กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัว “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP สู่ตลาดสากล” หรือ “OTOP Premium Go Inter” ปีที่ 8 ร่วมมือกับ 8 นักออกแบบระดับแนวหน้าชั้นนำของประเทศ ลงพื้นที่พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย ชูกลยุทธ์ Soft Power ดันอัตลักษณ์ท้องถิ่นไทย โดนใจตลาดโลก เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมมิราเคิล หลักสี่ กรุงเทพมหานคร
นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) เปิดเผยว่า “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP สู่ตลาดสากล ปีที่ 8” หรือ “OTOP Premium go Inter” ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” เพื่อผลักดันการส่งออกสินค้า OTOP อย่างครบวงจร ตั้งแต่การเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการสร้างโอกาสทางการค้าอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากจุดเด่นด้านอัตลักษณ์ ฝีมือ และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเป็นหนึ่งใน Soft power ที่ช่วยสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีแก่สินค้าและธุรกิจบริการของไทยนั้น ยังมีความจำเป็นในการพัฒนายกระดับสู่การค้าระหว่างประเทศ โดยสร้างความแตกต่าง ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ และเทรนด์โลก โดยเฉพาะ BCG รวมถึงพัฒนาศักยภาพ เชิงธุรกิจของผู้ประกอบการ
โดยโครงการในปีที่ 8 นี้ จะพิเศษกว่าทุกครั้ง คือมุ่งเน้นการพัฒนาแบบ customized ที่เจาะลึกและเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมีชื่อเสียงระดับสากล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์คอลเลคชั่นใหม่เพื่อออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ และยกระดับศักยภาพทางธุรกิจ กับ 8 นักออกแบบ อาทินายยุทธนา อโนทัยสินทวี นักออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์ เจ้าของธุรกิจ Upcycling แบรนด์ The ReMaker นายธีระ ฉันทสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ เสื้อผ้า ผ้าทอและผ้าบาติกร่วมสมัย ดร.กรกต อารมย์ดี Creative Director เจ้าของแบรนด์ Korakot ศิลปินศิลปาธร สาขาออกแบบ ปี 60 นายศุภชัย แกล้วทนงค์ เจ้าของแบรนด์ TIMA ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ Designer of the Year สาขา Product Design นายเอก ทองประเสริฐ แฟชั่นดีไซเนอร์และสถาปนิกชั้นนำระดับสากล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ EkThongprasert Sculpture Studio นายศรัณย์ เย็นปัญญา Designer และ Artistic Director แบรนด์ 56th นักออกแบบผลิตภัณฑ์ระดับแนวหน้าที่ใช้แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์ระดับสากล นายวลงค์กร เทียนเพิ่มพูล เจ้าของแบรนด์ PATAPIAN ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติสู่สินค้าไลฟ์สไตล์ และนายปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ นักออกแบบสิ่งทอและศิลปินระดับสากล เจ้าของแบรนด์ Patipat Design Studio และ Designer of the Year สาขา Textile and Fabric Design
ทั้งนี้การดำเนินโครงการต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 8 นั้น มีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 3,000 ราย ได้ผ่านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเชิงลึกกว่า 300 ราย และสร้างสรรค์สินค้าต้นแบบใหม่มากกว่า 1,200 รายการ ช่วยพัฒนาและยกระดับสินค้า OTOP ให้มีมูลค่าเพิ่มและมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ในปี 2566 นี้ โครงการยังมีกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการโอทอป อาทิ กิจกรรม Mini Trade Show กิจกรรมการเจรจาธุรกิจกับคู่ค้า และพิเศษการมอบรางวัล Premium Star Awards ชิงโล่และเงินรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท
