สปส. เพิ่มความสะดวกใน 2 ช่องทาง เพื่อนายจ้างแจ้งการเข้า-ออกของลูกจ้างได้ง่ายขึ้น

สำนักงานประกันสังคมมีความมุ่งมั่นในการสร้างหลักประกัน เพื่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างทุกคนให้ได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองชีวิตจากการทำงานที่ครอบคลุมตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมทั้งสิ้น 7 กรณี ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนให้ผู้ประกันตนภายใน 30 วัน ถือเป็นหน้าที่สำคัญของนายจ้างที่ไม่อาจละเลยได้

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่เข้าทำงาน โดยนายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้าทำงาน และการรับลูกจ้างใหม่ทุกครั้งจะต้องดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วัน เช่นกัน โดยใช้แบบฟอร์ม สปส.1-03 ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้อำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้างให้สามารถขึ้นทะเบียนลูกจ้างได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยสามารถแจ้งยื่นเรื่องลงทะเบียนลูกจ้างได้ 2 ช่องทาง คือ 1.ยื่นผ่านระบบ e-Service ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th และ 2. ยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ
นอกจากนี้ทั้ง 2 ช่องทางดังกล่าว นายจ้างยังสามารถแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน เลิกจ้าง โดยใช้แบบฟอร์มการแจ้ง สปส.6-09 รวมถึงการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน ทั้งข้อมูลชื่อ-สกุล หรือข้อมูลสถานภาพครอบครัว และข้อมูลจำนวนบุตร โดยใช้แบบฟอร์ม สปส.6-10 โดยทั้งหมดนี้นายจ้างจะต้องแจ้งข้อมูลภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับการแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างเข้า-ออกกับสำนักงานประกันสังคม ถือเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองทั้ง 7 กรณี ประกอบด้วย การเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน ซึ่งเมื่อขึ้นทะเบียนลูกจ้างแล้ว จะต้องดำเนินการโดยส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมได้อย่างคุ้มค่าและครบถ้วน โดยเงินสมทบนี้จะเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างต้องสมทบเข้ากองทุนทุก ๆ เดือน

อย่างไรก็ตามหากนายจ้างละเลยไม่แจ้งการขึ้นทะเบียนลูกจ้างหรือไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงจะมีโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้หากนายจ้างไม่นำส่งเงินสมทบให้ทันกำหนดเวลาที่สำนักงานประกันสังคมระบุไว้ได้ นายจ้างจะต้องรับผิดชอบเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของเงินสมทบที่ต้องนำส่ง โดยนายจ้างสามารถชำระเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่มได้ที่สำนักงานประกันสังคมหรือธนาคารที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
ทั้งนี้ หากเป็นกรณีกิจการเป็นเจ้าของคนเดียว เจ้าของกิจการคือนายจ้างจะไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนได้ หากนายจ้างหรือลูกจ้างมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ทาง Line@ssothai หรือเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สั่ง 'สปสช.-สปส.' ร่วมยกระดับหลักประกันสุขภาพ

นายกฯ สั่งการเดินหน้าบูรณาการการทำงาน สปสช.- สปส. ร่วมมือการทำงาน เริ่ม 1 เม.ย.2567 ยกระดับหลักประกันสุขภาพตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามกลุ่มช่วงอายุ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

รู้ยัง! ผู้ประกันตนมาตรา 33-39-40 ส่งเงินสมทบประกันสังคม นำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมสรรพกรเปิดให้ผู้มีรายได้ยื่นแบบแสดง

รมว. "พิพัฒน์" ดูแลแรงงานอิสระ รับจ้าง เกษตรกร กว่า 1.8 แสนคน จ.พัทลุง สร้างหลักประกัน ม.40 ประกันสังคม เจ็บป่วยนอนพัก ได้เงินทดแทนขาดรายได้

รมว. "พิพัฒน์" ลงพื้นที่ จ.พัทลุง พบเครือข่ายผู้ประกันตน ชูมาตรา 40 สร้างหลักประกันให้แรงงานนอกระบบ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ

"บุญสงค์" เลขาธิการ สปส. ห่วงใย ผู้ประกันตน เสียชีวิตเหตุพลุระเบิด สุพรรณบุรี มอบ ผู้ตรวจราชการกรม ตรวจสอบข้อมูลเร่งจ่ายสิทธิประโยชน์โดยเร็ว

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 เวลาประมาณ 15.30 น. เกิดเหตุพลุระเบิด ที่บ้านข่อยงาม ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

สุขใจวัยเกษียณ พร้อมรับเงินชราภาพ เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

สำนักงานประกันสังคม คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในวัยเกษียณอายุ โดยผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย จะได้รับบำเหน็จชราภาพ รับเงินก้อนครั้งเดียว ส่วน