“ยุทธการหักหอกเป็นดอกไม้” พลิกใจให้เลิกยา...คืนสู่สังคม

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่รับฟังสรุปการดำเนินงาน “ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ เพิ่มสุข มีเงินออม” แก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยง ลดสัดส่วนหนี้สินครัวเรือน โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รักษาการ รมว.สาธารณสุข, นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. พร้อมด้วยกรรมการ สสส.และผู้บริหาร สสส.ร่วมงาน โดยมี ดาบตำรวจ ปัณณทัต คร้ามไพบูลย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหอย กล่าวรายงานที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเกาะมะไฟ  ต.บ้านหอย อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี

ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส.คนที่ 1  นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ยืนยันกับสื่อมวลชนว่า พอใจกับการทำงานของแกนนำในชุมชนด้วยความตั้งใจ ขอให้คะแนนเต็มสิบในการดำเนินงาน “ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ เพิ่มสุข มีเงินออม” (ลดปัจจัยเสี่ยง ยาเสพติด แอลกอฮอล์ บุหรี่ พนัน และอุบัติเหตุ) ในขณะที่ สสส.ได้คะแนนดีอยู่แล้ว ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงตน

โอกาสนี้มีการมอบนโยบาย “ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ เพิ่มสุข มีเงินออม” พร้อมกับแสดงความชื่นชมกิจกรรม สสส.รณรงค์เลือกพื้นที่ประทับใจ ฉากเริ่มต้นด้วยหนูน้อยในศูนย์เด็กเล็กแสดงกิจกรรมได้เยี่ยมยอด สสส.ใช้สื่อสารถึงผู้คนทั้งประเทศผ่านกล้องโทรทัศน์ ให้เห็นว่าการลดเสี่ยง ลดเสพ ทำให้ครอบครัวมีความสุข ทุกวันนี้พี่น้องประชาชน  รัฐบาลถูกล้อมรอบด้วยปัญหายาเสพติด พยาบาลผู้ยิ่งใหญ่แก้ไขปัญหายาเสพติด ชุมชนล้อมรักษ์ ทำให้ดีเกิดความภาคภูมิใจ ทำให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์กลับคืนมาได้เหมือนดังในอดีต การบำบัดฟื้นฟูคนเสพอย่างเดียวหายไม่เร็ว ถ้าเราบำบัดพ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรม

"คำพูดที่เพราะๆ จากพ่อแม่ปลอบประโลมใจลูก ให้มีสติ มีเวลาคิดทบทวนหาเหตุผลกลับคืนสู่สังคม ขอบคุณกระทรวงมหาดไทย ชุมชน คณะกรรมการที่ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต ถ้าคนเสพยาเสพติด เราล้วงให้ลึกลงไปมีคนขาย 1 คน ตามหาผู้ขายรายย่อยเป็นใคร ขายเท่าไหร่เข้าสู่กระบวนการยึดทรัพย์ มีการให้รางวัลนำจับตั้งแต่คนให้เบาะแส คนทำคดี ตำรวจ อัยการ ถ้าน้องๆ อสม.ให้เบาะแสก็จะได้รับส่วนแบ่ง 5% ค้าตัวยามาแล้ว 20 ปี  15 ปี 10 ปี คิดรายได้ย้อนหลังจะได้เงินออมเป็นกอบเป็นกำ เรื่องนี้ต้องร่วมแรงร่วมใจกันจะได้เงินเป็นสิบล้านบาท" นายสมศักดิ์กล่าว

รัฐบาลได้ประกาศนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง ข้อมูลปี 2566 ไทยมีจำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติดมากกว่า 63,000 คนสะท้อนถึงปัญหาที่เพิ่มขึ้นและรายงานจาก UN News และ The Diamond Rehab Thailand ระบุว่าการใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า และยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต มีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นประมาณ 57,000 คน มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV และโรคตับอักเสบซี จากสถานการณ์ข้างต้นจำเป็นต้องมีนโยบายเร่งด่วน ได้แก่ 1.เปลี่ยนจากลงโทษมาเน้นการบำบัด ฟื้นฟู รักษาผู้ใช้ยาเสพติด โดยร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนสร้างชุมชนเข้มแข็งป้องกันยาเสพติด “ชุมชนล้อมรักษ์” (CBTx) 2.ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยให้ชุมชนเป็นฐาน 3.จัดหาอาชีพ โดยมีกองทุนสนับสนุนการประกอบอาชีพ สำหรับผู้บำบัด และผู้ที่พ้นโทษแล้ว

นายสมศักดิ์เปิดเผยด้วยว่า ปัญหาสำคัญของไทยนอกจากยาเสพติดแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีก ผลวิจัยการศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคมปี 2564 พบว่า แอลกอฮอล์ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 165,450.5 ล้านบาท เฉลี่ย 2,500 บาทต่อคน และต้นทุนทางอ้อม 159,358.8 ล้านบาท จากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร นอกจากนี้สถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบพนันปี 2566 เนื่องจากปราจีนบุรีเป็นจังหวัดใกล้ชายแดน คนไทยข้ามไปเล่นกาสิโน เจ้ามือไม่เคยขาดทุน พบว่า 63% หรือคนไทย 35 ล้านคนเล่นพนัน ทำให้ขาดเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันถึง 46% และมีผู้ติดหนี้พนันถึง 1.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 กว่า 5 แสนคน คิดเป็นมูลค่าหนี้สินกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,335 บาท/คน

“ขอเป็นกำลังใจให้ภาคีเครือข่าย ชุมชนท้องถิ่น แกนนำ อสม.ที่ร่วมขับเคลื่อนลดปัจจัยเสี่ยงใน จ.ปราจีนบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง การสร้างกลไก 'ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ สร้างสุข  มีเงินออม' จะเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ชุมชน สังคม ขอชื่นชมในกิจกรรมของ สสส.ที่ออกมารณรงค์ โดยฉพาะเด็กและเยาวชนที่เป็นกำลังหลักของชาติในอนาคต สสส.ใช้สื่อสารในชุมชนได้อย่างตรงจุด ทำให้เห็นโทษและประโยชน์จากการลดเสี่ยง ลดเสพ นอกจากส่งผลดีต่อสุขภาพแล้ว ยังจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน  ไปจนถึงเศรษฐกิจระดับประเทศดีต่อไป” นายสมศักดิ์กล่าว

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. ชี้แจงว่า ขณะนี้มีหลักสูตรพี่เลี้ยงการเงิน รู้เท่าทันการพนัน  ข้อมูลจากมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน มีผู้ติดหนี้พนันถึง 1.6 ล้านคนในปี 2566 เพิ่มขึ้นกว่า 5 แสนคน จากปี 2564 คิดเป็นมูลค่าหนี้สินรวมมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,335 บาท/คน จึงรณรงค์เปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออม ชวนครอบครัวในท้องที่ต่างๆ ลด ละ เลิกการพนัน สร้างภาระหนี้สินในครัวเรือน ให้มีพื้นที่นำร่องใน 10 จังหวัดทุกภาคทั่วประเทศ สระบุรี กาฬสินธุ์ สุรินทร์  อุบลราชธานี เลย น่าน พะเยา ลำปาง พัทลุง กรุงเทพฯ ขยายไปยังโรงเรียนผู้สูงอายุอีกกว่า 150 โรงเรียน

การปลดหนี้ด้วยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน ทำบัญชีงบดุลหรือบัญชีสินทรัพย์และหนี้สิน เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมการใช้เงินรายเดือนและตรวจสุขภาพทางการเงินเป็นรายปี เพื่อการปลดหนี้ให้ได้ตามเวลา ในการประชุมกรรมการกองทุน สสส.ได้มีมติเห็นชอบให้ สสส.และภาคีเครือข่าย ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์สิ่งเสพติด และผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยการทำงานในพื้นที่ของ สสส.และภาคีเครือข่าย ใช้ชุมชนเป็นฐานเชื่อมกับกลไก พชอ.และการขยายงานชุมชนล้อมรักษ์ โดยขับเคลื่อนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด และเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่/หมู่บ้าน/ชุมชน ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 มีพื้นที่ต้นแบบ 25 พื้นที่ 5 ภูมิภาค มีแกนนำขับเคลื่อนระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล และแกนนำเครือข่าย 5 ภูมิภาค จำนวน 2,683 คน รวม 1,527 หมู่บ้าน/ชุมชน เกิดพื้นที่ต้นแบบที่ลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดได้สำเร็จ

“สสส.สามารถขยายผลสร้างโมเดลจัดการปัญหายาเสพติดสู่ชุมชนอื่นๆ อาทิ ชุมชนคนสู้เหล้า ปัจจุบันเครือข่ายองค์กรงดเหล้ามีสมาชิกกว่า 7,000 คนทั่วประเทศ เกิด 'คนหัวใจเพชร' ลดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา นำไปสู่การงดเหล้าตลอดชีวิต โดยปี 2565 มีผู้เข้าร่วมงาน 151,948 คน สามารถประหยัดเงินได้ถึง 121,784,378 บาท นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรพี่เลี้ยงการเงินรู้ทันการพนันในพื้นที่ 9 จังหวัด สามารถปลดหนี้ ลดพนัน เปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออม ผ่านการสื่อสารสร้างความตระหนักในชุมชน ชักชวนให้ครอบครัวในท้องที่ต่าง ๆ ลด ละ เลิกพนัน ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นได้” นพ.พงศ์เทพเปิดเผย