อย่างไรก็ตามหลังจากการเปิดตัวโครงการ OTOP Premium Go Inter by DITP ปีที่ 8 ในวันนี้( 21 ก.พ.66) แล้ว ผู้ประกอบการที่สนใจในส่วนภูมิภาค สามารถสมัครเข้าร่วมอบรมสัมมนาและร่วมรับการคัดเลือกได้ในอีก 5 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่
จ.นครศรีธรรมราช : วันที่ 3 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน นครศรีธรรมราช
จ.อุดรธานี : วันที่ 10 มีนาคม 2566 โรงแรม เดอ ปริ้นเซส โฮเทล
จ.อุบลราชธานี : วันที่ 13 มีนาคม 2566 โรงแรมเซ็นทารา อุบลราชธานี
จ.น่าน : วันที่ 29 มีนาคม 2566 โรงแรมน่านบูติค รีสอร์ท
จ.เชียงใหม่ : วันที่ 31 มีนาคม 2566 โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่
ติดตามความคืบหน้าของโครงการได้ ที่ Facebook : OTOP Premium Go Inter 66 หรือทาง Line Official ID : @ditpotopgointer (มีเครื่องหมาย @ นำหน้า)
นางนิศาบุษป์ วีรบุตร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการฯครั้งที่ 8 นี้ มีการปรับหลักสูตรให้เข้มข้นขึ้นและแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการได้ลงลึกมากขึ้น โดยจัดให้มีนักออกแบบเพิ่มเป็น 8 ท่านจากเดิม 4 ท่านเพื่อมาให้ความรู้ในเชิงลึกในแต่ละด้านตามความชำนาญที่แตกต่างกันไป อาจเป็นเรื่องของเทคนิคหรือวัสดุ เพื่อให้มีการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ ทำได้รวดเร็วและเต็มที่ อีกทั้งยังเพิ่มความเข้มข้นทางด้านการตลาด การคำนวณต้นทุนและการกำหนดราคาที่เหมาะสม เพราะนอกจากสินค้าต้องสวยแล้วจะต้องขายได้ด้วย โดยเปิดกว้างรับสมัครผู้ประกอบการทุกระดับเพื่อเข้าสู่รอบการพัฒนาบ่มเพาะเชิงลึกจำนวน 30 ราย ผ่านการไปแนะนำโครงการและจัดกิจกรรมใน 6 จังหวัด 4 ภูมิภาคเพื่อเข้าถึงผู้ประกอบการได้มากขึ้น
"ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เรามีความมั่นใจ ใส่ใจและไม่หยุดพัฒนาเพื่อให้โครงการนี้มีคุณค่าเรื่อย ๆ ปีนี้จะเป็นปีพิเศษอีกอย่างคือการให้รางวัล แก่สินค้าที่สามารถตอบโจทย์การตลาดได้จริง ทั้งมิติด้านดีไซน์ ,ราคาและการตลาดต่าง ๆ สวยและขายได้ ยังมอบเงินรางวัลแก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในระดับที่รองลงมา เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจเพื่อให้ก้าวสู่ระดับสากลได้"
สำหรับความสำเร็จของโครงการโดยรวม 7 ครั้งที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาสินค้าและสามารถขายได้จริงมากระทั่งปัจจุบัน ตัวอย่างสินค้าเด่นที่สามารถยกระดับไปไกลถึงระดับโลก อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ อ.ชนบท จ.ขอนแก่น แบรนด์ JUTATIP ผ้าฝ้ายทอมือและย้อมสีจากธรรมชาติ ได้รับรางวัล G-Mark จากญี่ปุ่นและสินค้าหมอนยางพาราที่ดีไซน์รองรับสรีระ ระบายอากาศ ได้รับรางวัล ICONIC AWARDS ของเยอรมนี ที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของกรมฯ ที่สามารถผลักดันให้ผู้ประกอบการไปถึงระดับสากลได้
อย่างไรก็ตามฝากถึงบรรดาผู้ประกอบการ ให้เปิดใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ๆ วิธีการคิดใหม่ๆ การยอมรับความคิดนอกกรอบ เพื่อสร้างสินค้าอีกสายการผลิตหนึ่ง สู่การพัฒนาสินค้าที่โดดเด่น แล้วจะประสบความสำเร็จ
ทางด้านความเห็นของนักออกแบบที่ร่วมโครงการฯ นายยุทธนา จากแบรนด์ The remaker ผลิตและดีไซน์สินค้า upcycling เปลี่ยนจากวัสดุเหลือใช้ นำกลับมาทำให้มีคุณค่าอีกครั้ง โดยผ่านกระบวนการต่างๆ รวมถึงการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือของที่จะถูกทิ้งเป็นขยะมาแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพ โดยแบรนด์จะมีสินค้าแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆคือ 1. Fast fashion เป็นในส่วนของเครื่องแต่งกาย และ 2. Leather industry ผลิตภัณฑ์ที่เป็นหนัง การันตีด้วยประสบการณ์กว่า15ปี และรางวัลมากมาย
