คปภ.ท้าชนอาคเนย์ฟ้องศาลปกครอง ตอบทุกประเด็นศาลฯ หวั่นผู้ประกัน 10 ล้านคนถูกลอยแพ ชี้กฎหมายต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน “อาคเนย์” สู้คำสั่งลงราชกิจจาฯ 12 ต.ค.2564 ด้าน “เลขา คปภ.” ระบุไม่มีใครใหญ่เหนือกฎหมาย

คปภ. ตอบทุกประเด็นศาลฯ

วันที่ 14 มกราคม 2565 นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้สัมภาษณ์หลังชี้แจงกับศาลปกครองเมื่อวันที่ 14 ม.ค.2565 ว่า ทางฝ่ายผู้ฟ้องคดีมีผู้รับอำนาจมาครบถ้วน และมีอดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทผู้ฟ้องคดีที่ 1 มาด้วย โดยทาง คปภ.มีทีมฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายกำกับผลิตภัณฑ์ และทีมฝ่ายมาตรการกำกับฯมาครบพร้อมชี้แจง โดยวันนี้ศาลฯ จะจำกัดประเด็นพิจารณาว่าเรื่องนี้มีเหตุในการรับฟ้องหรือไม่ จะไม่ลงไปพิสูจน์ในเนื้อหาคดี

ทั้งนี้ประเด็นหลักที่ศาลฯ ได้สอบถามคือ การฟ้องคดีอยู่ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ โดยตามกฎหมายจะต้องฟ้องภายใน 90 วัน หลังจากที่คปภ.มีคำสั่งนายทะเบียนออกมา เพราะถ้าการฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลจะไม่รับคำฟ้อง ยกเว้นแต่เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน

“ข้ออ้างของผู้ฟ้องว่า คปภ.ไม่มีการส่งคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ให้บริษัทรับทราบ โดย คปภ.ได้ชี้แจงว่าคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เป็นคำสั่งทั่วไป ซึ่งปกติไม่มีกฎข้อบังคับให้ต้องส่งไปที่บริษัทประกัน ในทางปฏิบัติ คปภ.จะลงบนเว็บไซต์สำนักงาน คปภ.และเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่ประชาชนให้ความสำคัญ สื่อหลายสำนักทั้งหนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, ออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ข่าวในวงกว้าง”

ชี้ กม.ต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน

เลขาธิการ คปภ. ระบุว่า ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งไม่ได้ โดยได้มีการประกาศคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.2564

ขณะเดียวกันผู้ฟ้องคดีทั้ง 2 บริษัท(อาคเนย์ประกันภัยและไทยประกันภัย) ก็ออกมายืนยันหลังจากออกคำสั่งนายทะเบียน ว่าเขายืนยันที่จะคุ้มครองผู้เอาประกันภัยโควิดทุกประเภทจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครอง ซึ่งการยืนยันตรงนี้ถือเป็นผลของคำสั่งนายทะเบียน ซึ่งปรากฎในข่าววันที่ 17 ก.ค.2564 และวันที่ 19 ก.ค.2564

นอกจากนี้ในคำฟ้องก็ระบุชัดว่า จากข่าวที่ลงไปในหนังสือพิมพ์วันที่ 17 ก.ค.2564 ทำให้บริษัทจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 เพราะกลัวจะถูกดำเนินการฐานประวิงคดีหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต

ดังนั้นข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่ปรากฎว่าไม่ทราบคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ไม่เป็นความจริง เพราะจริงๆ ต้องทราบตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค.2564 ซึ่งนับถึงวันที่ยื่นฟ้องเกินระยะเวลากำหนด เพราะต้องยื่นฟ้องภายในเวลา 90 วันนับตั้งแต่วันที่รู้หรือควรจะรู้

อาคเนย์สู้คำสั่งลงราชกิจจาฯ 12 ต.ค.

อย่างไรก็ก้ตามทางผู้ฟ้องได้อ้างต่อว่า คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 คปภ.ต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน จึงจะมีผลตามกฎหมาย ซึ่งคำสั่งดังกล่าวมีการลงประกาศในราชกิจจาฯเมื่อ 12 ตุลาคม 2564 ดังนั้นเมื่อนับถึงปัจจุบันจึงยังไม่ครบ 90 วัน โดย คปภ.ได้ชี้แจงศาลฯว่าในกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องส่งตัวคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ที่เป็นคำสั่งทางปกครองไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่การที่ส่งไปลงราชกิจจาฯเนื่องจากต้องให้ประชาชนได้รับรู้

เลขาธิการ คปภ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ศาลฯได้มีการสอบถามเพิ่มว่า เคยมีคำสั่งในลักษณะที่คำสั่งมีผลย้อนหลังกับกรมธรรม์ที่ทำไว้ก่อนหรือไม่ คปภ.ก็ตอบว่ามีตามกฎหมายมาตรา 29 โดยการเพิ่มข้อความเรื่องอนุญาโตตุลาการเข้าไป ฉะนั้นที่เป็นการรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญไม่เป็นความจริง

หวั่นผู้ประกัน10 ล้านคนถูกลอยแพ

เลขาธิการ คปภ.กล่าวอีกว่า ช่วงบ่ายวันนี้นี้(14 ม.ค.65) ศาลฯได้สั่งให้พนักงานศาลพิมพ์เอกสารและรวบรวมเอกสารที่ คปภ.ส่งไปให้ โดยเฉพาะประเด็นที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อทุกสำนักที่ได้รับทราบไปในวงกว้าง โดยศาลยังไม่ได้สรุปตัดสินคดี ต้องพิสูจน์หลักฐานก่อน และจะนัดให้ คปภ.รับทราบคำสั่งว่าจะรับคดีไว้พิจารณาหรือไม่ อีกครั้ง

หากศาลฯรับคดีไว้พิจารณา 2 ประเด็นที่ศาลจะต้องไต่สวนของผู้ฟ้องคือ 1.ขอให้เพิกถอนคำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 และ 2.ขอคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 มีผลบังคับใช้เป็นการชั่วคราว เพราะฉะนั้นถ้าศาลฯรับฟ้องและมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จะทำให้ผู้เอาประกันภัยโควิดทั้งหมดกว่า 10 ล้านคนถูกลอยแพแน่นอน เพราะระหว่างนี้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถที่จะบอกเลิกกรมธรรม์ฯได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญมากๆ ต่อพี่น้องประชาชน โดยศาลฯระบุว่าเนื่องจากเกี่ยวกับประชาชนจำนวนมากจะพิจารณาโดยเร็ว

ไม่มีใครใหญ่เหนือกฎหมาย

นายสุทธิพลกล่าวอีกว่า ไม่มีใครจะใหญ่เหนือกฎหมาย แม้กฎหมายจะระบุไว้ในกรมธรรม์ว่าสามารถบอกเลิกกรมธรรม์ลูกค้าได้ แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อมีความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงในระดับสูงแล้วจะบอกเลิกกรมธรรม์แบบเหมาเข่ง ต้องพิจารณาแต่ละรายไป มีหลักฐานยืนยันและสอดคล้องกับกฎหมายสากล เพราะความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นจะวุ่นวายมาก ถ้าให้ยกเลิกเหมาเข่งต่อไปคนจะไม่ทำประกัน

เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า ในข้อเท็จจริง บริษัทประกันไม่ต้องรอนสิทธิผู้บริโภค โดยมีมาตรการทางเลือกอีก 11 มาตรการซึ่งสามารถทำได้ แต่บริษัทประกันไม่ดำเนินการ

“การทำประกันภัยโควิดเจอจ่ายจบ คือการที่ประชาชนผู้เอาประกันภัย มอบความไว้วางใจให้บริษัทประกันที่อาสามาช่วยบริหารความเสี่ยง ฉะนั้นการไปบอกเลิกกรมธรรม์ในช่วงวิกฤต ทั้ง ๆ ที่เคยสัญญาว่าจะคุ้มครองจนสิ้นสุดอายุการคุ้มครอง โดยโยนความเสี่ยงที่มากขึ้นกลับคืนไปให้ประชาชน ถือเป็นการทำลายความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่ประชาชนมอบให้บริษัทประกัน จึงเป็นการเอาเปรียบประชาชนอย่างยิ่ง” นายสุทธิพล กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกพ. ตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย 4.18 บาท/หน่วย ถึง ส.ค. 67

กกพ. ประกาศตรึงค่าเอฟที 39.72 สตางค์/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย จนถึงเดือน ส.ค. 67

คปภ. เห็นชอบสั่ง ‘บมจ. สินมั่นคงประกันภัย’  หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว

คณะกรรมการ คปภ. เห็นชอบให้นายทะเบียนสั่ง “บมจ. สินมั่นคงประกันภัย” หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวคุมเข้มให้บริษัทหยุดรับประกันภัย ภายหลังศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 เลขาธิการ คปภ. สั่งมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคมิให้เดือดร้อน

'เศรษฐา' ร่ายยาวปลุกตลาดทุนไทย

'เศรษฐา' ปลุกดึงศักยภาพ เสริมแกร่งตลาดทุนไทยระยะยาว เดินหน้าตอบโจทย์ความท้าทาย ด้านดิจิทัล ชูโปรเจกต์ Thailand ESG Fund วาง 3 แนวทางสู่ดัชนีความยั่งยืน

'ชูฉัตร' นั่งเลขาฯคปภ. คนใหม่

คลังแต่งตั้ง นายชูฉัตร ประมูลผล เป็นเลขาธิการ คปภ. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป