กนอ.มีแผนรับมือกับปัญหาภัยแล้งพื้นที่นิคมฯเรียบร้อยแล้ว เผยมีการศึกษาตั้งโรงกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืดแก้ปัญหาภัยแล้งในอนาคต

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผยมีแผนรับมือกับปัญหาภัยแล้งเรียบร้อยแล้ว ทั้งการจัดหาแหล่งน้ำดิบ การจัดสรรอ่างเก็บน้ำให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงแผนการจัดตั้งโรงกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมได้ในอนาคต

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนปรากฏการณ์เอลนิโญจะเข้าสู่อาเซียนในช่วงครึ่งปีหลังนี้ และทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลว่าจะกระทบกับภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคเศรษฐกิจของไทยไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ ว่า ในส่วนของ กนอ.ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดูแลการประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี ได้มีการเตรียมมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว และแผนรับมือกับวิกฤติภัยแล้งอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นหลักประกันให้นักลงทุนมั่นใจ และเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซีจะไม่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการอย่างแน่นอน โดยที่ผ่านมา กนอ.ได้หารือกับทุกภาคส่วนวางแผนบริหารจัดการน้ำในทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยในระยะยาวที่ภาครัฐมีแผนการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่อีอีซีปี 2563-2580 จะประกอบด้วย 38 โครงการ ซึ่งเพียงพอต่อการขยายตัวต่อภาคเกษตรกรรม ชุมชน และอุตสาหกรรม ในพื้นที่อีอีซี ซึ่งนั่นคือแผนการรองรับขั้นแรก

กนอ.มีการจัดหาแหล่งน้ำสำรองเพื่อมาใช้ในนิคมอุตสาหกรรมให้เพียงพอ โดยได้หารือร่วมกับภาคเอกชนในการวางแผนรับมือภัยแล้งพื้นที่อีอีซีในอีก 20 ปีข้างหน้า และการลงทุนวางท่อส่งน้ำสายหลัก เพื่อสร้างเครือข่ายท่อส่งน้ำให้มากกว่าเดิม มีความยาวท่อส่งน้ำสายหลัก 526 กิโลเมตร พร้อมด้วยแหล่งน้ำหลักที่ได้รับการจัดสรรจากกรมชลประทาน ได้แก่ อ่างเก็บน้ำหนองค้อ อ่างเก็บน้ำดอกกลาย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำประแสร์ อ่างเก็บน้ำบางพระ รวมถึงแหล่งน้ำที่สูบใช้ได้ในแต่ละปี โดยมีปริมาณน้ำต้นทุนเป็นปริมาณน้ำท่าตามฤดูกาล ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำระยอง คลองทับมา และแหล่งน้ำเอกชน รวมทั้งยังมีแหล่งน้ำสำรอง เพื่อใช้ในกรณีน้ำในแหล่งน้ำมีน้อยและเกิดการขาดแคลนน้ำ ได้แก่ สระสำรองน้ำดิบสำนักบก สระสำรองน้ำดิบฉะเชิงเทรา และสระสำรองน้ำดิบทับมาเข้ามาเสริมในช่วงขาดแคลน

ขณะเดียวกัน กนอ.ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายน้ำดิบระหว่าง กนอ.และบริษัท วาย. เอส. เอส.พี.แอกกริเกต จำกัด เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการน้ำในภาคอุตสาหกรรม โดยบริษัทฯ ดำเนินการจัดหา และจ่ายน้ำดิบให้กับ กนอ.เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อใช้ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังในปริมาณไม่น้อยกว่า 15,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในปริมาณไม่น้อยกว่า 200,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันในราคาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันนิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งก็มีแหล่งน้ำสำรองเป็นของตนเอง สามารถจ่ายน้ำให้กับโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมได้ตั้งแต่ 2-15 เดือน

กนอ.ได้ศึกษาเรื่องของการตั้งโรงงานกลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืด มีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นลูกบาศก์เมตรต่อวัน และสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ตามต้องการ ซึ่งน้ำกลั่นจากน้ำทะเลนี้จะถือเป็นตัวเลือกสุดท้าย เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สั่งจับตาภัยแล้ง บูรณาการจัดการอย่างเป็นระบบ ดูแลประชาชนทุกพื้นที่

นายกฯ สั่งจับตาสถานการณ์ภัยแล้งเกิดแล้วในบางพื้นที่สั่งบูรณาการ จัดการอย่างเป็นระบบเพื่อบรรเทาและรับมือภัยแล้ง ดูแลประชาชนทุกพื้นที่

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน

กนอ.ดึงเอกชนตั้งรง.ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาฯ ในนิคมฯ ภาคใต้ มูลค่าลงทุน 1,057 ลบ.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เผย เอกชนรายใหญ่ทุ่มทุนตั้งโรงงานพื้นที่ Rubber City ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา บนพื้นที่ 35 ไร่ มูลค่าการลงทุน 1,057 ล้านบาท ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาชนิดไม่เสริมเหล็ก ในเขตอุตสาหกรรมยางขั้นปลายน้ำส่วนหลัง ตอบรับนโยบายรัฐบาลในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เสริมสร้างการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน

กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา

เยือนญี่ปุ่นด้วยประสบการณ์ใหม่‘หมู่บ้านในลูกแก้วหิมะกับวิวฟูจิหลักล้าน’

เชื่อว่าใครที่ติดตาม "อาทิตย์เอกเขนก" อยู่เป็นประจำ ก็น่าจะเคยอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวกับการพาไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นมาแล้วหลายครั้ง และคงเห็นถึงความสวยงาม แปลกใหม่ และความสนุกสนานมาไม่น้อย โ