ปีนี้เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการที่มีฝีมือ ความสนใจ พร้อมเปิดใจเรียนรู้ ในปีนี้จะมีดีไซน์เนอร์รุ่นพี่ที่จะดูแล ให้ความรู้ และโค้ชทิศทางธุรกิจอย่างเข้มข้นกว่าปีที่ผ่านมา ยังมีโอกาสเพิ่มช่องทางการขายผ่านการเจรจาการค้า จับคู่ธุรกิจพร้อมทุนสนับสนุนพัฒนาต้นแบบสินค้ารายผลิตภัณฑ์อีกด้วย
นายธีระ ได้ร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปีแรกจากผลงานที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการขายของได้ จากสินค้าราคาหลักพัน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขายสินค้าได้เป็นหลักหมื่น ลูกค้าต้องการสินค้าจะต้อง Waiting list และต้องวางมัดจำ พร้อมแจ้งรายละเอียดในการส่งมอบสินค้า ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะสินค้าที่ผลิตแต่ละชิ้นเป็นงานฝีมือ ขอให้ผู้ประกอบการ มีทัศนคติ และเคมีตรงกัน ตนพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่และยังช่วยขายของให้ทาง facebookโชว์สินค้าและแท็คผู้ประกอบการ เพื่อให้เพื่อนๆ และผู้สนใจ สามารถเห็นสินค้าและติดต่อซื้อขายกับผู้ประกอบการได้โดยตรงอีกด้วยที่ www.facebook.com/T-RA CHANTASAWASDEE
นายเอก ผู้ก่อตั้งแบรนด์ "EkThongprasert Sculpture Studio" กล่าวว่า ตอนนี้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบเสื้อผ้าและยูนิฟอร์ม เสื้อผ้าเปรียบเสมือนการสื่อสารคนรอบตัว เราเน้นการสวมใส่ได้หลาย ๆ ครั้ง ดังนั้นเรื่องเนื้อผ้าและการออกแบบจะต้องทำให้เราสามารถสวมใส่ได้เรื่อยๆ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน การออกแบบเสื้อผ้าของเรายังตามหลังประเทศต่างๆ อยู่มาก โดยเฉพาะในแถบยุโรป เราไม่ได้เป็นผู้กำหนดเทรนด์แฟชั่นโลก ระบบการผลิตและวัสดุ เรายังไม่ค่อยสมบูรณ์ในเรื่องต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ถ้าเราต้องออกไปสู้จริง ๆ เรายังต้องพัฒนาอีกหลาย ๆ จุด ถ้าหากเราพูดถึงผ้าในเชิงอุตสาหกรรม เรายังไม่แข็งแรงเท่ากับญี่ปุ่น จีน เกาหลี ยุโรป ผ้าทอในเชิงอุตสาหกรรมของไทยเน้นถูก เน้นการใช้ฟังก์ชันมากกว่าความงาม อย่างกรณีผ้าทอพื้นถิ่นเราสามารถปรับให้ใส่ได้ในเชิงอินเตอร์เนชั่นแนล ไม่ใช่มองแค่ว่าใส่ได้เฉพาะในท้องถิ่น เวลาออกจากพื้นที่แล้วไม่เอามาใส่อีก โครงการฯจะเข้าไปดูความแข็งแกร่งและศักยภาพของแต่ละคนเแล้วเสริมให้ดียิ่งๆขึ้น ให้กลายเป็นจุดแข็งต่อไปในอนาคต
นายศุภชัย เจ้าของแบรนด์ TIMA กล่าวว่า เป็นคนชอบคิดชอบประดิษฐ์ เป็นคนในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช มองห็นของใช้ต่าง ๆ ที่เป็นหัตถกรรมของ ปู ย่า ตา ยาย มาตั้งแต่เด็กๆ จึงสนใจการออกแบบ มองเห็นสินค้าจากภูมิปัญญา เพื่อปรับให้เกิดความร่วมสมัย เช่่น กรงนก เราได้ปรับมาเป็นสินค้าตกแต่งโรงแรมหรือสินค้าไลฟ์สไตล์ เป็นต้น พบว่าลูกค้าต้องการสินค้าใหม่อยู่เรื่อยๆ ต้องอัพเดตทุกปี การออกแบบใหม่ ๆ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ผู้ประกอบการจุดประกายนำไปต่อยอดสร้างงาน ขายได้มากขึ้น ให้ลองและพยายามทำเรื่อยๆ อย่าท้อ ทีมนักแบบคอยช่วยเสริมให้
นายวลงค์กร เจ้าของแบรนด์ PATAPIAN ผลงานรางวัลจากต่างประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี กล่าวว่า จะช่วยผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานออกแบบจักสานให้ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น ตามแต่ละท้องถิ่นสู่สากล ช่วยพัฒนาชิ้นงานเพื่อการต่อยอดให้มีความน่าสนใจ ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพเป็นอันดับต้นของเอเชีย จึงมีความเป็นไปได้ ที่จะพัฒนาได้สูงมาก เพราะเรามีภูมิปัญญา สิ่งที่ขาดคือการส่งเสริมการออกแบบ เหล่าดีไซเนอร์ จะช่วยพัฒนารูปแบบให้เข้ากับยุคปัจจุบัน ขอให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นเป้าหมายเดียวกันเพื่อการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้ไปสู่สากลให้ได้ นักออกแบบจะเข้าไปช่วยเหลือเพื่อการไปถึงจุดหมายเดียวกัน
นายปฏิพัทธ์ เจ้าของแบรนด์ Patipat Design Studio กล่าวว่า เบื้องต้นจะดูความเป็นไปได้หรือความพร้อมและศักยภาพของผู้ประกอบการก่อน ซึ่งจะทำงานกับผู้ประกอบการที่หลากหลาย พัฒนาและปรับผลิตภัณฑ์ล้อไปตามความต้องการของตลาด ซึ่งจะต้องมีการวิจัยด้านการตลาดและอิงกระแสเทรนด์ของโลกในด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับดีไซเนอร์จะไปช่วยตั้งแต่กระบวนการผลิต เทคนิค เช่น ด้านสิ่งทอ จะเริ่มต้นจากเส้นใยที่จะต้องเป็นธรรมชาติ ทำด้วยมือ ไปจนถึงพัฒนาเป็นผืนผ้า ตามความถนัดของผู้ประกอบการ บางเจ้าอาจทำออกมาเป็นผ้าผืน บางเจ้าอาจพัฒนาเป็นเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างในต่างประเทศจะดูออกว่า เป็นผ้าที่ทำด้วยมือหรือมาจากโรงงาน เช่น ญี่ปุ่นชอบผ้าไทยทอมือจะขายดีในญี่ปุ่น ส่วนประเทศรอบ ๆ ในอาเซียนอาจต้องออกแบบแฟชั่นทันสมัย เช่นเดียวกับในยุโรปแม้จะเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่จะมองที่ลวดลาย การย้อมและต้องเป็นแฟชั่น จึงอยากให้ผู้ประกอบการลองทดลองอะไรใหม่ ๆ กับโครงการนี้ดีไซเนอร์จะมาช่วยให้เกิดอะไรใหม่ ๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องเปิดใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พิชัย' ชวนสมาชิกหอการค้าอเมริกันลงทุนไทยเพิ่ม
“พิชัย” ชวนสมาชิกหอการค้าอเมริกัน AMCHAM ลงทุนไทยเพิ่ม เร่งใช้แต้มต่อ FTA ไทย ผลักดัน ศก. ไทยเติบโตรวดเร็ว หลังเตรียมเยือนดาวอส ประกาศความสำเร็จ FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกกับยุโรป
พาณิชย์ หารือ สตช. ร่วมมือเร่งปราบปรามนอมินี และบัญชีม้านิติบุคคล
“พาณิชย์” เข้าพบ “บิ๊กต่าย” หารือแนวทาง มาตรการ ข้อกฎหมาย และความร่วมมือ 2 หน่วยงาน เร่งปราบปรามนอมินี และบัญชีม้านิติบุคคล เตรียมร่วมมือทุกรูปแบบ ทั้งประสานข้อมูล ตรวจค้น บังคับใช้กฎหมาย นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เพื่อกำจัดอาชญากรทางเศรษฐกิจ ลดความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชน และสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการไทย
รัฐบาลตีปี๊บเยียวยาเอกชนใน 8 จังหวัดน้ำท่วมภาคใต้
รัฐบาลเดินหน้าเยียวยานิติบุคคลใน 8 จังหวัดอุทกภัยภาคใต้ สั่งออกมาตรการขยายระยะเวลาจดทะเบียนนิติบุคคล แจ้งบัญชีและเอกสารสูญหาย การนำส่งงบการเงินได้ หลังสถานการณ์สิ้นสุดลง
พาณิชย์บุกเชียงใหม่จัดธงฟ้า
"พาณิชย์" จัดธงฟ้าฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อเนื่อง ยกทัพสินค้ากว่า 1,000 รายการ เพื่อลดภาระค่าครองชีพพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ 28 พ.ย.-1 ธ.ค.นี้
“นภินทร” ยกทัพ พาณิชย์-สสว.ททท. ขึ้นดอยช้าง ช่วย MSME เร่งสร้างแบรนด์สินค้าชุมชน ดึงจุดขายจดสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่า ผลักดันส่งออก
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ณ หมู่บ้านดอยช้าง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมภาครัฐพบกับผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงราย
“นภินทร” ดึงจุดเด่น “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” เนื้อแน่นนุ่ม ไม่คาว วัตถุดิบชั้นดี GI รังสรรค์ใน ”Thai Select“ เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้เกษตรกร
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมลงพื้นที่เยี่ยมชมถิ่นกำเนิดของสินค้า GI ของจังหวัดสงขลา ได้แก่ “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าของปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา