อัดวัคซีนใจทุกสถานประกอบการ ผลักดันตรวจสุขภาพจิตประจำปี

การสร้างสุข-ลดทุกข์วัยทำงานในสถานประกอบการเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสถานที่ทำงานคือบ้านหลังที่ 2 (Second House) ยิ่งทักษะเดิมของแรงงานไม่สอดรับกระบวนการผลิตแบบใหม่ ความเสี่ยงและผลกระทบจากการตกงานมีโอกาสสูง อีกทั้งสถานการณ์โรคระบาดโควิดเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ต้องเตรียมความพร้อมให้พนักงานพัฒนาความรู้ใหม่สู่การเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันการออมเงินเพื่อการสร้างอนาคตหลังวัยเกษียณอย่างมีคุณค่า พึ่งพาตัวเองได้เป็นอย่างดี เป็นเรื่องที่ต้องเตรียมตัววางแผนล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (สำนัก 2) ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต (ศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 นครสวรรค์) ลงพื้นที่ติดตามโครงการ “สร้างเสริมศักยภาพของเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพจิตของแรงงานในสถานประกอบกิจการ” ณ บริษัท  เอ็นเอ็มบี-มินีแบไทย จำกัด บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา และเข้าร่วมงานสัมนาประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลและถอดบทเรียนการดำเนินงานสร้างสุขวัยทำงานในสถานประกอบกิจการเมื่อเร็วๆ นี้ที่ รร.เคนซิงตัน อิงลิช การ์เด้น  รีสอร์ท เขาใหญ่

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า เมืองไทยมีนักสุขภาพจิต นักจิตวิทยา 1 คนดูแลคน 108,000 คน ทางปฏิบัติย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึง เราจำเป็นต้องพัฒนานักสุขภาพจิตเพื่อทำงานสร้างเสริมสุขภาพจิต ช่วยแบ่งเบาภาระของจิตแพทย์ สสส.สนับสนุนเน้นปรัชญาสร้างนำซ่อม เป็นการสร้างวัคซีนใจ ให้คนรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้า เครียด เท่ากับว่าเป็นการแก้ไขปัญหาในระดับต้นทาง การทำงานนี้เป็นการร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานองค์กรอื่นๆ เพื่อให้สุขภาพจิตคนไทยดีขึ้น

สสส.ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพจิตประชาชนมุ่ง  “สร้างเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก่อนเจ็บป่วย” เพราะเมื่อกายป่วย จิตก็ป่วยได้ เรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องปกติ เมื่อป่วยต้องการความช่วยเหลือก็หาหมอรักษา การพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อสถานการณ์สังคม ผลักดันนโยบายเน้นการเข้าถึงบริการพื้นฐาน รวมทั้งสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความรอบรู้แก่ประชาชน สำหรับวัยทำงานเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ประมาณ 2 ใน 3 ของประเทศ  มีแรงงานในสถานประกอบการกว่า 15 ล้านคน เป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนองค์กรที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศ

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต(ทำงานด้านสุขภาพจิต40ปี)

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วัยแรงงานได้รับผลกระทบต่อสถานภาพทางเศรษฐกิจและจิตใจ ทั้งจากการงาน หนี้สิน มีความเครียด วิตกกังวล เหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกหมดหวัง หมดพลังชีวิต เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า นำไปสู่การฆ่าตัวตาย  โดยข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ในปี 2565 พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในวัยทำงาน 9.43 ต่อแสนประชากร (3,650  คน) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ส่วนอัตราการพยายามฆ่าตัวตายในวัยทำงานอยู่ที่ 45.24 ต่อแสนประชากร (17,499  คน) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเล็กน้อย

ผลการสำรวจการทำงานลงพื้นที่ จะเห็นได้ว่าพนักงานมีความใกล้ชิดกับพนักงาน HR ขององค์กร รู้สึกได้ว่าเป็นเสมือนทีมเดียวกัน โดยเฉพาะการรับฟังปัญหาโดยไม่ตัดสินปัญหา จากโครงการนำร่อง 22 องค์กรเห็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ลดจำนวนผู้ป่วย NCDs  การลดความเครียด มีกระบวนการตรวจสอบการเงินของตัวเอง การลดเหล้าบุหรี่ตลอดจนสุขภาพจิต การช่วยวินิจฉัยความเครียด ปัญหาการเงิน ทั้งหมดนี้จะนำไปใช้กับองค์กรอื่นๆ เพื่อการมีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็งขึ้น HR แต่ละองค์กรพบว่าตัวเองเป็น Change Agent ทำให้ช่องว่างระหว่างบริษัทและพนักงานลดลง เพราะมีความไว้เนื้อเชื่อใจที่จะระบายปัญหาเพื่อเปลี่ยนแปลง “การทำงานครั้งนี้เราเลือกจากบริษัทที่ให้ความสนใจก่อน ต่อไปจะขยับเข้าไปในบริษัทขนาดเล็กที่พร้อมจะปรับเปลี่ยน เพราะแต่ละบริษัทนั้นปัญหาแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามข้อมูลทั้งหมดจะนำมาวิเคราะห์ถอดแบบเรียน”

