อพท.กับบทบาทการพัฒนาการใช้ประโยชน์ 'ที่ดิน' เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

การใช้ประโยชน์จากที่ดิน (Land Use) ถือเป็นบทบาทภารกิจหนึ่งขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ
เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ซึ่งระบุไว้ชัดเจนในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อพท. โดยเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ 1 ของการจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหาร การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (มาตรา 21) หรือ แผนยุทธศาสตร์ฯ รายพื้นที่ของ อพท. ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญอย่างมากของการใช้ประโยชน์จากที่ดินการควบคุมการก่อสร้างให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การวางผังเมืองและการบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียวในเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินกับการพัฒนาการท่องเที่ยว

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า การกำหนดเช่นนี้ เนื่องจากการนำที่ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยนำไปพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว ถือเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ชุมชนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ไม่ว่าจะพัฒนาขึ้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรมที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งการใช้ที่ดินเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ถนนหนทาง ที่ตั้งเสาส่งไฟฟ้า บ่อเก็บน้ำหรือระบบกำจัดขยะ โดยที่ดินที่ถูกใช้ไปในการท่องเที่ยวนั้น มีบางส่วนที่เจ้าของกิจการหรือหน่วยงานต่างๆ สามารถนำที่ดินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ทันที แต่มีที่ดินอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากต้องการนำมาพัฒนาตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนาการท่องเที่ยว จำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์จากที่ดินเสียก่อน เช่น จากพื้นที่ ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่เกษตร หรือจากพื้นที่เกษตรไปเป็นโรงแรมที่พัก เป็นต้น โดยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาโดยละเอียดเพราะมีความเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งรวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับผังเมืองด้วย

ทั้งนี้ หลายกรณีจะพบว่า แม้ในพื้นที่ดังกล่าวจะมีอุปสงค์หรือความต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมากเพียงใดก็ตาม หากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้ถูกวัตถุประสงค์เสียก่อนนำไปใช้ประโยชน์ อาจทำให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายตามมา ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจแล้ว ยังทำให้เกิดเป็นคดีความอีกด้วย

“ดังนั้น นักพัฒนาการท่องเที่ยวของ อพท. จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวและเป็นผู้ที่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้ง อพท. อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการใช้อำนาจจากแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามมาตรา 21 และการใช้อำนาจในการบูรณาการตามกฎหมายของ อพท. กับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีอำนาจในการถือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น กรมที่ดิน กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมธนารักษ์ เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้การท่องเที่ยวสามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ให้กับประชาชนอย่างเต็มที่ และยังเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าตามหลักการของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อพท. ผนึก 5 มหาวิทยาลัย ปั้นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน ขับเคลื่อนการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาสู่มาตรฐานสากล

อพท. จับมือ 5 สถาบันการศึกษา ร่วมหนุนเสริมการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 4 ปี หวังยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่สู่เกณฑ์มาตรฐานสากล

เอาแล้ว 'เรืองไกร' ร้อง กมธ.วุฒิ สอบที่ดินแสนสิริ กระทบชิ่ง ‘เศรษฐา’

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว. เปิดเผยว่า จากการติดตามข่าวของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เรื่องการซื้อที่ดินแสนสิริ สมัยที่นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นผู้บริหารนั้น กรณีดังกล่าว นายชูวิทย์ กล่าวอ้างว่า อาจจะทำให้นายเศรษฐา ที่เป็นแคนดิเดตนายกฯของพรรคเพื่อไทย มีปัญหาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 (4) นั้น

อพท. ปลื้ม เชียงราย - สุพรรณบุรี ตัวแทนประเทศไทยชิงเมืองสร้างสรรค์โลก

อพท. สุดปลื้ม เชียงราย - สุพรรณบุรี ผ่านฉลุย เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าชิงเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network - UCCN) ปี 2566 รอลุ้นประกาศผล ตุลาคม นี้

รัฐบาลหนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่รักษามรดกทางวัฒนธรรม

อนุชาเผย นายกฯ ย้ำจุดยืนส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนควบคู่กับการรักษามรดกทางวัฒนธรรม ผ่านกรอบความร่วมมือกับยูเนสโก และส่งเสริมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ตามเส้นทางสายน้ำแห่งอาเซียน