กยท. เดินหน้าสร้างความมั่งคั่งให้เกษตรกรชาวสวนยาง จับมือ กนอ. เซ็น MOU ลุยสร้างฐานวิจัยพัฒนา บริการวิชาการ ธุรกิจยางและเกี่ยวเนื่อง รับโอกาสทองจากระบบ EUDR

2 รัฐวิสาหกิจ กยท. และ กนอ. จับมือลงนามบันทึกความเข้าใจ วิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา และธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพในนิคมอุตสาหกรรม รองรับการลงทุนอีกมหาศาลจากระบบตรวจสอบย้อนกลับ EUDR สร้างโอกาสทองให้เกษตรกรสู่ความมั่งคั่ง

วันนี้ ( 11 มี.ค. 67 ) การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย  และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดย รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ  (MOU) “การวิจัยพัฒนา การบริการวิชาการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินธุรกิจยางพารา และธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพในนิคมอุตสาหกรรม” โดยมี ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย และ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินกลาง พระนคร กรุงเทพฯ

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงนามในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของการสร้างความร่วมมือระหว่าง 2 รัฐวิสาหกิจ ที่นำไปสู่การสร้างตัวเชื่อมทำให้ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ กลายเป็นสายพานในการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศตามเป้าหมายของรัฐบาลต่อไปด้วย โดยทาง กนอ. จะใช้ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานนิคมอุตสาหกรรมมาร่วมสร้างประโยชน์ และที่สำคัญอีกประการ คือ เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าไปสู่ระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดของสินค้าและผลิตภัณฑ์ยางพารา  เพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมาย EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) ของสหภาพยุโรป (EU) ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ราคายางพาราเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยยางพาราที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ จะมีราคาจำหน่ายได้สูงกว่ายางพาราทั่วไป ซึ่งขณะนี้ กยท. ได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ ภายในปี 2568 ต้องได้ 4 ล้านตัน และก้าวสู่การเป็นผู้นำกำหนดราคายางโลก 

ด้าน ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยุคของเกษตรอุตสาหกรรมที่ทำให้เกษตรกรมั่งคั่งได้เกิดขึ้นแล้ว  ระบบตรวจสอบย้อนกลับ EUDR เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะในปัจจุบันประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ ที่สามารถปฏิบัติตามระบบตรวจสอบย้อนกลับ EUDR มีเพียงประเทศไทย และประเทศในแอฟริกาเท่านั้น โดยมีผลผลิตรวมกันไม่ถึง 4 ล้านตัน แต่ความต้องการของโลกเกิน 4 ล้านตันไปแล้ว ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต้องขยายกิจการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะวัตถุดิบยางพาราจากประเทศผู้ผลิตอื่น จะไม่สามารถผลิตและส่งขายในสหภาพยุโรปได้

“ ที่สำคัญเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดย กยท. ได้กำหนดเป้าหมายที่จะประกาศราคายางพาราในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึง โดยแบ่งเป็น 2 ราคา คือ ราคายางพาราที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ กับยางพาราที่ตรวจสอบย้อนกลับไม่ได้ โดยราคายางที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จะมีราคาสูงกว่าราคายางพาราที่ไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึง 4 บาทต่อกิโลกรัม และ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นประธานในการ Kick Off ระบบตรวจสอบย้อนกลับ EUDR ของประเทศไทยแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ในช่วงต้นเดือนมีนาคมนี้เช่นกัน” ดร.เพิก กล่าว

ด้าน ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ปัจจุบันในนิคมอุตสาหกรรมได้มีการดำเนินธุรกิจธุรกิจยางพารา และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้ง ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อยู่แล้ว ซึ่งการลงนามในครั้งนี้ จะเป็นส่วนสำคัญของการเพิ่มนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยรองรับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมให้มากขึ้น

ขณะที่ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของ กนอ. และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการเตรียมพร้อมรับการลงทุนด้านยางพารา โดยปัจจุบันมีนิคมอุตสาหกรรมยางพารา หรือ รับเบอร์ซิตี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งมีเป้าหมายที่จะต้องการขยายการลงทุนในนิคมแห่งนี้เพิ่มมากขึ้น การลงนามในครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีของการสร้างเกษตรอุตสาหกรรมที่นำความมั่งคั่งมาสู่เกษตรกรต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลตีปี๊บ ประกวด 'ข้าวหอมมะลิไทย' ช่วยยกคุณภาพชีวิตเกษตรกร

รัฐบาลหนุนเกษตรกรและโรงสี จัดประกวดข้าวหอมมะลิไทยปี 2566 เฟ้นหาและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไทยคุณภาพชั้นเลิศ พร้อมขยายช่องทางการจำหน่าย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

'สุทิน' ควง 'เจ้าสัวธนินท์' สักขีพยาน MOU กลาโหมจับมือซีพี

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม กับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก

อบก. ไฟเขียว สวนยางพาราขายคาร์บอนเครดิตได้ กยท.เดินหน้าพัฒนาสู่เป็นกลางทางคาร์บอน 20 ล้านไร่

อบก. ไฟเขียว ต้นยางพาราสามารถนำมาผ่านกระบวนการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตได้ กยท. รับลูก เร่งขับเคลื่อนพัฒนาสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กว่า 20 ล้านไร่ทั่วประเทศ

2กระทรวงใหญ่ผนึกกำลังขับเคลื่อนนิคมฯยางพารา ใช้มาตรการตรวจสอบย้อนกลับดึงนักลงทุนต่างชาติ

กยท.เดินหน้า จับมือ กนอ.ลงนาม MOU ขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมยางพาราให้เห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมดึงนักลงทุนจากต่างชาติ ชูจุดเด่นตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มายาง ดันไทยก้าวขึ้นสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ให้ทุกภาคส่วนในวงการยางพาราอย่างยั่งยืน