นางเดือนเพ็ญ ชาญณรงค์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 3 กล่าวว่า ศูนย์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต  ร่วมกับ สสส. สานพลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์สุขภาพจิต และคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตจังหวัด ดำเนินการโครงการ “สร้างเสริมศักยภาพของเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพจิตของแรงงานในสถานประกอบกิจการ” ให้เจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลสามารถให้คำปรึกษาสุขภาพแบบองค์รวม (กาย ใจ การเงิน) แก่แรงงาน เพื่อจัดการความเครียด มีสุขภาพจิตดี มีความเข้มแข็งทางจิตใจ มีพลังความหวังที่จะฝ่าข้ามวิกฤตได้ และส่งต่อความรู้ให้ครอบครัว ชุมชน อีกทั้งยังเพิ่มผลิตภาพให้สถานประกอบการและประเทศด้วย ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ทรัพยากรบุคคลได้รับการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่จากสถานประกอบกิจการ 23 แห่งใน 8 เขตสุขภาพ รวมพนักงานกว่า 26,000 คน มีการจัดกิจกรรมสร้างสุขวัยทำงานและมีพนักงานเข้าร่วมแล้ว 2,110 คน คาดหวังให้เกิดรูปแบบการดำเนินการในสถานประกอบการนำร่อง ไปขยายผลในสถานประกอบการอื่นต่อไป

น.ส.กนกอร สุวรรณนิคม บริษัท เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย จำกัด ผู้ประสานงานโครงการฯ กล่าวว่า ผู้บริหารบริษัทที่เป็นคนญี่ปุ่นและคนไทยมีแนวคิดส่งเสริมสุขภาพจิต ด้วยหลักสูตรเดียวกันให้พนักงานในสถานประกอบการ 3 แห่ง คือ บางปะอินและลพบุรีแห่งละกว่า  10,000 คน นวนครกว่า 700 คน ด้วยการนำพนักงาน HR เข้าร่วมอบรมโครงการสร้างสุขลดทุกข์ Happy Workplace ร่วมกับ สสส.ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีแบบประเมินทดสอบ 2Q+ เพื่อให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหา มีพี่เลี้ยงเข้าไปดูแล จากการอบรมพนักงาน 100 คนแรกมีความพึงพอใจสูง

บริษัทฯ มีพนักงานกว่า 14,000 คน มีภาวะความเครียดจากหลายปัจจัย อาทิ ยอดการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น  สถานการณ์โควิด-19 ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการเงิน หลังเข้าร่วมโครงการฯ ได้จัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเรื่องการดูแลสุขภาพกาย การจัดการอารมณ์และความเครียด  และการจัดการหนี้สินส่วนบุคคลไปแล้ว 2 รุ่น รวมพนักงานที่เข้าร่วมโครงการฯ 100 คน มีการตรวจวัด BMI,  ประเมินสุขภาพใจ และประเมินสุขภาพการเงิน พบพนักงานมีปัญหาน้ำหนักเกินกว่า 50% มีภาวะเครียด 46% โดย 22% เสี่ยงซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย และยังพบพนักงานมีปัญหาด้านหนี้สิน การเงินอ่อนแอ 10%  โครงการนี้ดูแลสุขภาพใจพนักงานทุกคน ผ่านการประเมินสุขภาพใจ และให้คำปรึกษาในเบื้องต้น ประสานงาน ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้พนักงานได้เข้าถึงการรักษาด้านสุขภาพจิตอย่างทันท่วงที ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้พลังกาย พลังใจ รวมทั้งมีความรู้ในการจัดการเงินและหนี้สิน และพนักงานยังส่งต่อความรู้ ความเข้าใจไปยังครอบครัวและบุคคลอื่นอีกด้วย

***

เส้นทางขับเคลื่อนสุขภาพจิตในสถานประกอบการ

การประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตครั้งล่าสุด มีมติเรื่องสุขภาพจิตในสถานประกอบการ 2 ประเด็น

1.แก้กฎกระทรวงแรงงาน กำหนดให้จัดการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสวัสดิการ โดยตัดคำว่า “ทางเลือก” ออก เพื่อให้สถานประกอบการทุกแห่งทุกขนาดต้องดำเนินการตามกฎ เนื่องจากปัจจุบันมีการตรวจสุขภาพประจำปีเฉพาะในสถานประกอบการขนาดใหญ่ ส่วนขนาดกลางและขนาดเล็กไม่ค่อยดำเนินการเรื่องนี้มากนัก

2.กำหนดให้การตรวจสุขภาพประจำปี ต้องครอบคลุมเรื่องสุขภาพจิตด้วย เพราะที่ผ่านมาตรวจเฉพาะสุขภาพกายเท่านั้น และเพื่อป้องกันปัญหาเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้สถานประกอบการ เพื่อไม่เพิ่มภาระสถานประกอบการ โครงการนี้จึงมี mental Health Check In ตรวจสุขภาพจิตออนไลน์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี

เปิดผลสำรวจวัยโจ๋ ขีดเส้นสนามกีฬาฟุตซอล ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน

เครือข่ายงดเหล้า และสสส. ส่งเสริมกีฬาเยาวชนจัดฟุตซอล No-L ชิงถ้วยพระราชทานฯ รร. ราชวินิต มัธยม คว้าแชมป์ไปครองสมัยที่ 2 ด้วยสกอร์ 6:0 ในขณะที่ผลสำรวจร้อยละ 90 ต้องการให้สนามแข่งไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ ไม่พนัน และร้อยละ 84.8 คิดว่ากีฬาฟุตซอลทำให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตัวเอง