกขอรอข้อสังเกตจากทุกฝ่ายก่อน ยันไม่เป็นประเด็นขัดแย้งพรรคร่วม
'อนุทิน' สวนเพื่อไทย! จุดยืน 'ภท.' ไม่เอาด้วย กม.สกัดปฏิวัติ
'อนุทิน' ย้ำจุดยืนภูมิใจไทย ไม่เอาด้วยกฎหมายสกัดปฏิวัติ ชี้นักการเมืองอย่าสร้างเงื่อนไข ทำตัวให้ดีอย่าขึ้โกง ชงกฎหมายแค่สัญลักษณ์ ถึงเวลารัฐธรรมนูญโดนฉีกอยู่ดี
'วัชระ' ยินดีล่วงหน้ากับพรรคภูมิใจไทย ที่ลูกพรรคคนสำคัญได้รับการพักโทษ
นายวัชระ เพชรทอง อดีตสส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตามที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 3 อดีตสส.พรรคภูมิใจไทย คือ นางนาที รัชกิจประการ
'คารม' สวน 'หมอเชิดชัย' เป็นแค่ผู้เล่นฟุตบอล อย่าคิดแทนเจ้าของทีม
นายคารม พลพรกลาง “รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะสมาชิกพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีที่นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิริน
'ภูมิธรรม' ให้ท้าย 'หมอเชิดชัย' อ้าง พท.-ภท. ยังแน่นปึ้ก
'ภูมิธรรม' ชี้ 'หมอเชิดชัย' ขู่ภูมิใจไทย ไม่กระทบสัมพันธ์พรรคร่วม อ้างแค่ความเห็น สส. แต่อำนาจยุบสภาอยู่ที่นายกฯ