รมว.เฮ้ง ห่วงเหตุคานปูนอาคารเรียน ย่านบึงกุ่ม ถล่มทำลูกจ้างเสียชีวิตและบาดเจ็บ สั่งกรมสวัสดิฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบ-สปส.เร่งตามสิทธิพึงได้รับทันที

รมว. แรงงานห่วงลูกจ้างประสบอุบัติเหตุคานปูนอาคารเรียนหลังวัดบางเตย ย่านบึงกุ่ม กทม. ที่กำลังก่อสร้างถล่มทับร่างคนงานเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 1 ราย สั่งการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ลงพื้นที่ตรวจสอบหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ และให้สำนักงานประกันสังคมเร่งดำเนินการสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายทันที

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีสื่อมวลชนเสนอข่าวคานปูนอาคารเรียนที่กำลังก่อสร้างถล่มทับคนงาน เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 1 รายนั้น ผมได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ลงพื้นที่ร่วมกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมการจัดหางานตรวจสอบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ เบื้องต้น พนักงานตรวจความปลอดภัย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (สรพ.4) พร้อมด้วยศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 12 (ศปข.12) รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 เวลา 14.30 น. ได้เกิดเหตุคานปูนถล่มในระหว่างการก่อสร้างศูนย์เด็กเล็กก่อนเกณฑ์ บริเวณวัดบางเตย แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ โดยเป็นการก่อสร้างอาคารเรียนความสูง 2 ชั้น ซึ่งคานปูนที่ถล่มเป็นระเบียงกันสาดอยู่ระหว่างชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 หล่นจากความสูงประมาณ 5 เมตร ทับคนงานก่อสร้างด้านล่าง มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จำนวน 1 ราย คือ นายกะลา อายุ 27 ปี ชาวเมียนมา และได้รับบาดเจ็บ จำนวน 1 ราย คือ นายอูม่า อายุ 26 ปี ชาวเมียนมา นำส่งโรงพยาบาลนพรัตน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมได้สั่งการให้ สปส.เร่งให้ความช่วยเหลือตามสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้บาดเจ็บ และครอบครัวผู้เสียชีวิตพึงได้รับตามกฎหมาย ทั้งนี้ ผมต้องขอความร่วมมือให้นายจ้าง และลูกจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยจากการทำงาน

ด้าน นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า พนักงานตรวจความปลอดภัย สรพ.4 และ ศปข.12 ลงพื้นที่ตรวจสอบและจะเชิญนายจ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องมาพบเพื่อสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ว่า มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ.2564 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564 หรือไม่ หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องจะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โลกเดือด !!! “พิพัฒน์” ห่วงใย “ผู้ใช้แรงงาน” แนะ 6 ข้อ ช่วงอากาศร้อนจัด 40-43 องศา

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดงานวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล ประจำปี พ.ศ.2567 ภายใต้หัวข้อ

ผู้ใช้แรงงานเฮ! 1 พ.ค.2567 วันแรงงาน "พิพัฒน์" ย้ำชัดประกาศแน่ ทำเร็วขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันถึงการประกาศบิ๊กเซอร์ไพรส์ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ว่า

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)