ดันธุรกิจบริการเครื่องจักรกลเกษตร เสริม GDP สาขาบริการทางการเกษตรไทย

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากวิสัยทัศน์ ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) ของรัฐบาลซึ่งจะยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในกระเป๋าต้องมีเงิน” โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดการขับเคลื่อนผ่านกลไกสำคัญ คือ 1) การยกระดับสินค้าเกษตรสู่การเพิ่มรายได้ และ 2) การเสริมแกร่งให้กับเกษตรกรและคนในภาคเกษตร ซึ่ง “การส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นผู้ให้บริการทางการเกษตร” เป็นหนึ่งในหลายแนวทางย่อยที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ จากการที่สาขาบริการทางการเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 3 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตรกรรม โดยในปี 2566 สาขาบริการทางการเกษตรมีมูลค่าประมาณ 46,000 ล้านบาท และในปี 2567 มีแนวโน้มการขยายตัวร้อยละ 0.3 - 1.3 สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มของปริมาณการใช้บริการทางการเกษตรผ่านเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากเหตุปัจจัยข้อจำกัดด้านแรงงานและเวลา อีกทั้งการลงทุนซื้อเครื่องจักรกลหรือเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ของเกษตรกรรายย่อยจะมีจุดคุ้มทุนที่ใช้ระยะเวลายาวนานและมีความเสี่ยงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ตลอดจนรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปันทรัพยากร (Sharing Economy) ได้รับการตอบสนองเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสูงสุดทั้งปัจจุบันและอนาคตที่ดีกว่า ซึ่งสาขาบริการทางการเกษตรมีความหลากหลาย เช่น บริการเตรียมพื้นที่และปรับปรุงดิน (ไถพรวน) บริการปลูกพืช บริการเก็บเกี่ยวผลผลิต บริการกำจัดวัชพืช บริการฉีดพ่นสารเคมี ชีวภัณฑ์ทางการเกษตร และบริการตัดแต่งทรงพุ่มพืชต่าง ๆ โดยปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ให้บริการมากขึ้น อาทิ บริการโดรนเพื่อการจัดการแปลงเกษตร บริการโดรนเพื่อถ่ายภาพสำรวจแปลงและเชื่อมต่อกับภาพถ่ายดาวเทียม สำหรับการวิเคราะห์สภาพของที่ดิน และสภาพการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและประหยัดต้นทุนทางการเงินและต้นทุนด้านเวลา ให้แก่เกษตรกรมากกว่าเดิม กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้นำระบบบริหารจัดการใช้เครื่องจักรกลเกษตรร่วมกันแบบเครือข่ายของต่างประเทศ (Agricultural Machinery Ring, AMR) ที่ประสบผลสำเร็จอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในสหภาพยุโรป และสหราชอาณาจักร รวมถึงประเทศในแถบเอเชียบางประเทศ มาพัฒนาประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศไทย ในรูปแบบการสร้างความร่วมมือให้มีการนำเครื่องจักรกลเกษตรที่มีอยู่แล้วมาบริหารจัดการให้มีการใช้งานร่วมกัน จะส่งผลให้การใช้งานเครื่องจักรกลเกษตรที่มีใช้งานอยู่แล้วในรูปแบบต่าง ๆ ให้มีการใช้งานทรัพยากรเครื่องจักรและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพตลอดทั้งปี เกิดความคุ้มค่าต่อการลงทุน มีระยะเวลาการคืนทุนสั้นและเพิ่มโอกาสในการลงทุนเพิ่ม เพื่อจัดหาเครื่องจักรกลเกษตรและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสนับสนุนให้เกษตรกรมีใช้งานครบทุกกิจกรรมการผลิต ช่วยสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งนี้ รูปแบบการใช้ทรัพยากรร่วมกันในลักษณะดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่ดำเนินการประสบผลสำเร็จด้วยดีแล้วระดับหนึ่ง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” และกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรร่วมกันของชุมชนควบคู่กันไปด้วย โดยในปี 2567 มุ่งเป้าพัฒนา “เครือข่ายบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรร่วมกันของชุมชน” ให้เกิดระบบ Sharing Economy ในท้องถิ่น เกษตรกรเข้าถึงการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร โดยไม่ต้องลงทุนซื้อด้วยตนเอง ลดภาระการลงทุนซ้ำซ้อนและชั่วโมงการทำงานต่ำของเครื่องจักรกลการเกษตร และพัฒนาเครือข่ายบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรร่วมกันของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริมการทำการเกษตรแปลงใหญ่ หรือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หรือเกษตรกร Young Smart Farmer หรือ Smart Farmer หรือเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หรือศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) หรือเกษตรกรที่มีความสนใจร่วมโครงการ เพื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายบริการเครื่องจักรกลการเกษตรในเขตพื้นที่ทำการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง พืชผัก และพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ ควบคู่กับการส่งเสริมพัฒนาให้เกษตรกรยอมรับและจัดรูปที่ดิน/จัดรูปแบบผังแปลง การวางแผนเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพของการใช้เครื่องจักรกล เพื่อบริหารอุปสงค์ อุปทานให้สมดุลมากที่สุด โดยมีความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมได้แก่ “เครือข่ายบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตำบลหินซ้อน”ด้าน นายกิตติศักดิ์ เมฆา ประธานกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันทางกลุ่มมีสมาชิก 54 ราย พื้นที่ปลูกข้าวโพด 2,580 ไร่ ซึ่งได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร มีการให้บริการรถเก็บเกี่ยวผลผลิต รถบรรทุกผลผลิต บริการอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) มีอัตราค่าบริการจำแนกตามสมาชิกและบุคคลภายนอก มีการอบรมถ่ายทอดความรู้เทคนิคการใช้และการซ่อมบำรุงดูแลเครื่องจักรกลให้มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการเครื่องจักร/การบริหารความเสี่ยงเพื่อให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจ การสำรวจเครื่องจักรการเกษตรของสมาชิกและการลงทะเบียนผู้ให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ อาทิ การใช้ Application Farm Gear การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรให้เหมาะสมตามหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agricultural Practices : GAP) การจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกของชุมชน การคำนวณต้นทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์และกิจกรรมชี้แจงการสำรวจแปลงเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลพืชที่ปลูก ผลผลิตต่อไร่ และขนาดพื้นที่ของสมาชิกกลุ่ม มีการจัดเวทีชุมชนถอดบทเรียน แนวทางแก้ไขปัญหา และวางแผนฤดูกาลถัดไป เกิดเป็นเครือข่ายบริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรร่วมกันของชุมชนที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืน
************************************
กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร : ข้อมูล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดวิจัยเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์ รอดด้วยคาถา “อดทน-ไม่โลภ-ใคร่ครวญ”

ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา พบคนทั่วโลก 5,160 ล้านคนใช้งานอินเทอร์เน็ตวันละกว่า 6 ชั่วโมง เกือบ 5 พันล้านคนใช้สื่อสังคมออนไลน์ แนวโน้มแต่ละปีใช้งานสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอีก

ไทยออยล์ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินโครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต จ.แพร่

เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมงานแผนกกิจการเพื่อสังคม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ รศ. ดร. แหลมไทย อาษานอก ที่ปรึกษาด้านการปลูกและบำรุงรักษาป่า นายวิณัฐ คำหม่อม

“แพน โฟ” ร่วมกับ “วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล” จัดสัมมนา 3 หลักสูตร

บริษัท แพน โฟ จำกัด จับมือ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาโครงการจัดทำหลักสูตรและจัดฝึกอบรมสัมมนาขึ้น 3 หลักสูตร

"สิรภพ"ประธาน มอบบ้านหลังที่ 2ให้น้องปอเนาะ

นายสิรภพ ดวงสอดศรี. ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารหอพักนักเรียนหญิง โรงเรียนอัลยามีอะห์อัลอิสลามียะห์

นิสิต BBA จุฬาฯ คว้าแชมป์โลกและกวาดเรียบ 10 รางวัล การประกวดแผนธุรกิจในเวทีระดับโลก

ทีมนิสิตหลักสูตรนานาชาติบริหารธุรกิจ (BBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติกวาดรางวัลจากเวทีการประกวดแผนธุรกิจระดับโลกกว่า 10 รางวัลในช่วงปีที่ผ่านมา

รัฐมนตรีช่วยฯ 'สุชาติ' เปิดบ้านพรรครวมไทยสร้างชาติ ชลบุรี ต้อนรับประชาชนร่วมยินดีเข้ารับตำแหน่ง ลั่น ขอทำงานเพื่อชาติ

พรรครวมไทยสร้างชาติ ชลบุรี ต.เสม็ด อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดบ้านต้อนรับนายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี สมาคม ผู้นำท้องถิ่น รวมทั้งทีมรวมไทยสร้างชาติ นำโดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค และประชาชนชาวชลบีรี กว่า 2,000 คน