“พลตำรวจเอก อดุลย์” ประธานกรรมาธิการแรงงาน เร่งหารือผู้แทน IM Japan หาแนวทางส่งเสริมเด็กไทยไปทำงานประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ IM Japan

วันที่ 31 มกราคม 2567 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานวุฒิสภา ให้การต้อนรับ ฮิเดทะกะ ทามุระ ผู้จัดการ องค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น และคณะ ที่เข้าพบเพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมเด็กไทยไปทำงานประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ IM Japan

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงานวุฒิสภา เปิดเผยว่า ในวันนี้ ได้หารือร่วมกันกับผู้แทนองค์กร IM Japan ในการหาแนวทางส่งเสริมเด็กไทยไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นผ่านองค์กร IM Japan เนื่องจากทางองค์กร IM Japan ได้แจ้งว่า ในปี 2567 นี้ มีเด็กไทยสมัครเข้าร่วมโครงการฯน้อย ทั้งๆที่เป็นโครงการที่ดี ที่ช่วยสร้างโอกาสให้เด็กไทย และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้นักศึกษาจบใหม่ที่กำลังจะตัดสินใจหางานทำ เรียนต่อ หรือต้องการจะพัฒนาทักษะฝีมือของตนเอง เพื่อนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพได้ในอนาคต ซึ่งผมยินดีให้ความช่วยเหลือ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทยไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้มากขึ้น เพื่อจะได้รับประสบการณ์ ความรู้ กลับมาจะได้มาช่วยพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ดี ผมขอให้ โครงการ IM Japan ทบทวนรายละเอียด รวมถึงกำหนดแผนให้ชัดเจน และแจ้งกลับมาอีกครั้ง ซึ่งวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ผมจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และอาชีวศึกษา มาร่วมพูดคุยในสัปดาห์หน้าเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ นี้ ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งอาจมาจากการประชาสัมพันธ์ที่ไม่เข้าถึง จึงทำให้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ น้อย

ทั้งนี้ ในปัจจุบัน โครงการฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นผ่านองค์กร IM Japan มีระยะเวลาฝึกปฏิบัติงานฯ สูงสุด 3 ปี (36 เดือน) คุณสมบัติเบื้องต้นเป็นเพศชาย อายุ 18 – 30 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ไม่จำกัดสาขาวิชา ไม่มีประวัติอาชญากรรม ไม่เคยทำงานหรือเข้าเมืองหรือพำนักโดยผิดกฎหมายหรือต้องห้ามเข้าญี่ปุ่น เป็นต้น โดย ผู้ผ่านการคัดเลือก เดือนแรกจะได้รับเบี้ยเลี้ยง 80,000 เยน หรือประมาณ 19,000 บาท ค่าที่พัก ค่าน้ำ - ค่าไฟ ฟรี เดือนที่ 2 ถึงเดือนที่ 36 จะได้ค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายญี่ปุ่นกำหนด หรือประมาณ 35,000 บาทต่อเดือน และไม่รวมค่าทำงานล่วงเวลา ซึ่งเมื่อฝึกครบตามกำหนด จะได้รับประกาศนียบัตรรับรองการฝึกงาน และเงินสนับสนุนการประกอบอาชีพจำนวน 600,000 เยน หรือประมาณ 145,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 10 มกราคม 2567) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพเมื่อเดินทางกลับประเทศไทย รวมรายได้จากการทำงานตลอด 3 ปี ประมาณ 1.4 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พล.ต.อ.อดุลย์ ปธ.กมธ.แรงงาน วุฒิสภา ปาฐกถาพิเศษเสวนา 6 ทิศทาง 6 กลยุทธ์การพัฒนา “ถอดบทเรียนสู่การบริหารจัดการแรงงานที่ยั่งยืน”

วันที่ 4 เมษายน 2567 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ถอดบทเรียนสู่การบริหารจัดการแรงงานที่ยั่งยืน”

คนไทยสนใจทำงาน 'การผลิต-ก่อสร้าง' ที่ญี่ปุ่นยื่นใบสมัครฟรีได้ถึงมิถุนายน

'คารม' เชิญชวนผู้สนใจทำงานในญี่ปุ่นประเภทงานอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมก่อสร้าง ยื่นสมัครออนไลน์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายถึง มิ.ย นี้

พล.ต.อ.อดุลย์ นำคณะ กมธ.แรงงาน วุฒิสภา หารือ รมว.พิพัฒน์ พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะ มุ่งขับเคลื่อนนโยบายแรงงานให้มีประสิทธิภาพ

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา และคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

กลับมาอีกครั้ง!! IM JAPAN รับสมัครชายไทยฝึกงานญี่ปุ่น ครบ 3 ปี รับเงินกลับบ้านเพิ่ม 1.4 แสนบาท

กรมการจัดหางาน เปิดรับสมัครคัดเลือกผู้ฝึกงานเทคนิคในประเทศญี่ปุ่น ประเภทงานอุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง ผ่านองค์กร IM Japan ปี 2566 ครั้งที่ 6 สมัครทางออนไลน์ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่บัดนี้ - 29 กันยายน 2566 ไม่เว้นวันหยุดราชการ