นางปทุมรัตน์ เกตุเล็ก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  หัวหน้ากลุ่มจิตเวชและยาเสพติด รพ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี เปิดเผยว่า ปี 2558 เราใช้ยุทธการหักหอกเป็นดอกไม้ ระเบิดจากข้างในด้วยใจผู้นำชุมชน เป็นยุทธวิธีดูแลผู้ป่วยวิกฤตจิตเวชและยาเสพติด ดำเนินการโดย พชอ.ประจันตคาม และทุกภาคส่วนใน อ.ประจันตคาม เนื่องจากผู้ป่วยขาดยา ครอบครัวหวาดกลัวไม่กล้าดูแล เกิดความก้าวร้าวอันตรายในชุมชน ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาพฤติกรรมรุนแรงในสังคม พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีความเสี่ยงต่อความรุนแรง SMI-Vตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบัน เพื่อลดวิกฤตซ้ำ บำบัดรักษาลดความก้าวร้าว และดูแลต่อเนื่องในชุมชน จัดระบบการดูแลให้รับประทานยาต่อเนื่อง ลดความรุนแรงในชุมชน  เพิ่มความปลอดภัยครอบครัว/ชุมชน ใช้โมเดลร้อยใจให้โอกาสในอ้อมกอดของชุมชน

มีผู้ป่วยวิกฤตจิตเวช ด้วย 5 เสือประจัญบาน ผู้ป่วยไม่ยอมฉีดยา ดื้อดึง ก้าวร้าวมาก จึงต้องพัฒนาระบบในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง 3 เคส เราจัดเพิ่มเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างเข้มแข็งเพื่อติดตามพฤติกรรม 100% ในช่วง 3 ปีจัดเวรดูแลผู้ป่วยซ้ำ วิกฤตซ้ำ คิดวิธีบริหารจัดการเพื่อการบำบัดรักษา ลดความก้าวร้าวความรุนแรง ดูแลโมเดล มีความรู้ทางด้านจิตเวช เจอจับจบทุกราย ปักหมุดหยุดวิกฤต ติดตามด้วยการทำงานเป็นทีม 5 เสือประจัญบานช่วยได้มาก เราต้องการหาเจ้าภาพร่วม โดยเฉพาะมี อบต.เป็นต้นแบบ มีเทศบาลโพธิ์งามเป็นต้นแบบดูแลผู้ป่วยจิตเวชวิกฤต เมื่ออาการสงบลงแล้ว

ผลการดำเนินงานติดตามได้ครบทั้ง 75 ราย 100% ปัจจัยความสำเร็จต้องมีทีมงานเข้มแข็ง มีความรู้  รวดเร็ว ประสานงานผ่านกรุ๊ปไลน์ “ปักหมุดหยุดวิกฤต" ติดตามครอบคลุมพื้นที่ การทำงานเป็นทีมช่วยได้มาก จำเป็นต้องหาเจ้าภาพร่วมดำเนินงาน ทำชุมชน เทศบาล อบต.ต้นแบบดูแลจิตเวชวิกฤต (SMI-V) ทำให้เกิดความยั่งยืน พื้นที่ต้องเป็นเจ้าของปัญหา และหาทางจัดการตนเองเพื่อชุมชนสามารถดูแลกรณีผู้ป่วยได้จริง

ผู้ป่วยจิตเวชที่เกิดจากยาเสพติดเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด  เกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้ง ทำร้ายร่างกาย ลักขโมยในชุมชน จึงขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนล้อมรักษ์ ต่อยอดจากการทำงานชุมชนคนสู้เหล้า ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง สามารถส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างเป็นกระบวนการ จนจำนวนผู้ป่วยลดลงเกิดเป็น “ยุทธการหักหอกเป็นดอกไม้” ดูแลผู้ป่วยวิกฤตจิตเวชที่เกิดจากปัญหาแอลกอฮอล์และยาเสพติด ชุมชนเกาะมะไฟ ต.บ้านหอย อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี เป็นพื้นที่ตัวอย่างของชุมชนคนสู้เหล้า ที่ร่วมแก้วิกฤตจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง โดยใช้ชุมชนเป็นฐานจัดกระบวนการ “พลิกใจให้เลิกยา” มีระบบดูแล ติดตามจนผู้ป่วยจิตเวชกลับคืนสู่สังคมได้สำเร็จ เกิดคนต้นแบบพลิกใจเลิกยาจำนวน 4 คน ช่วยคืนความสุข  คืนคุณภาพชีวิตให้ครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม เมื่อลดการทะเลาะวิวาท จัดการบัญชีครัวเรือนมีเงินเหลือใช้ส่งลูกเรียน ซื้อทอง มีความรักความอบอุ่น ลดรายจ่ายสร้างรายได้ เลิกเหล้า มีเงินเก็บซื้อรถเชฟโรเลต มีทีมนางฟ้าปราจีนบุรีในชุมชน สร้างความภาคภูมิใจ ร่วมกันสร้างเครือข่ายงดเหล้า จ.ปราจีนบุรี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น