สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มช.ขอเชิญชวนบริจาค “กองทุนคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น” ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยจาก PM2.5

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมานานกว่าสองทศวรรษปัญหาหนึ่งคือปัญหาฝุ่นควันพิษ PM2.5 ในภาคเหนือ ที่มีแนวโน้มที่จะรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวต้องสัมผัสหรือได้รับฝุ่นควันพิษ PM2.5 ในระดับสูงเข้าไปในร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ กำหนดให้ปัญหามลภาวะทางอากาศจากฝุ่นควันพิษ PM2.5 เป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญเร่งด่วนที่จะให้การสนับสนุน จึงจัดตั้ง “กองทุนคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น” ขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินงานลดปัญหาการสัมผัสหรือได้รับฝุ่นควันพิษ PM2.5 สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง

สถานการณ์ปัญหาฝุ่นควันพิษ PM2.5 ในภาคเหนือส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถึงแม้ทุกภาคส่วนจะพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อลดปริมาณฝุ่นควันพิษอย่างเข้มแข็งแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงมีการจัดตั้ง “กองทุนคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น” ขึ้น โดยเป็นกองทุนที่มีเป้าหมายสำคัญที่จะบูรณาการองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญที่ได้จากการดำเนินการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องของสถาบันฯ ร่วมกับการรวบรวมทรัพยากรจากผู้มีจิตศรัทธาที่ตระหนักในปัญหาและเห็นคุณค่าของการสนับสนุนชุมชนที่ประสบปัญหาฝุ่นควันพิษ นำไปพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดปัญหาการสัมผัสหรือได้รับฝุ่นควันพิษ PM2.5 สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งขาดทั้งโอกาส งบประมาณ และการสนับสนุนทางวิชาการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเพียงพอ โดยในระยะแรก (พ.ศ. 2562-2566) ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดปริมาณ PM2.5 เป็นจำนวนมากกว่า 280 จุด ทั่ว 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยแสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์ผ่านแพลตฟอร์ม NTAQHI (Northern Thai Air Quality Health Index) อีกทั้งให้การสนับสนุนการศึกษาและวิจัยของบุคลากรสถาบันฯ หรือบุคคลอื่นในการป้องกันหรือลดผลกระทบจากการสัมผัสหรือได้รับฝุ่นพิษ PM2.5 ของประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุน

ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาที่ตระหนักในปัญหาและเห็นคุณค่าของการสนับสนุนชุมชนที่ประสบปัญหาฝุ่นควันพิษ บริจาคเงิน และ/หรือ อุปกรณ์ในการจัดทำคลีนรูมให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนต่างๆในภาคเหนือ ในชื่อบัญชี "กองทุนคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น" โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สาขาคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ ประเภทเงินฝากกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 566-3-04429-9

ทั้งนี้ ผู้ที่บริจาคเข้ากองทุนคืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่นสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า โดยแจ้งชื่อ สกุล เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ของผู้บริจาค และหลักฐานการโอนเงินเข้ามาที่ LINE official account "คืนลมหายใจที่ไร้ฝุ่น" เพื่อดำเนินการรับใบเสร็จเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีต่อไป

ผู้สนใจสามารถติดต่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เพจ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ,RIHES CMU (https://www.facebook.com/rihescmufanpage) หรือโทร 053 936 148 ต่อ 888 หรือ 085 715 3459

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มช. เปิดตัวเว็บไซต์ แสดง Dashboard ระบบการเฝ้าระวังโรคที่เป็นผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าโครงการวิจัย

มช. เปลี่ยนการเผาเป็นพลังงานสะอาด พัฒนาชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทดแทนการใช้ถ่านหิน ลดมลพิษ เพิ่มโอกาสแก่ชุมชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เดินทางไปยังอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เพื่อสาธิตวิธีการใช้เครื่องต้นแบบ Torrefactor และ Pyrolyzer นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์

เปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าวหรือ “โรงเรียนโรงสีแห่งแรก” ของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด จ.นครสวรรค์ มีพิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว มี ดร.วิสูตร จิตสุทธิภากร ตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท ยนต์ผลดี จำกัด

มช. ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไร้ฝุ่น PM2.5 ทั้งในรั้วไปจนถึงพื้นที่ห่างไกล พร้อมนำเอานวัตกรรมพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ แจ้งเตือน ป้องกันการเผาแบบ Real time

“PM 2.5” คำยอดฮิตที่หลาย ๆ คนมักได้ยินจากข่าวในช่วงต้นของปีหลังการสิ้นสุดฤดูหนาว และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน หนึ่งในปัญหาที่พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยประสบในทุกปี

เริ่มแล้ว ! นักวิจัย มช. กับภารกิจ ไอซ์คิวบ์อัปเกรด (IceCube Upgrade) และโครงการช้างแวน ณ ขั้วโลกใต้ มุ่งพัฒนาความรู้คนไทยไปสู่ระดับโลก

อาจารย์ เรือโท ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม นักวิจัย มช. คนไทยคนแรกที่ได้รับเลือกไปปฏิบัติงานในพื้นที่ ใจกลางขั้วโลก ทวีปแอนตาร์กติกา ได้เริ่มปฏิบัติภารกิจร่วมกับวิศวกรจากนานาชาติในการเจาะน้ำแข็งเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดนิวทริโนใต้แผ่นน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกใต้ โดยจะใช้เวลาปฏิบัติงาน

มช.มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2032

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้กำหนดนโยบายนำมหาวิทยาลัยมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral University) ภายในปี 2032 โดยกำหนดเป็น 1 ในนโยบายแผน 13 ของมหาวิทยาลัย